การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บของตับ: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • นันทพร สุขจะ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรี

คำสำคัญ:

การพยาบาล, การบาดเจ็บของตับ

บทคัดย่อ

การบาดเจ็บของตับในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บของช่องท้อง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและพบเป็น อันดับที่สองรองจากการบาดเจ็บของม้าม การเสียเลือดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงสุด เนื่องจากตับเป็นอวัยวะในช่องท้องที่มีขนาดใหญ่และมีความเปราะบางมากที่สุด พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแล เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัดให้กลับคืนสู่ภาวะปกติมากที่สุด ดังนั้นจึงศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บของตับ เป็นการเปรียบเทียบกรณีศึกษา (Case study) จำนวน 2 ราย

ผลการศึกษา พบว่า รายที่ 1 หญิงไทย อายุ 21 ปี มาโรงพยาบาลด้วยมีประวัติสลบจำเหตุการณ์ไม่ได้ ปวดท้อง และหายใจเหนื่อย ภายหลังการขี่รถจักรยานยนต์ชนกับรถบรรทุก เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลชลบุรี ตั้งแต่วันที่ 7 ถึงวันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 แพทย์วินิจฉัยว่าช่องท้องบาดเจ็บร่วมกับตับด้านขวาบาดเจ็บระดับ 5 และได้รักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเย็บตับและห้ามเลือดที่ตับด้วยวิธี Perihepatic packing ผู้ป่วยมีภาวะช็อค ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อแก้ไขภาวะคุกคามต่อชีวิต โดยดูแลการได้รับเลือดและสารน้ำทางหลอดเลือดดำ การบริหารยากระตุ้นความดันโลหิต ยาต้านการสลายลิ่มเลือด และวิตามินที่ช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด อีกทั้งใช้ทักษะการประเมินภาวะสุขภาพและติดตามอาการและอาการแสดงทุก 15 นาที ในชั่วโมงแรก 30 นาที จำนวน 4 ครั้ง และ 1 ชั่วโมง จนกระทั่งผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤต การบรรเทาอาการปวด การป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ปฏิบัติการพยาบาลโดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานและเกิดความปลอดภัย นอกจากนี้ได้ให้ความรู้ในการปฏิบัติตนเองและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต่าง ๆ รวมทั้งประสานงานเกี่ยวกับเอกสารและสิทธิการรักษาพยาบาล

รายที่ 2 ชายไทย อายุ 20 ปี มาโรงพยาบาลด้วยมีประวัติสลบจำเหตุการณ์ไม่ได้ ปวดท้อง และแขนขวาผิดรูป ภายหลังการขี่รถจักรยานยนต์แฉลบ แพทย์วินิจฉัยว่าช่องท้องบาดเจ็บร่วมกับ ตับบาดเจ็บระดับ 4 และม้ามบาดเจ็บระดับ 2 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชลบุรีตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 14 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.263 และได้รับการรักษาแบบประคับประคอง ให้การพยาบาลโดยการประเมิน และติดตามอาการและอาการแสดงของภาวะช็อค การบรรเทาอาการปวด การป้องกันภาวะความดัน ในช่องกล้ามเนื้อสูง การส่งเสริมและดูแลการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้านและอาการผิดปกติที่ต้องกลับมาพบแพทย์ก่อนวันนัด

จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บ ของตับเพื่อป้องกันให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะช็อค อาการปวดในช่องท้อง และภาวะพร่องออกซิเจน ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนและพึงพอใจในบริการที่ได้รับ

References

Helling TS, Ward MR, Balon J. Is the grading of liver injuries a useful clinical tool in the initial management of blunt trauma patients? Eur J Trauma Emerg Surg. 2009;35(2):95-101.

Saleh AF, Sageer EA, Elheny A. Management of Liver Trauma in Minia University Hospital, Egypt. Indian J Surg. 2016;78(6):442-7.

Gourgiotis S, Vougas V, Germanos S, Dimopoulos N, Bolanis I, Drakopoulos S, et al. Operative and nonoperative management of blunt hepatic trauma in adults: a single‐center report. J Hepatobiliary Pancreat Surg. 2007;14(4):387-91.

Campbell J. International Trauma Life Support for Emergency Care Providers: Pearson New International Edition: Pearson Higher Ed; 2013.

Advanced Trauma Life Support: Student Course Manual, 10th edition [Internet]. 2018 [cited Fabuary 25, 2020]. Available from: https://www.academia.edu/36985888/Student_Course_Manual_ATLS_Advanced_Trauma_Life_Support

อรศิริ อมรวิทยาชาญ. การวินิจฉัยการบาดเจ็บของช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2557;21(1):53-62.

อนุชา ไทยวงษ์, กัญญาพัชร เบ้าทอง, ทัตภณ พละไชย, ฉัตรชัย แป้งหอม, จุฑามาศ นุชพูล. ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงในผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์: บทบาทพยาบาลในการประเมินและการป้องกัน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561;ปีที่ 19 ฉบับพิเศษ (3):18-24.

สิทธิพร พลจันทร์. กรณีศึกษาลักษณะการบาดเจ็บของตับจากการบาดเจ็บช่องท้องชนิดไม่มีบาดแผลที่พบจากเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลตะกั่วป่า. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2559;30(3):187-96.

Badger S, Barclay R, Campbell P, Mole D, Diamond T. Management of liver trauma. World J Surg. 2009;33(12):2522-37.

Ahmed N, Vernick JJ. Management of liver trauma in adults. J Emerg Trauma Shock. 2011;4(1):114.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ และ ชวนพิศ ทำนอง. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะการเจ็บป่วยวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 9.ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-01-2020