ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในข้าราชการกลุ่มเสี่ยงจังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • กชกร สมมัง กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริม, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ข้าราชการกลุ่มเสี่ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในข้าราชการกลุ่มเสี่ยงจังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการกลุ่มเสี่ยงจังหวัดลพบุรี ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 32 คน ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจำนวน 3 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม และโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งหาความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงมีค่าเท่ากับ .79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ด้วย Paired Sample t–test

ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพหลังการทดลองดีกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.01 ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) รอบเอว และสมรรถภาพทางกาย หลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนน้ำหนักไม่แตกต่างกัน สรุปได้ว่า โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ทำให้กลุ่มตัวอย่างเกิดการเปลี่ยนแปลง ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในข้าราชการกลุ่มเสี่ยง ส่งผลให้ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) รอบเอว และสมรรถภาพทางกายเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดียิ่งขึ้น จึงควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและขยายผลไปสู่กลุ่มวัยทำงานกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพคนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป ในการปฏิบัติตามหลัก 3อ 2ส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2556.

World Health Organization. Global status report on noncommunicable diseases 2014. Geneva: WHO Press; 2014.

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. กรมอนามัย. แผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคอ้วนคนไทย(คนไทยไร้พุง) กรมอนามัย พ.ศ. 2553 – 2556. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2553.

นวลรัดดา ประเปรียว. ผลการให้ความรู้และการปรึกษาด้านโภชนาการต่อการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การเคลื่อนไหวออกกำลังกายและภาวะโภชนาการในผู้รับบริการภาวะอ้วนลงพุงที่โรงพยาบาลอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร-มหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

Nutbeam D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promot Int. 2000; 15: 8.

Nutbeam D. Health Literacy and adolescents: a framework and agenda for future research. Health Educ Res. 2008; 23(5): 840-847.

ยุธทวี ทองโอเอี่ยม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องการกินอาหารและการออกกำลังกายของผู้เข้าร่วมโครงการ 3 Steps Healthy NHA2015. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการการคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3; 27-29 กรกฎาคม 2559; โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร; 2559.

แสงเดือน กิ่งแก้ว และนุสรา ประเสริฐศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 2559; 25(3): 43-54.

Ishikawa H., Nomura K., Sato M., Yano E. Developing a measure of communicative and critical health literacy : a pilot study of Japanese office workers. Health Promot Int. 2008; 23(3): 269-274.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และดวงเนตร ธรรมกุล. การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2558; 9(2): 1-8.

อภิญญา อินทรรัตน์. ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15(3): 174-178.

โสภาพันธ์ สอาด. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านสุขภาพโดยใช้สื่อเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2558; 26(2): 41-49.

Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman; 1997.

Sharif I. & Blank A. E. “Relationship between child health literacy and body mass index in overweight children”. Patent Education and Counseling. 2010; 79(1): 43-8.

สินีนาถ ทรัพย์ศิริ. โครงการรักษ์สุขภาพ (องค์กรไร้พุง) อำเภอบ้านหมี่. ลพบุรี: โรงพยาบาลบ้านหมี่; 2559.

สุวภัทร คำโตนด และคณะ. (2556). การประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและกิจกรรมทางกายของสตรีที่มีภาวะอ้วนลงพุง โรงพยาบาลสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. วารสารสุขศึกษา. 2556; 36(124): 30-44.

กันยารัตน์ มาเกตุ, มงคล ศริวัฒน์ และศุภาณ์นาฎ สุวรรณกิจ. ผลของโปรแกรมลดน้ำหนักต่อค่าดัชนีมวลกายและภาวะสุขภาพของสตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. บทคัดย่อ...สัมมนาวิชาการป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติ ประจำปี 2555 วันที่ 4-6 กรกฎาคม 2555. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2020