การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีเปรียบเทียบ 2 ราย: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบเปิด, การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องบทคัดย่อ
นิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคที่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบของถุงน้ำดี พยาบาลมีหน้าที่เตรียมความพร้อมผู้ป่วยทั้งระยะก่อนผ่าตัดและระยะหลังผ่าตัด มีหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามและประเมินผล ซึ่งมีความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเปรียบเทียบกรณีศึกษา จำนวน 2 รายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยศึกษาประวัติผู้ป่วยจากการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน การรักษาโดยการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบผ่าตัดเปิดหน้าท้องกับแบบผ่านกล้องวิดิทัศน์ ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลระยะก่อนผ่าตัดและระยะหลังผ่าตัด รวมถึงการวางแผนจำหน่าย
ผลการศึกษา กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 66 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการปวดจุกใต้ชายโครงข้างขวา 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมัน ในเลือดสูง แพทย์วินิจฉัย Gangrenous cholecystitis ได้รับการผ่าตัด Open cholecystectomy หลังผ่าตัด ประเมินอาการ พบปลุกตื่นช้า E2V1M6 ความอิ่มตัวออกซิเจนปลายนิ้ว 96 % ไม่สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ จึงย้ายเข้า ICU หลังจากนั้น 1 วัน สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ จึงย้ายมาหอผู้ป่วย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน จำหน่ายกลับบ้านได้นอนโรงพยาบาล จำนวน 9 วัน
กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 34 ปี มาโรงพยาบาลด้วยแพทย์นัดผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง แพทย์วินิจฉัย Symtomatic gallstone ได้รับการการผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้องวีดีทัศน์ (laparoscopic cholecystectomy: LC) หลังผ่าตัดไม่พบภาวะแทรกซ้อน สามารถจำหน่ายกลับบ้านได้นอนโรงพยาบาล จำนวน 3 วัน สรุปจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่าย การวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยที่วิธีการผ่าตัดแตกต่างกัน โดยพยาบาลจำเป็นต้องมีทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญในการพยาบาลผู้ป่วยในแต่ละรายที่มีความยุ่งยากซับซ้อน โดยมีเป้าหมาย เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
References
ชัชชัย โกศลศศิธร. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตรวจพบเชื้อในน้ำดีและภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัดถุงน้ำดีในโรงพยาบาลลำปาง. ลำปางเวชสาร 2555; 33 (1):42-48.
ดรุณี สมบูรณ์กิจ, อัจฉรา มีนาสันติรักษ์, กมลรัตน์ สุปัญญาบุตรและรัชชยา มหาสิริมงคล.การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องโรงพยาบาลมหาสารคาม.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2561; 15 (3): 24-34.
งานเวชระเบียนและสถิติ. สถิติผู้ป่วยในโรงพยาบาลสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีประจำปี 2560 -2562 .โรงพยาบาลสิงห์บุรี; 2563.
Gutt CN, Encke J, Köninger J, Harnoss J-C, Weigand K, Kipfmüller K, et al. Acute cholecystitis: early versus delayed cholecystectomy, a multicenter randomized trial (ACDC study, NCT00447304). Ann Surg 2013; 258(3): 385-93.
ภิญญลักษณ์ เรวัตพัฒนกิตต์. การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีและมีโรคร่วม:กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2563; 17(1):131-38.
Yamashita Y, Takada T, Strasberg SM, Pitt HA, Gouma DJ, Garden OJ, et al. TG13 surgical management of acute cholecystitis. J Hepatobiliary Pancreat Sci 2013; 20(1): 89-96.
Gordon M. Manual of nursing diagnosis. Jones & Bartlett Publishers; 2014.
นัทธมน วุทธานนท์. การปฏิบัติการพยาบาลในคลินิกศัลยกรรม. เชียงใหม่: นันทพันธ์พริ้นติ้ง; 2554.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว