การพยาบาลผู้ป่วยเป็นโรคอ้วนที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย ในการทำผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารโดยใช้กล้องผ่านทางหน้าท้อง: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ยุติธรรม กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วย, ยาระงับความรู้สึกชนิดทั่วร่างกาย, การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารโดยใช้กล้องผ่านทางหน้าท้อง

บทคัดย่อ

การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารเป็นวิธีหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยเป็นโรคอ้วนที่มีโรคอื่นร่วมด้วย ซึ่งรักษาโดยวิธีลดน้ำหนักชนิดอื่นแล้วไม่ได้ผล มักจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ความดันโลหิตสูง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคระบบทางเดินอาหาร รวมไปถึงสุขภาพจิต ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับยาระงับความรู้สึก จึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ขณะให้ ยาระงับความรู้สึก ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ ภาวะใส่ท่อช่วยหายใจลำบาก และการฟื้นจาก ยาดมสลบช้า เป็นต้น วิสัญญีพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วย จึงต้องมีความรู้ในเรื่องของโรค ที่ผู้ป่วยจะมาผ่าตัด และการพยาบาลให้การระงับความรู้สึกตั้งแต่การเตรียมผู้ป่วย การวางแผน การเฝ้าระวังเพื่อให้ผู้ป่วย มีความปลอดภัยและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดและการให้ยาระงับความรู้สึก จึงได้ทำการศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกชนิดทั่วร่างกายในการทำผ่าตัด ลดขนาดกระเพาะอาหารโดยใช้กล้องผ่านทางหน้าท้อง เปรียบเทียบจำนวน 2 ราย เพื่อแสดงให้เห็นแนวทางในการพยาบาล ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกชนิดทั่วร่างกายในการทำผ่าตัดลดขนาด กระเพาะอาหารโดยใช้กล้องผ่านทางหน้าท้อง

ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษาที่ 1: หญิงไทยอายุ 23 ปี ให้ประวัติว่า 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล ปวดจุกแน่นหน้าอก แพทย์วินิจฉัยว่า Morbid obesity with gall stone ได้การรักษาโดยการผ่าตัด Laparoscopic sleeve gastrectomy with cholecystectomy ใช้วิธีให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย ขณะทำผ่าตัดพบความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด 95% หายใจได้ไม่เพียงพอขณะทำผ่าตัดและหลังผ่าตัด และมีอาการหนาวสั่นที่ห้องพักฟื้น รวมถึงมีอาการปวดแผลหลังผ่าตัด เนื่องจากมีการตัดนิ่วที่ถุงน้ำดีร่วมด้วย หลังจากการแก้ไขปัญหาการให้การพยาบาลช่วยเหลือจนปลอดภัย และทบทวนความรู้ก่อนกลับบ้านเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้ รวมรักษาที่โรงพยาบาลชลบุรี 7 วัน กรณีศึกษาที่ 2: ชายไทยอายุ 29 ปี แพทย์นัดมาผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร แพทย์วินิจฉัย Super morbid obesity รักษาโดยการผ่าตัด Laparoscopic sleeve gastrectomy มีความเสี่ยงในเรื่องการใส่ท่อช่วยหายใจลำบาก ขณะนำสลบ ช่วยหายใจได้โดยใช้อุปกรณ์ช่วย และสามารถใส่ท่อช่วยหายใจได้โดยวิธี Video laryngoscope ขณะผ่าตัดมีภาวะความดันโลหิตต่ำ 80/40 มิลลิเมตรปรอท เนื่องจากได้รับยา Amlodipine 5 มิลลิกรัมก่อนมาห้องผ่าตัด และความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดต่ำ 90% มีปัสสาวะออกน้อยขณะผ่าตัด หลังได้รับการดูแลรักษาจนปลอดภัย แพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน รวมรักษาที่โรงพยาบาลชลบุรี 11 วัน

References

World Health Organization media care. Obesity and overweight Fact sheet. 2015 April17.Available from: http://www.who.int/mediacentre/fs311/en.

ทักษพล ธรรมรังสี. วิกฤตปัญหาโรคอ้วน ภัยเศรษฐกิจ พิษสังคม : สถานการณ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในประชากรไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2554. 20(1).

แผนกวิสัญญีโรงพยาบาลชลบุรี. รายงานการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารผ่านกล้องทางหน้าท้อง โดยการใช้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย. 2562.

พรทิพย์ ศุภมณี, วิไลพรรณ สมบุญตนนท์, อุมาพร ลัฐฐิกาวิบูลย์, และกิติรัตน์ เตชะไตรศักดิ์. ประสิทธิผลของการเยี่ยมเพื่อให้ความรู้ก่อนผ่าตัดต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดใหญ่ทางนรีเวชกรรม โรงพยาบาลศิริราช. วารสารพยาบาลศาสตร์, 2553.28(1),47-57.

จริยา เลิศอรรฆยมณี. การระงับความรู้สึกสำหรับผู้ป่วยอ้วน. ในอังกาบ ปราการรัตน์, วิมลลักษณ์ สนั่นศิลป์, ศิริลักษณ์ สุขสมปอง, ปฏิภาณ ตุ่มทอง. (บรรณาธิการ) ตำราวิสัญญีวิทยา พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ. 2556. 665-675.

Whitlock G, Learington S, Sherliker P, Clarke R, Emberson J, Halsey J, et al. Body-mass index and cause-specific mortality in 900000 adult : collaborative analysis of 57 prospective studies. Lancet 2009;373:1083-96.

Alberti KG, Zimmet P, Shaw J. The metabolic syndrome-a new worldwide definition. Lancet 2005;336:1059-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020