การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเย็บมดลูกเพื่อหยุดเลือด ขณะผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • จารุณีย์ เพ็งสุข กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลอ่างทอง

คำสำคัญ:

การเย็บมดลูกเพื่อหยุดเลือด, ผ่าตัดคลอด, ตกเลือดหลังคลอด

บทคัดย่อ

วิธีการเย็บมดลูกเพื่อหยุดเลือดเป็นทางเลือกในการรักษาอันดับถัดไปจากภาวะมดลูกไม่หดรัดตัวหลังคลอด หลังจากการรักษาด้วยยาล้มเหลวก่อนที่จะพิจารณาทำการตัดมดลูก พยาบาลห้องผ่าตัด เป็นส่วนหนึ่งของทีมผ่าตัด สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการศึกษา ผู้ป่วยตั้งครรภ์ที่ 3 อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ ไม่ฝากครรภ์มีน้ำเดินก่อนมาโรงพยาบาล ปวดเบ่ง แพทย์วางแผนการคลอดแบบธรรมชาติหลังจากเคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง 2 ครั้ง การคลอดไม่ก้าวหน้า แพทย์ช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศล้มเหลว จึงส่งเข้าห้องผ่าตัดทำผ่าตัดแบบเร่งด่วน ผู้ป่วยหลังคลอดทารกมดลูกไม่หดรัดตัว มีภาวะตกเลือดหลังคลอดทันที รักษา ด้วยยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกไม่ดีขึ้น แพทย์จึงใช้วิธีการเย็บมดลูกเพื่อหยุดเลือดแบบ B-lynch sutures เพื่อลดภาวะตกเลือดขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด

พยาบาลห้องผ่าตัดมีบทบาทในการ จัดเตรียมห้องผ่าตัดแบบฉุกเฉิน จัดกำลังคน ช่วยแพทย์ ในการผ่าตัด จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดให้พร้อมใช้ ประเมินการเสียเลือดขณะผ่าตัด ประสานงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง สามารถควบคุมภาวะการตกเลือดได้จึงทำให้ผ่านภาวะวิกฤติได้อย่างปลอดภัยและจากการติดตามเยี่ยมหลังผ่าตัด สามารถ จำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านได้ภายใน 5 วัน ส่วนบุตรรักษาต่อเนื่องที่หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต จนแข็งแรงและมารดารับกลับบ้านหลังคลอด 15 วัน

References

คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rtcog.or.th/home/wpcontent/uploads/2017/04/OB_019.pdf.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. อัตราส่วนการตายมารดา [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้ จาก:http://planning.anamai.moph.go.th/download/DStrategic/2562/Committee/Committee62_Data2-050362.pdf.

คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกไม่หดรัดตัว [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2563].เข้าถึงได้จาก:http://www.rtcog.or.th/home/wp-content/uploads/2020/09/OB-63-020-Prevention-and-Management-of-Postpartum-Hemorrhage.pdf.

Metha Songthamwat. Uterine flexion suture: modified B-Lynch uterine compression suture for the treatment of uterine. International Journal of Women’s Health 2018; 10: 487–492.

ภาณุพงศ์ เจริญดำรงทรัพย์. B- lynch suturing in uterine atony during caesarean section. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2558; 29(2):189–193.

จารุณี ตั้งใจรักการดี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดของพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลหัวหิน. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล 2561;3(1):1-6.

รุ้งเพ็ชร สุยะเวช, ชูทิศ กี่สกุล, วิชัย อิทธิชัยกุลฑล, ภัทราภรณ์ สอนคำมี. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตกเลือดในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง.วารสารวิสัญญีสาร 2558; 41(2):53-63.

รุ้งเพ็ชร สุยะเวช, ชูทิศ กี่สกุล, วิชัย อิทธิชัยกุลฑล, ภัทราภรณ์ สอนคำมี. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตกเลือดในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง.วรสารวิสัญญีสาร 2558; 41(2):53-63.

เฟื่องลดา ทองประเสร็ฐ.ภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์และนารีเวชวิทยา.เชียงใหม่:ภาควิชาสูติศาสตร์และนารีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

นัทธมน วุทธานนท์. การปฏิบัติการพยาบาลในคลินิคศัลยกรรม.เชียงใหม่:นันทพันธ์พริ้นติ้ง; 2554.

Downloads