การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกต้นขาซ้ายหักชนิดไม่มีบาดแผลและกระดูกต้นขาขวาหักชนิดมีแผลเปิดร่วมกับภาวะช็อกจากการเสียเลือด: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ยุพิน พรมสวัสดิ์ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครนายก

คำสำคัญ:

การพยาบาล, กระดูกต้นขาหักชนิดไม่มีบาดแผล, กระดูกต้นขาหักชนิดมีบาดแผลเปิด, ภาวะช็อกจากการเสียเลือด

บทคัดย่อ

กรณีศึกษาผู้ป่วยผู้ป่วยชายไทย อายุ 49 ปี เกิดอุบัติเหตุปั่นจักรยานถูกรถเก๋งเฉี่ยวชน 2 ชม. ก่อนมา รพ. ต้นขา 2 ข้างผิดรูป บวม มีแผลฉีกขาดที่ต้นขาขวา แผลถลอกที่ขาทั้ง 2 ข้างและแขนซ้าย แผลฉีกขาดและบวมที่ศีรษะด้านหลังแถบซ้าย จำเหตุการณ์ไม่ได้ มูลนิธิได้ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นดามขาทั้ง 2 ข้าง on collar และนำส่ง รพ.ปากพลี ได้ให้ 0.9%NSS 1,000 cc. ทางเส้นเลือดดำ rate 120 cc./hr. Cloxacillin 1 gm. ทางเส้นเลือดดำและส่งต่อมา รพ.นครนายก แพทย์วินิจฉัยโรค Open fracture subtrochanteric right femur and close fracture shaft at left femur เมื่อมาถึงรพ.ผู้ป่วยมีภาวะช็อก และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีตั้งแต่ห้องฉุกเฉินโดยการให้ออกซิเจน ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้เลือด เย็บแผลที่ศีรษะ ผู้ป่วยได้รับการ on skin traction ขาทั้ง 2 ข้าง ถ่วงน้ำหนักข้างละ 5 กก. เป็นเวลา 5 วัน และได้รับการผ่าตัด Open reduction internal fixation with proximal femoral plate right femur และ Open reduction internal fixation with broad locking compression plate left femur ปัญหาและการพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ มีภาวะช็อก เนื่องจากเสียเลือดจากการหัก ของกระดูกต้นขาทั้ง 2 ข้าง เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากกระดูกต้นขาหักชนิดมีบาดแผลเปิด เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั้งก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด และความวิตกกังวลในการดูแลตนเอง เมื่อกลับไปอยู่บ้าน

พยาบาลมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีกระดูกต้นขาหัก 2 ข้าง และมีบาดแผลเปิด ร่วมกับมีภาวะช็อก ซึ่งถือว่าเป็นภาวะสำคัญทางออร์โธปิดิกส์ ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการประเมินอาการผู้ป่วยอย่างถูกต้อง รวดเร็ว มีการเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและให้การรักษาพยาบาลอย่างถูกต้อง ทันท่วงที ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน หลังให้การรักษาพยาบาล ผู้ป่วยอาการดีขึ้นตามลำดับ เนื่องจากกระดูกต้นขาหักทั้ง 2 ข้าง แพทย์ยังไม่ให้ลงน้ำหนักขาทั้ง 2 ข้าง ให้ผู้ป่วยเคลื่อนย้ายโดยการใช้ wheel chair แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ให้ยากลับไปรับประทาน ต่อที่บ้านนัดมาตรวจเป็นระยะๆ รวมระยะเวลาในการนอนรักษาในโรงพยาบาล 28 วัน

References

วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ และคณะ. ออร์โธปิดิกส์. ฉบับเรียบเรียงใหม่ครั้งที่3. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : บริษัทโฮลิสติก พับลิซซิ่ง จำกัด, 2550

ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์และคณะ. ตำราศัลยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.

ไพรัช ประสงค์จีน. กระดูกหกและข้อเคลื่อน(Fracture and Dislocation). พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.

อรพรรณ โตสิงห์ และคณะ. การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : หจก. เอ็นพีเพรส, 2559.

ธวัช ประสารทฤทธา. การพยาบาลออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด, 2555.

Downloads