ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงจากการใช้ผลิตภัณฑ์ เสริมความงามของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วรินทร์ลดา จันทวีเมือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สกุนตลา แซ่เตียว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ทิพย์สุคนธ์ กิจรุ่งโรจน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จินตวีร์พร แป้นแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เรวดีศิริ อ่อนรักษ์ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2

คำสำคัญ:

ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม, พฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยง, การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงพยากรณ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และปัจจัยที่มีอิทธิพลกับพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามของนักเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา จำนวน 370 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ได้ค่า IOC ระหว่าง .67-1.00 วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามความรู้ได้ค่า KR-20 ได้เท่ากับ .71 ส่วนแบบสอบถามส่วนอื่นๆ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ระหว่าง .71-.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบทีละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า

1. กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (M=2.87, SD=0.31) โดยด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการเลือกจากภาพลักษณ์ตราผลิตภัณฑ์ (M=3.08, SD=0.57) รองลงมา คือ ด้านการใช้ความภักดีต่อตราผลิตภัณฑ์ (M=2.98, SD=0.54) ส่วนด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีราคาแพง (M=2.68, SD=0.38)

2. ปัจจัยที่ส่งต่อพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามของกลุ่มตัวอย่าง มากที่สุด คือ การได้รับ/ศึกษาความรู้เกี่ยวกับอันตรายหรือผลกระทบจากการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม (Beta=.320) รองลงมา ได้แก่ ทัศนคติที่มีต่อผลิตภัณฑ์เสริมความงาม (Beta=.244) และความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมความงาม (Beta=.167) ทั้ง 3 ปัจจัยสามารถร่วมทำนาย ได้ร้อยละ 25.80 (R2=.258, p<.001)

ดังนั้น โรงเรียนและพยาบาลชุมชน ควรร่วมกันวางแผนและพัฒนารูปแบบในการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความรู้ ทัศนคติที่ดี และมีพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่เหมาะสม

References

Aphisamacharayothin, P. (2017). Factors Effecting to Beauty Awareness and Unstandardized Cosmetic Used Hehaviors of Thai Women. Thaksin University Library Journal, 6, 194-216. (in Thai)

Chayasoontorn, U. (2015). Factors Influencing Cosmetic Purchasing Behavior of Female Students of Rajamangala University of Technology Rattanakosin, SalayaArea, Nakhon Pathom Province. Master of Business Administration (General Management). Dhonburi Rajabhat University. (in Thai)

Chotthitaporn, N., Klaewkla, J., & Sompopcharoen, M. (2019). Factors Affecting to Purchasing Decision on Dietary Supplement Products for Beauty through Internet among Professional Nurses. Thai Red Cross Nursing Journal, 12(2), 151-164. (in Thai)

Chumpoo, N. (2017). Media Exposure Behaviors and Word of Mouth of Health Products. Master of Arts. Thammasat University. (in Thai)

Food and Drug Administration. (2019). Guidelines for Cosmetic Advertising. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)

Food and Drug Administration. (2019). Information of the Center for Monitoring and Complaints of Health Supplements. Retrieved November 20, 2022 from https://www.fda.moph.go.th/sites/HPSC/SitePages/Result.aspx. (in Thai)

Green, L. W., & Kreuter, M. W. (2005). Health Program Planning: An Educational and Ecological Approach (4thed). New York: McGraw-Hill.

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2019). Multivariate Data Analysis (7th ed). New Jersey: Pearson Education.

Jaidee, J. (2015). The Relationships among Female Consumers’ Knowedge, Perceived Risk and Buying Behaviors of The Skin Whitening Lotion Products. Master of Communication Arts. Burapha University. (in Thai)

Khieokhachee, S., & Surasondhi, K. (2017). Exposure to Information, Knowledge, and Preparation for Languages and Cultures toward ASEAN Community of Thai Adolescents in Bangkok. Journal of Mass Communication, 6(2), 123-148. (in Thai)

Klanruangsang, P., Sompopcharoen, M., & Aimyong, N. (2018). Decision Making About Skin Whitening Products among Undergraduate Student in Bangkok. KKU Research Journal (Graduate Study), 18(1), 13-23. (in Thai)

Kongwong, R., & Wattananamkul, V. (2011). A Study of “Harmful Cosmetics” Usage Behavior among Female Teenagers in Ubon Ratchathani Province. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences, 7(1), 76-87. (in Thai)

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Phychological Measurement, 30(3), 607-610.

Kummabu, J., Sinsiri, J., Sangprasert, P., & Numkham, L. (2012). Community Health Nursing. Bangkok: Pim Suay Co., Ltd. (in Thai).

Muenprasertdee, S. (2014). Factors that Affect Consumer Behavior Based on Current Trends of Consumers in Bangkok Metropolitan Area. Master of Education degree in Business Administration. Bangkok University. (in Thai)

Nissawong, S. (2011). Behavior of Extravagance. Veridian E-Journal SU, 4(1), 275-293. (in Thai)

Onrak, R. (2021). A Teacher of One Large High School in Songkhla Province. Interview. (in Thai)

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice. (4th ed). New Jersey: Pearson Education, Inc.

Ruangying, J., Jorajit, S., & Janyam, K. (2016). Food Consumption Behavior of Adolescents in Songkhla Province: Synthesis of Literacy and Factors Influencing Food Consumption Behavior. Journal of Liberal Arts, Prince of Songkla University, Hat Yai Campus, 8(1), 245-264. (in Thai)

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2010). Cosumer Behavior (10th ed). New Jersey: Prentice Hall.

Silpcharu, T. (2017). Research and Statistical Data Analysis with SPASS and AMOS (17th ed). Bangkok: Business R & D. (in Thai)

Songklang, S., & Yangyuen, S. (2020). Correlations Between Social Environment Factors and Alcohol Use among Adolescents. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 7(1), 32-44. (in Thai)

Thiengkhamdee, N., Chantawong, C., & Homsin, P. (2015). Factors Influencing Work-Relation Prevention Behaviors of Garbage Collectors in Banglamung District Chonburi Province. Journal of Public Health Nursing, 29(1), 43-55. (in Thai)

Thongmeekhaun, T., Sateuw, S., & Paekaew, J. (2018). Correlation and Predictive Power of Risk Perception affecting Risk Protection Behaviors from Using Cosmetic Products among Nursing Students. Nursing Journal of the Ministry of Public, 28(2), 94-106. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27