ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • กฤษฎากร เจริญสุข กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมพัฒนาความรอบด้านรู้สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลเดือนมิถุนายน – กันยายน 2563 รวมระยะเวลา 16 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t – test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05     

          ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการเข้ารับโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้มีการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองดีขึ้น และเป็นแนวทางในการนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับประชาชนในชุมชน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

References

เอกสารอ้างอิง
1. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กและเยาวชน (อายุ 7-14ปี ) กลุ่มประชาชน 15ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุง 2561. นนทบุรี.
2. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการประเมินความ
รอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ พ.ศ.2561. นนทบุรี.
3. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2556).
คู่มืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม).นักจัดการสุขภาพชุมชน. มปท.
4. รายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี โรงพยาบาลสิงห์บุรี กลุ่มงานสุขศึกษา. 2562
5. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมประเมินความรอบรู้
ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของประชาชนวัยทำงาน ในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
สุขภาพ ปรับปรุง 2563. นนทบุรี; เข้าถึงได้จาก www.hed.go.th
6. Bandura, A. (1982). Self-efficacy Mechanism in Human Agency. American Psychologist, 37,(2): 122-147.
7. นุสรา บุญทศและคณะ. (2556) .การเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนด้วยกระบวนการ
เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลกระจาย อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร. อ้างในหนังสือผลงานวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติการประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 10 วันที่ 24-26 กรกฎาคม 2556.
8. ธวัช วิเชียรประภา, พรนภา หอมสินธุ์ และรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จ.จันทบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2): 53-68
9. อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา,รสติกร ขวัญชุ่มและลัดดา เรืองด้วง. (2560). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลคลองฉนาก อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1): 253-264

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2021