การพยาบาลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีภาวะช็อก: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การตั้งครรภ์นอกมดลูก, การพยาบาลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูก, ช็อกบทคัดย่อ
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 25 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการ ปวดท้องน้อย เวียนศีรษะ เป็นลม 3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล แรกรับผู้ป่วย กระสับกระส่าย ดูซีด ปวดท้องน้อยมาก ท้องอืด กดเจ็บทั่วท้อง สัญญาณชีพ อุณหภูมิ 36.4 องศาเซลเซียส ชีพจร 108 ครั้ง/นาที หายใจ 22 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 76/47 mmHg G2P1Ab0L1 last 8 ปี LMP 27 มกราคม 2563 ยังไม่ได้ตรวจการตั้งครรภ์ ตรวจภายใน พบเลือดเก่า ๆ ออกเล็กน้อย เจ็บเมื่อโยกปากมดลูก ตรวจอัลตราซาวด์ พบ free fluid at cul-de-sac and blood intraabdominal ส่งตรวจ Urine pregnancy test ผล Positive แพทย์วินิจฉัยโรค Rupture ectopic pregnancy with hypovolemic shock ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที โดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้เลือด ให้ออกซิเจนเพื่อแก้ไขภาวะช็อก และส่งผ่าตัด Salpingectomy อย่างเร่งด่วน ปัญหาและการพยาบาลที่สำคัญของผู้ป่วยรายนี้ คือ มีภาวะช็อกเนื่องจากเสียเลือดในช่องท้องจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก, มีภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนเนื่องจากภาวะซีด ไม่สุขสบายจากปวดแผลผ่าตัด ส่วนด้านจิตใจ ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการและการรักษาด้วยการผ่าตัดเนื่องจากเป็นภาวะฉุกเฉินต้องผ่าตัดเร่งด่วน และเศร้าโศกเนื่องจากสูญเสียการตั้งครรภ์ และถูกตัดท่อนำไข่
พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีภาวะช็อก ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉิน ทางสูติ-นรีเวชวิทยา ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ภาวะช็อกจะดำเนินต่อไปจน prolong shock ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ น้อยลง จนมีภาวะไตวายเฉียบพลัน หรือภาวะ multiple organ failure ตามมา การประเมินภาวะช็อกให้ได้อย่างรวดเร็ว ประเมินสัญญาณชีพอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ดูแลให้สารน้ำและเลือดทางหลอดเลือดดำอย่างเคร่งครัดเพื่อรักษา hemodynamic ของหลอดเลือดไว้ ร่วมกับการวางแผนการพยาบาลด้วยความรู้ และทักษะการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรค ร่วมกับการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ให้การพยาบาลต่อเนื่องแบบองค์รวม ฟื้นฟูด้านร่างกาย จิตใจ หลังจากผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤต ผู้ป่วยอาการดีขึ้นตามลำดับ ให้คำแนะนำเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้ผู้ป่วย และครอบครัวสามารถดูแลตนเองได้อย่างมีคุณภาพ แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ รวมเวลารักษาตัว ในโรงพยาบาล 5 วัน นัดมาติดตามผลการรักษาอีก 4 สัปดาห์ หลังตัดไหมแผลแห้งดี ผลชิ้นเนื้อปกติ นัดตรวจติดตามอาการไม่มีภาวะแทรกซ้อน
References
Barnhart KT. Clinical practice. Ectopic pregnancy. N Engl J Med, 2009;361:379-87.
ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์, ธีระพร วุฒยวนิช, ประภาพร สู่ประเสริฐ, สายพิณ พงษธา, บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยา(ฉบับสอบบอร์ด). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : พี บี ฟอเรน บุ๊ค เซนเตอร์ ; 2559.
กิติรัตน์ เตชะไตรศักดิ์, ประสงค์ ตันมหาสมุทร, มงคล เบญจาภิบาล, อรรถพล ใจชื่น, ธันยารัตน์ วงศ์วนานุรักษ์, บรรณาธิการ. ตำรานรีเวชวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : พี เอ ลีฟวิ่งจำกัด; 2560.
Berex JS, Hillard PJ. Novak’s gynecology. (13th Edition). Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins ; 2002.
Sivin I. Alternative estimates of ectopic pregnancy risk during contraception. Am J Obstet Gynecol 1991;165:70.
นันทนา ธนาโนวรรณ, บรรณาธิการ. ตำราการพยาบาลนรีเวช (ฉบับองค์รวม).พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร : วี. พริ้นท์ ; 2553.
เสวก วีระเกียรติ, สฤกพรรณ วิไลลักษณ์, บรรณาธิการ. ตำรานรีเวชวิทยา (ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 3) พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท บียอนด์เอ็นเตอร์ไพรซ์.; 2550.
สถิติประจำเดือนและประจำปีของกลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรมโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จ.ลพบุรี ปีงบประมาณ 2560-2562.
เฟื่องลดา ทองประเสริฐ, บรรณาธิการ. ภาวะฉุกเฉินทางสูติ-นรีเวชกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : พงษ์สวัสดิ์การพิมพ์ ; 2557.
ธีระ ทองสง, บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยาฉบับบอร์ด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ลักษมีรุ่งจำกัด ; 2559.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว