ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการจัดการคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้มในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • รติยา วิภักดิ์
  • นิรุวรรณ เทรินโบล์
  • เสฐียรพงษ์ ศิวินา

คำสำคัญ:

มาตรฐานโครงสร้างข้อมูล, ข้อมูล 43 แฟ้ม, เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ, การจัดการคุณภาพข้อมูล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาด้านความรู้ ด้านเจตคติ และการปฏิบัติการจัดการ
คุณภาพข้อมูล 2) ศึกษาสภาพปัญหา และอุปสรรคการปฏิบัติการจัดการคุณภาพข้อมูล 3) ศึกษาปัจจัยที่มีความ
สัมพันธ์กับการปฏิบัติการจัดการคุณภาพข้อมูล กลุ่มเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการคุณภาพข้อมูล จำนวน
46 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา
และสถิติทดสอบ Chi-Square test, Fisher’ Exact test ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 47.83) แต่มีความรู้ด้านการบันทึก
และการจัดเก็บข้อมูลอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 39.13) มีเจตคติอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 58.70) แต่เจตคติด้านความ
ยุ่งยากซับซ้อนของการบันทึกข้อมูล อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 65.22) มีการปฏิบัติอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 67.40)
แต่การปฏิบัติด้านการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และพัฒนางานอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 73.92)
2. ปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติการจัดการคุณภาพข้อมูล ได้แก่ นโยบายที่ไม่ชัดเจนมีการเปลี่ยนแปลง
บ่อย ขาดการนิเทศติดตาม ด้านอุปกรณ์ที่ไม่ทันสมัย ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร บุคลากรที่ไม่เพียงพอ
ต่อภาระงาน และโปรแกรมที่มีความหลากหลายในการบันทึกข้อมูล
3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการจัดการคุณภาพข้อมูล ตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้ม
พบว่า ระดับการศึกษาประสบการณ์ทำงาน การได้รับมอบหมายงาน การได้รับการอบรมชี้แจง และระดับความ
รู้มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการจัดการข้อมูล ตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05
ควรจัดอบรมชี้แจง เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และทักษะ
ให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าใจ และมีความมั่นใจในการจัดการข้อมูล 43 แฟ้ม

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย