รูปแบบการพัฒนาทักษะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสี โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี

ผู้แต่ง

  • โสพิณ แก้ววิลัย สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กาญจนา ศรีสวัสดิ์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ดวงกมล วัตราดุลย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ทักษะการพยาบาล, ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสี โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสีก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ขั้นตอนที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลหลัก สำหรับการสนทนากลุ่ม คือ ทีมสหสาขาวิชาชีพ และผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสี รวม 10 คน และขั้นตอนที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง สำหรับใช้รูปแบบฯ คือ   พยาบาลวิชาชีพ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนวคำถามในการสนทนากลุ่มและแบบประเมินทักษะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง  .67 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และสถิติวิลคอกซัน ผลการวิจัย พบว่า

1. รูปแบบการพัฒนาทักษะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสี ประกอบด้วย 1) การพัฒนาทักษะการพยาบาลก่อนการฉายรังสี เกี่ยวกับความรู้ด้านโรคมะเร็งศีรษะและคอ การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและคอ การประเมินสภาพผู้ป่วย และการดูแลผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการฉายรังสี และ 2) การพัฒนาทักษะการพยาบาลระหว่าง การฉายรังสี เกี่ยวกับทักษะด้านการดูแลการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง การดูแลภาวะน้ำลายแห้ง การดูแลรับรสชาติเปลี่ยนแปลง การดูแลภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ การดูแลภาวะช่องปากแคบและการดูแลภาวะขาดเลือดและพังผืด

2. พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนทักษะการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสีหลังสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

ดังนั้น โรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งสามารถนำรูปแบบการพัฒนาทักษะการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสี ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทักษะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพดูแลในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสีและผู้ป่วยมะเร็งชนิดอื่น ๆ

References

Cancer Registry, Lopburi Cancer Hospital. (2022). Cancer statistics at Lopburi Cancer hospital. Lopburi: Ministry of Public Health. (in Thai)

Canadian Association of Nurses in Oncology. (2018). Radiation Oncology Nursing Practice Standards and Competencies. Retrieved October 10, 2022 from https://cdn.ymaws.com/www.canoacio.ca/resource/resmgr/standards/ronp_s&c_web(2).pdf.

Changlek, S. (2021). Effects of knowledge and skills development of professional nurses in assessing patient with sepsis inpatient department Phon Phisai hospital Nong Khai province. Nursing, Health, and Education Journal, 4(2), 4-15. (in Thai)

Donabedian, A. (2003). An Introduction to Quality Assurance in Health Care. Oxford: Oxford University Press.

Human Resources Management Office Department of Medical Services. (2010). Competency Handbook for the Department Of Medical Services. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)

Muldee, s. & Srijakkot, J. (2023). Development of a program to enhance competency for caring hematological cancer patients receiving chemotherapy of professional nurses who have worked for less than 5 years and never received training in nursing for patients receiving cancer chemotherapy, Khon Kaen Hospital, Khon Kaen Province. Journal of Sakon Nakhon Hospital, 26(2), 78-90. (in Thai)

Panyawong, M. (2015). Effects of Supportive-educative Nursing System On Dermatitis Of Patients with Head and Neck Receiving Radiation. A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Nursing Science (Adult Nursing), Huachiew Chalermprakiet University. (in Thai)

Ratchawong, W. (2016). Nursing Care Manual for Oral Care in Head and Neck Cancer Patients Receiving Radiation Therapy. Nursing Department, Siriraj Hospital, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University. (in Thai)

Sanyun, A. (2017). Supplementary Training Document for Oncology Nursing Head and Neck Cancer. Radiology Nursing Department, Siriraj Hospital. (in Thai)

Songwatthanayuth, P. (2021). Nurse’s coaching role: how to promote breast cancer preventive behaviors in women. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 8(2), 303-314. (in Thai)

Strategic Planning and Policy Division, Ministry of Public Health. (2022). Summary of Key Statistics Fiscal 2022. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)

Sung, H., Ferlay, J., Siegel, R. L., Laversanne, M., Soerjomataram, I., Jemal, A., et al. (2021). Global cancer statistics 2020: globocan estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. CA: a cancer journal for clinicians, 71(3), 209–249. doi.org/10.3322/caac.21660

Thienthong, H. (2011). Development of an Oncology Nursing Competency Scale for General Professional Nurses in Thailand. A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree Doctor of Philosophy (Nursing), Chiang Mai University. (in Thai)

Tongtem, E., Prakobkit, k., Tanadkar, N., & Sasat, S. (2022). The best practice of services for cancer patients: A scoping review. Journal of Military Medicine, 23(3), 323-332. (in Thai)

Wannapornsiri, C., Naewbood, S., Buranachokphaisan, M., Punyakornchayakoor, N. & Sapmak, S. (2016). Model for improving nurses’ competencies of breast cancer patients care network Phitsanulok province. Nursing and Health, 10(1), 126-140. (in Thai)

Wunnasaweg, A., Pumthong, G., & Trumikaborworn, S. (2019). Oncology nurses competency building strategles at cancer hospital under the department of medical services. Nursing and Health Care, 37(2), 45-54. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-17