ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพยายามฆ่าตัวตายของประชาชนในจังหวัดสิงห์บุรี
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพยายามฆ่าตัวตายของประชาชน ในจังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่อยู่ในทะเบียนราษฎร์จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 1,263 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ ปี 2555-2561 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบบันทึกข้อมูลจากรายงานเฝ้าระวังการพยายามฆ่าตัวตาย (กรณีไม่เสียชีวิต) กรมสุขภาพจิต รง 506s ซึ่งเป็นมาตรฐานของกรมสุขภาพจิต นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า 1.ปัจจัยด้านบุคคล กลุ่มอายุมีผลต่อการพยายามฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 20-59 ปี มีการพยายามฆ่าตัวตายมากที่สุดอาชีพมีผลกับการพยายามฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อาชีพรับจ้าง/ผู้ใช้แรงงานมีการพยายามฆ่าตัวตายมากที่สุดและมักกระทำซ้ำการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังไม่มีผลกับการพยายามฆ่าตัวตายอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ผู้พยายามที่ฆ่าตัวตายส่วนใหญ่ไม่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังพฤติกรรมเสี่ยงไม่มีผลกับ การพยายามฆ่าตัวตายอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้พยายามฆ่าตัวตายส่วนใหญ่ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงใด ๆ และภาวะซึมเศร้ามีผลต่อการพยายายามฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ผู้พยายามฆ่าตัวตายที่มีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยจะพยายามฆ่าตัวตายมากที่สุด 2. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม อำเภอที่อยู่อาศัยไม่มีผลกับการพยายายามฆ่าตัวตายอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยผู้พยายามฆ่าตัวตายอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองมากที่สุดและฤดูมีผลกับการพยายายาม ฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยฤดูฝนมีการพยายามฆ่าตัวตายมากที่สุด 3. ปัจจัยกระตุ้นส่งผลต่อการพยายามฆ่าตัวตายของประชาชนในจังหวัดสิงห์บุรีปัจจัยกระตุ้น มีผลกับการพยายายามฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัญหาเศรษฐกิจมีผลต่อ การพยายามฆ่าตัวตายมากที่สุด
References
World Health Organization. Mental health [Internet]. 2006 [cited 2006 Oct 17]. Available from: http://www.who.int/mental_health/Suicideprevent/Suicide.
กรมสุขภาพจิต. รายงานผลการศึกษาเชิงระบาดวิทยาการฆ่าตัวตายของกรมสุขภาพจิต [อินเทอร์เน็ต]. 2555[เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2555]. เข้าถึงได้จาก:http://suicide.jvkk.go.th/menu3.aspx.
บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์. บทความวิชาการด้านสุขภาพจิต หนังสือพิมพ์บ้านเมือง[อินเทอร์เน็ต]. 2561.[เข้าถึงเมื่อ 23 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.matichon.co.th.
สมพร บุษราทิจ. จิตเวชก้าวหน้า 2554.กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, 2554.
กองวิจัยสานักงานยุทธศาสตร์ตำรวจกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดโรงพยาบาลตำรวจ.รายงานผลการศึกษาสาเหตุการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจ[อินเทอร์เน็ต].2557. [เข้าถึงเมื่อ 2557]. เข้าถึงได้จาก:http://research.police.go.th.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี. ข้อมูลการรายงานของงานสุขภาพจิตและจิตเวช. สิงห์บุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี; 2561. กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สุขภาพจิตและยาเสพติด.
ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ. ข้อมูลรายงาน รง.506ds ปี 2555-2561[อินเทอร์เน็ต]. 2561
[เข้าถึงเมื่อ 30กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก:https://www.suicidethai.com/506ds.
สมภพ เรืองตระกูล.จิตเวชศาสตร์พื้นฐานและโรคทางจิตเวช.กรุงเทพฯ: เรืองแก้วการพิมพ์.2553.
ประภาพร ซึมรัมย์, อติรัตน์ วัฒนไพลิน, ประภา ยุทธไตร,และนพพร ว่องสิริมาศ. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และการมีโรคร่วมกับพฤติกรรมความร่วมมือในการรับประทานยาต้านเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา2559; 22(1):108-120.
นงเยาว์ ใบยา.ปัจจัยผู้ป่วยและปัจจัยครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต], ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.
จุฑามาศ หน่อตุ่น,ชนากานต์ เจนใจและชิดชนก เรือนก้อน. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับสุรา.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2559; 10(2):137-151.
ขนิษฐา แสนใจรักษ์.ในชั่ววูบของการฆ่าตัวตาย: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยาในผู้ที่ผ่านประสบการณ์การพยายามฆ่าตัวตาย[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
กาญจนา บุญยัง. การฆ่าตัวตายของชาวนาในสังคมไทย: กรณีวิเคราะห์จากข่าวหนังสือพิมพ์. วารสารการบริหารท้องถิ่น2559; 9(1):1-17.
อนุพงศ์คำมา. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำเร็จ : กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย2556; 58(1):3-16.
Barbee, M.A., & Bricker, P. Psychiatric mental health nursing. U.S.A.: Mosby, 1996.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว