การพยาบาลผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารทะลุ ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • จุไรรัตน์ นนทวงษ์ หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลบ้านหมี่

คำสำคัญ:

การพยาบาล, โรคกระเพาะอาหารทะลุ, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

ชายไทยอายุ 71 ปี มาด้วยอาการซีด ปวดจุกท้องใต้ลิ้นปี่ 2 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล วินิจฉัยแรกรับ Dyspepsia with anemia แก้ไขภาวะซีดให้เลือดชนิด PRC ทางหลอดเลือดดำ และยาลดการหลั่งกรด Omeplazone 40 มิลลิกรัม วันละครั้ง 8 ชั่วโมงหลังรับไว้ดูแล มีไข้ ปวดท้องมากขึ้น ท้องแข็งตึง ส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง พบลมและน้ำในช่องท้อง (air and fluid at upper anterior abdomen) แพทย์วินิจฉัย peptic ulcer perforation with sepsis ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบ ความอิ่มตัวออกซิเจนปลายนิ้ว 94% ความดันโลหิต 80/64 มิลลิเมตรปรอท ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ คู่กับให้ยาเพิ่มความดันโลหิต Levophed 4 มิลลิกรัม ผสมใน 5% D/W 250 มิลลิลิตร (4: 250) 5 มิลลิลิตร/ชั่วโมง ทางหลอดเลือดดำ ให้ยาปฏิชีวนะ Tazocin 4.5 กรัม ทุก 6 ชั่วโมง ทางหลอดเลือดดำ และทำผ่าตัด explore laparotomy with simple suture with omental graft หลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรก ระดับสัญญาณชีพยังไม่คงที่ มีภาวะซีด ค่า Hct 27.1% ให้การพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจตามมาตรฐาน ให้เลือดชนิด PRC 1 ยูนิต v และรักษาความสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย บรรเทาอาการปวดแผล หลังใส่ท่อช่วยหายใจ 3 วัน สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ ผลเพาะเชื้อในเลือด พบเชื้อ gram positve cocci ได้รับยาปฏิชีวนะ 10 วัน อาการดีขึ้นตามลำดับ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนติดเชื้อ ที่ปอด และแผลผ่าตัด รวมระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล 12 วัน

References

Harbison SP, Dempsey DT. Peptic ulcer disease. Curr Prob Surg. 2005; 42: 337-454.

Chi-Liang C, Cheng-Hui L, Nai-Jen L, Jui-Hsiang T, Yen-Lin K, Yi-Ning T. Endoscopic diagnosis of cervical esophageal heterotopic gastric mucosa with conventional and narrow-band images. World J Gastroenterol. 2014; 20: 242-9.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติโรค. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2562.

ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลบ้านหมี่ หน่วยงานศัลยกรรม. รายงานประจําปี 2562. ลพบุรี :โรงพยาบาลบ้านหมี่; 2562.

Wilmot LA. Shock: early recognition and management. Emerg Nurs J 2014; 36: 134-9.

Svanes C. Trends in perforated peptic ulcer: incidence, etiology, treatment, and prognosis. World J Surg. 2000; 24(3): 277-8.

Bertleff MJ, Lange JF. Perforated peptic ulcer disease: a review of history and treatment. Dig Surg. 2010; 27(3): 161-9.

นันทา เล็กสวัสดิ์. การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดและการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด. พิมพ์ครั้งที่ 2. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2554.

วิจิตรา กุสุมภ์. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์, 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020