การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรง: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • รุ่งฤดี พันธุ์ประเสริฐ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระพุทธบาท

คำสำคัญ:

การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์, ภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรง

บทคัดย่อ

กรณีศึกษา หญิงไทย วัยรุ่น อายุ 16 ปี ครรภ์แรก อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ รับไว้ในโรงพยาบาลด้วยอาการ บวมทั้งตัว ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว พบโปรตีนในปัสสาวะ +3 BP 169 /119 มิลลิเมตรปรอท ระดับหน้าท้อง 3/4มากกว่าสะดือ ไม่เจ็บครรภ์ เสียงหัวใจทารกด้านซ้าย 140 ครั้ง/นาที ตรวจภายในปากมดลูกไม่เปิด บวมตามร่างกาย DTR +3 การวินิจฉัย แรกรับ ตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรง(Severe preeclampsia) ดูแลรักษาโดยให้ยากันชักเพื่อควบคุมความดันโลหิต ให้ยาสเตียรอยด์เพื่อกระตุ้นการเจริญของปอดทารก สามารถคุมความดันโลหิตได้ แพทย์พิจารณายุติ การตั้งครรภ์โดยการผ่าตัดคลอดน้ำหนักทารก 1,574 กรัม และแก้ไขได้ทันท่วงที วันที่ 4 หลังคลอด มีการวางแผนครอบครัวโดยฝังยาคุมกำเนิด Implanon NXT แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ พามารดาไปพักดูแลทารกต่อที่หอผู้ป่วยเด็ก เพื่อให้ทารกเจริญเติบโต มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ให้คำแนะนำก่อนกลับและนัดตรวจติดตาม ประเมินความดันโลหิต พบความดันโลหิต อยู่ในระดับปกติและบุตรมีพัฒนาการตามวัย

พยาบาลจึงต้องใช้ความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ ในการประเมินอาการเตือน ที่สำคัญเพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที สามารถบริหารยา เฝ้าระวังและติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการสามารถประเมินวิเคราะห์ความสอดคล้องได้เหมาะสม ในการดูแลผู้ป่วยทุกช่วงระยะการเปลี่ยนแปลง มีการเตรียมความพร้อมของบุคลากรและอุปกรณ์สามารถให้การช่วยเหลือได้รวดเร็ว จึงสามารถลดอันตรายและภาวะแทรกซ้อนหรือถึงแก่ชีวิตของมารดาและทารก ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา และทารก ตลอดรับการรักษาไม่มีอาการชัก

จากกรณีศึกษานี้ในผู้ที่ตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการชัก ในการป้องกันการชักโดยการใช้ยา รวมทั้งควรมีระบบการดูแลต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคความดันสูงในอนาคตต่อไป

References

นันทพร แสนศิริพันธ์, และ ฉวี เบาทรวง .การพยาบาลและการผดุงครรภ์:สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน.พิมพ์ครั้งที่ 1.เชียงใหม่: บริษัท สมาร์ทโคตติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด; 2560.

Sarosh Rana,Elizabeth Lemoine,Joey P. Granger,S. Ananth Karumanchi .Pathophysiology, Challenges, and Perspectives Circulation Research. 2019;124:1094–1112

เพิ่มศักดิ์ สุเมฆศรี ,นาเรศ วงศ์ไพฑูรย์,พจนีย์ ผดุงเกียตรติวัฒนา และ ณัฐฐิณี ศรีสันติโรจน์.บูรณาการ การดูแลเพื่อสุขภาพทารกปริกำเนิดที่ดีขึ้น Integrated Care for Better Perinatal Health. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: บริษัท ยูเนียน ครีเอชั่น จำกัด; 2562.

Coutinho T, Lamai O, Nerenberg K. Hypertensive disorders of pregnancy and cardiovascular diseases: current knowledge and future directions. Curr Treat Options Cardiovasc Med. 2018; 20:56

Tooher J, Thornton C, Makris A, Ogle R, Korda A, Hennessy A. All hypertensive disorders of pregnancy increase the risk of future cardiovascular disease.Hypertension. 2017; 70:798–803

Basit S, Wohlfahrt J, Boyd HA. Pre-eclampsia and risk of dementia later in life: nationwide cohort study.BMJ. 2018.

รัฐิญา เพียรพิเศษ,บูรยา พัฒนจินดากุล และ ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร.ความชุก ปัจจัยเสี่ยงและผลของการตั้งครรภ์ของภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงที่เกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ในโรงพยาบาลศิริราช. Thai journal of Obstetrics and Gynaecology.Vol 25.No1 January 2017.

โรงพยาบาลพระพุทธบาท รายงานสถิติผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระพุทธบาท ปี 2560-2562. งานเวชสถิติโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัด สระบุรี,2562

กนกวรรณ ฉันธนะมงคล.การพยาบาลสตรีที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: บริษัท ส.เจริญการพิมพ์ จำกัด; 2559.

ฐิติพร อิงคถาวรวงศ์.การพยาบาลมารดาและทารก(เล่ม 2) .โครงการผลิตตำราหลักคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ .สงขลา: โรงพิมพ์ พีโอดีไซน์ หาดใหญ่ ; 2559.

Downloads