ประสิทธิภาพการส่องกล้องและการตรวจพบติ่งเนื้อของผู้ป่วยที่ เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐดนัย สุขุมะ กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการส่องกล้อง, การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่, ส่องกล้องลำไส้ลำไส้ใหญ่

บทคัดย่อ

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ใช้ในการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ประสิทธิผลที่ดี ของการส่องกล้องลำไส้ขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของผู้ป่วย การเตรียมลำไส้ คุณภาพการเตรียมมีผลต่อระยะเวลาของการส่องกล้อง การตรวจหาติ่งเนื้ออย่างละเอียดและการถอดกล้องออกจากลำไส้ที่นาน มีสัมพันธ์กับอัตราการตรวจหาติ่งเนื้อที่ผิดปกติสูงขึ้น การวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาคุณภาพ ความสำเร็จ ระยะเวลา และการตรวจพบติ่งเนื้อผิดปกติในการส่องกล้องลำไส้ โดยศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วย ที่ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561 – 30 กันยายน 2563 จำนวน 265 ราย เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยส่องกล้องวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและหาความสำคัญโดยใช้ไคล์สแคว์

ผลการศึกษาพบว่า การเตรียมลำไส้และการตรวจพบติ่งเนื้อ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสากล แต่ Cecal intubation ยังมีค่าร้อยละได้น้อยกว่ามาตรฐาน ซึ่งทางผู้วิจัยได้คำนวณปัจจัยที่สามารถทำให้การ Cecal intubation ทำได้มากขึ้น ปัจจัยนั้นคือ การให้ยาแก้ปวดและ/หรือการให้ยาสลบ อีกตัวชี้วัดที่ยังต้องปรับปรุงแก้ไขคือ ระยะเวลาการถอยกล้อง ซึ่งมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อปัจจัยดังกล่าว อาจต้องใช้การศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการถอยกล้องที่มีระยะเวลาถอยน้อยกว่า 6 นาที ผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่าผู้ส่องกล้องควรตรวจสอบคุณภาพในการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ และเทคนิคในการส่องกล้อง รวมถึงระยะเวลาในการถอยกล้อง, คุณภาพของการเตรียมลำไส้ ในการส่องกล้องควรได้ตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะนำไปสู่การคัดกรอง, เฝ้าระวังลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

References

ASGE Standards of Practice Committee.Bowel preparation before colonoscopy. Gastrointest Endosc 2015;81:781-9.

Hasssan C, Bretthauer M, Kaminski MF.Bowel preparation for colonoscopy: European society of gastrointestinal endoscopy (ESGE) guideline. Endoscopy 2013;45:142-50.

Cohen LB. Advances in bowel preparation for colonoscopy. Gastrointest Endoscopy Clin N Am 2015;25:183-97.

Rex DK, Bond JH, Winawer S. Quality in the technical performance of colonoscopy and the continuous quality improvement process for colonoscopy: recommendations of the U.S. Multi Society Task Force on Colorectal Cancer. Am J Gastroenterol 2002;97:1296-308.

Lieberman D. A call to action-measuring the quality of colonoscopy. N Engl J Med 2006;355:2588-89.

Levin B, Lieberman DA, McFarland B. Screening and surveillance for the early detection of colorectal cancer and adenomatous polyps,randomized,controlled trial. World J Gastroenterol 2014;20:13178-84.

Rex DK, Schoenfeld PS, Cohen J, Pike IM, Adler DG, Fennerty MB. Quality indicators for colonoscopy. Gastrointest Endosc 2015;81:31-53.

Corley DA, Jensen CD, Marks AR, Zhao WK, Lee JK, Doubeni CA. Adenoma detection rate and risk of colorectal cancer and death. N Engl J Med 2014;370:1298-306.

Johnson DA, Barkun AN, Cohen LB. Optimizing adequacy of bowel cleansing for colonoscopy: recommendations from the US mulisociety task force on colorectal cancer. Gastroenterology 2014;147:903-24.

Clark BT, Rustagi T, Laine L. What level of bowel prep quality requires early repeat colonoscopy: systematic review and meta-analysis of the impact of preparation quality and adenoma detection rate. Am J Gastroenterol 2014;109:1714-24.

Senore C, Ederle A, Fantin A. Acceptability and side-effects of colonoscopy and sigmoidocopy in a screening setting. J Med Screen 2011;18:128-34.

Rex DK , Richard CB.Colorectal cancer screening:Recommendation for physician and patient from U.S. Multi-society task force on colorectal cancer. Am J Gastroenterol 2017;12:1016-30.

Joseph CA .Colonoscopic:Quality indicator.Clin Transl Gastroenterol 2015;6:e77.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2020