การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน กรณีศึกษา: เปรียบเทียบ 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลันบทคัดย่อ
กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome : ARDS) เป็นภาวะวิกฤตทางเดินหายใจที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตสูง พยาบาลหอผู้ป่วยหนักมีหน้าที่ประเมิน ภาวะสุขภาพ ติดตามเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง และให้การพยาบาลอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความปลอดภัย ส่งเสริมการฟื้นหาย และป้องกันภาวะแทรกซ้อน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเปรียบเทียบกรณีศึกษา จำนวน 2 ราย โดยศึกษาประวัติผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ทั้งในระยะวิกฤต ระยะฟื้นฟู และระยะจำหน่าย กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 69 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการหายใจหอบเหนื่อย 2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคพังผืดที่ปอด แพทย์วินิจฉัย ARDS with septic shock ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและใส่เครื่องช่วยหายใจ รับไว้ที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม และย้ายมารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก ได้รับการรักษาพยาบาลจนอาการดีขึ้น สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จ จึงย้ายผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อเนื่อง ที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม และจำหน่ายกลับบ้านได้ นอนโรงพยาบาลจำนวน 23 วัน กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 47 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการหายใจหอบเหนื่อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลชุมชน และส่งตัวมารับการรักษาต่อ ปฏิเสธโรคประจำตัว แพทย์วินิจฉัย ARDS with pneumonia รับไว้ที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม และย้ายมารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก ได้รับการรักษาพยาบาลจนอาการดีขึ้น สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจ และถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จ จึงย้ายผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อเนื่องที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม และจำหน่ายกลับบ้าน นอนโรงพยาบาล 15 วัน
จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นกระบวนการพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยในระยะวิกฤต ระยะฟื้นฟู จนถึงจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล การวางแผนการพยาบาลในแต่ละรายมีความยุ่งยากซับซ้อน แตกต่างกัน โดยพยาบาลต้องใช้ความรู้ และทักษะในการประเมิน ติดตาม เฝ้าระวัง และมีความเชี่ยวชาญ ในการให้การพยาบาลผู้ป่วยแต่ละราย โดยมีเป้าหมายเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
References
จารุณี ทรงม่วง. การพยาบาลผู้ป่วย Acute Respiratory Distress Syndrome. เวชบันทึกศิริราช 2560;3:174-9.
จันทร์เพ็ญ เนียมวัน, นารี สิงหเทพ, วราทิพย์ แก่นการ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจลำบากเฉียบพลันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลยโสธร. วารสารกองการพยาบาล 2563;1:105-19.
พุทธพงศ์ นิภัสตรา. กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน: การรักษาตามหลักฐานเชิงประจักษ์. พุทธชินราชเวชสาร 2561;1:116-28.
เพชร วัชรสินธุ์, พิมสาย คุณากร. การรักษา ARDS เเบบประคับประคองโดยไม่ใช้เครื่องช่วยหายใจ. วิสัญญีสาร 2556;4:338-53.
เพชรรุ่ง อิฐรัตน์. การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562;2:72-82.
อรนันท์ หาญยุทธ. กระบวนการพยาบาลและการนําไปใช้. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;3: 137-43.
Confaloneiri M, Salton F, Fabiano F. Acute respiratory distress syndrome. Eur Respir Rev 2017;144:1-7.
Fan E, Brodie D, Slutsky AS. Acute Respiratory Distress Syndrome Advances in Diagnosis and Treatment. JAMA 2018;7:698-710.
Griffiths MJD, McAuley DF, Perkins GD, Barrett N, Blackwood B, Boyle A, et al. Guidelines on the management of acute respiratory distress syndrome. BMJ Open Respiratory Research 2019;1:1-27.
York NL, Kane C. Trends in Caring for Adult Respiratory Distress Syndrome Patients. Dimensions of Critical Care Nursing 2012;3:153-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว