ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร: กรณีศึกษาเกษตรใน ต.สันป่าม่วง อ.เมือง จ.พะเยา
คำสำคัญ:
ปัจจัย, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกร, พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชบทคัดย่อ
การวิจัยแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม การใช้สารเคมี
กำจัดศัตรูพืช ของกลุ่มเกษตร ในตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวนทั้งหมด 185 ราย เลือกกลุ่ม
ตัวอย่างตามสะดวก จากเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ประกอบ
ด้วยแบบสัมภาษณ์เรื่องความรู้ ในการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช มีค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ .74, แบบ
สัมภาษณ์ความตระหนัก ในการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .83 และแบบสัมภาษณ์
พฤติกรรมการปฏิบัติตัว ในขณะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค
เท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Chi-Square และสถิติ
Multiple Logistic Regression Analysis ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรจำนวนสองในสาม ร้อยละ 62.16
เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.91 ปี ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 77.84) มีที่นาเป็นของตนเอง เกษตรกรมีความรู้ ความ
ตระหนัก และพฤติกรรมการใช้สารเคมีจำกัดศัตรูพืช ที่ถูกต้องอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร มีทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ ความรู้เรื่องการใช้สารเคมีก??ำจัด
ศัตรูพืช (OR=12.78, 95% CI=4.30-37.95), ความตระหนักในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (OR=7.18, 95%
CI=2.78-18.50), การเป็นเจ้าของที่ดิน (OR=0.25, 95% CI=0.07-0.83) และระยะเวลาในการใช้สารเคมี
(OR=0.26, 95% CI=0.74-0.92)
ความรู้ และความตระหนักการใชส้ ารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีผลค่อนข้างสูงต่อ พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัด
ศัตรูพืช ของเกษตรกร ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ควรส่งเสริมความรู้ที่ถูกต้อง ร่วมกับการสร้างเสริมความ
ตระหนักให้แก่เกษตรกร เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องปลอดภัย
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้