การเปรียบเทียบอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วันด้วยโรคเดิมโดยไม่ได้นัดหมายก่อนและหลังใช้โปรแกรมวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • อารียา สุพรรณดี กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลอ่างทอง

คำสำคัญ:

โปรแกรมวางแผนการจำหน่าย, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน, การกลับมารักษาซ้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วันด้วยโรคเดิมโดยไม่ได้นัดหมายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันที่ได้รับโปรแกรมวางแผนการจำหน่ายที่ประยุกต์แนวคิด D-METHOD กับทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน จำนวน 104 ราย เครื่องมือแบ่งออกเป็น 1) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่โปรแกรมวางแผนการจำหน่าย มีค่าความตรงตามเนื้อหา .89 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและข้อมูลการกลับมารักษาซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาได้แก่จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมาน ได้แก่ Fisher,s Exact Test

ผลการวิจัยพบว่า อัตราการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ด้วยโรคเดิมโดยมิได้นัดหมายของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้โปรแกรมวางแผนการจำหน่าย ต่ำกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้ใช้โปรแกรมวางแผนการจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .005) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมดังกล่าวมีประสิทธิผลในการลดการกลับมารักษาซ้ำ ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ผู้วิจัยเสนอแนะว่าควรส่งเสริมให้มีการใช้โปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายนี้อย่างต่อเนื่องโดยกำหนดให้มีผู้ประสานการวางแผนการจำหน่าย ร่วมกับการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรเพื่อใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายนี้ ร่วมกับทีมสุขภาพเพื่อผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่ดีขึ้น

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แบบรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด แบบ ตก. 2/2560. เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2560. เข้าถึงได้จากhttp://bie.moph.go.th/e-sreport/fr_viewqueasion.php?reportgr_id=4491

ประเด็นสารรณรงค์วันหัวใจโลก [อินเทอร์เน็ต]. พังงา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา; 2560. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1ม.ค.2561]. จาก:http://www.pngo.moph.go.th/pngo/phocadownload/information/2017-09-13.pdf

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2560). สรุปสถิติที่สำคัญ พ.ศ. 2560. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข.

วุฒิพงศ์ สายสงเคราะห์, กมล คุณาประเสริฐ และมยุรี ตั้งเกียรติกำจาย. ศึกษาลักษณะผู้ป่วยที่มีการกลับเป็นซ้ำกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน.ไทยเภสัชศาสตรและวิทยาการสุขภาพ 2553; 5(2):103-106.

พรพรรณ เทิดสุทธิรณภูมิ.ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์.วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2559; 27(1):2-14.

ดรุณศรี สิริยศธำรง, ชนกพร อุตตะมะ,นาฏยา เอื้องไพโรจน์และปริชาติ ขันทรักษ์. ผลของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายโดยพยาบาลในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันโรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารกองการพยาบาล. 2559; 43(1): 96-111.

จุฑาภรณ์ เพิ่มพูล, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล,อุษาวดี อัศดรวิเศษและพันธุ์ศักดิ์ ลักษณบุญส่ง.ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบมีโครงสร้างในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันความพึงพอใจและการกลับมารักษาซ้ำ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก.2559; 27(1) : 43-55.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุลและนวรัตน์ สุทธิพงศ์. การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่ ได้รับการรักษา โรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน: มุมมองของผู้ป่วยสูงอายุโรคหัวใจขาดเลือดและญาติผู้ดูแล. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2560; 28(1) : 142-153.

นันทกา สุขสุมิตร. Continuing care for Cardiac disease patients. เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2561. เข้าถึงได้จาก http://nurse.hcu.ac.th/upload/files/vichakan58/13พว_นันทกา-Continuing care up.pdf

ภาสกร เรืองรอง. ทฤษฎีการการเรียนรู้ของกาเย่ (Gagne). 2551 [สืบค้นเมื่อ 1 ม.ค.2561]. ใน: Sirikanya 926 [อินเทอร์เน็ต]. จาก:https://sirikanya926.wordpress.com/2014/014

Millet. (1954). Management in the Public Service. The quest for effective performance. New York: McGraw-Hill Book. เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2561. เข้าถึงได้จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/51920792/bibliography.pdf

มารยาท โยทองยศ และ.ปราณี สวัสดิสรรพ์. การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2554.

ประสบสุข ศรีแสนปาง.การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโอเร็มตามกรอบกระบวนการพยาบาล.เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://med.mahidol.ac.th/nursing/jns/DocumentLink/2542/issue_02/06.pdf

เอมอร แสงศรี, ดวงกมล วัตราดุลย์, สุธานิธิ กาญจนกุล, ศรีรัตน์ ณัฐธำรงกุล, สถิตพร นพพลับ และสอาด วงศ์อนันต์นนท์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2558; 26(1): 104-118.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-01-2020