ความคิดเห็นของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเกี่ยวกับการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • จริยา โคจรนา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุน ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากคณะกรรมการกองทุนฯทุกคน ของทุกกองทุนและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกคณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบของแมน-วิทนีย์ การทดสอบของครูคัล–วัลลิส การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของลำดับที่ของสเปียร์แมน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยการบริหารจัดการกองทุนฯโดยรวมอยู่ระดับดี (gif.latex?\bar{x} =3.90, S.D.=0.462) ด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ระดับดี (gif.latex?\bar{x} =3.72, S.D.=0.478) ด้านกระบวนการอยู่ระดับดี ( gif.latex?\bar{x} =3.98, S.D.= 0.526) ด้านการดำเนินงานอยู่ระดับดี (gif.latex?\bar{x} =4.02, S.D.= 0.616) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นในการบริหารจัดการกองทุนฯ พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ของด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ตำแหน่งในกองทุน และระยะเวลาการดำรงตำแหน่งกรรมการ ด้านผลการดำเนินงาน ได้แก่ ระยะเวลา การดำรงตำแหน่งกรรมการกองทุน พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านผลการดำเนินงาน ได้แก่ อาชีพ การศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่าประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมน้อย ในการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งคณะกรรมการกองทุนฯ ยังไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงบทบาทหน้าที่และประโยชน์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้นและควรพัฒนาความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการให้แก่คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

References

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2562. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2562

ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563, (2563, 2 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 77 ง. หน้า 41 – 42.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระกับท้องถิ่นหรือพื้นที่. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์; 2561.

มัณฑภนา อินทรสุภา, วิภวานี เผือกบัวขาว. การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอท่าแซะจังหวัดชุมพร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลียราชภัฏสวนสุนันทา. 2560;2(2):59 -72.

ปถภณ พิริยะ, กัลยา หาญพิชาญชัย, กฤษณ์ ขุนลึก. การพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดกาฬสินธิ์. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 2560;18(1):68 - 79.

นิกร พรมท้าว, สุวรัฐ แลสันกลาง. การประเมินการบริหารและการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 2562;2(2):1 - 14.

ศศิธร ธรรมชาติ, อารยา ประเสริฐชัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ. 2562;5(2):41 - 53.

ธนศักดิ์ ธงศรี, ภัทรภร เจริญบุตร, เผ่าไทย วงษ์เหลา. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานเชิงกุลยุทธ์ของกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2561;7(2):46 - 57.

จำเรียง ภาวิจิตร. สาธารณมิติ เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาสังคมศึกษา 4 (เล่ม 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช; 2536, อ้างใน วรภัทร วรรังสฤษษฎิ์. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของงานทะเบียน สำนักปลัด เทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2557.

มนฤดี อุดมดัน, ประจักษ์ บัวผัน, มกราพันธ์ จูทะรสก. การดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2562;19(1):161 - 171.

รุ่งเรือง แสนโกษา, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร, สมเจตน์ ภูศรี. รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในเครือข่ายเขตบริการสุขภาพที่ 7 กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2557;8(2):200 -216.

สุกานดา ผิวอ่อนดี, อุษณีย์ เส็งพาณิช, ธัมมะทินนา ศรีสุพรรณ. แนวทางการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านในเขตตำบลหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม. 2558;9(2):125 - 141.

สัญญา เหมือนโพธิ์ทอง, ปิยธิดา ตรีเดช, วงเดือน ปั้นดี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของคณะกรรมการบริหารหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2559;6(2):109 - 118.

วรรณา ทองกาวแก้ว. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2554; ปีที่ 3(ฉบับที่ 1):16 - 32.

วิลาสินี ว่องทรัพย์เจริญ, ปภาวดี มนตรีวัติ, รังสรรค์ ประเสริฐศรี. การมีสร่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 2554;9(1):69 - 77.

สุทิน อ้อนอุบล, มนตรี กรรพุมมาลย์, พัชรินทร์ สิรสุนทร, ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์. การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน. 2558;6(1):223 - 257.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2020