การประเมินความเสี่ยงสุขภาพผู้ปฏิบัติงานห้องทันตกรรมต่อการเกิดโรคลีเจียร์แนร์จากระบบน้ำเครื่องมือทันตกรรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดภูเก็ต
คำสำคัญ:
ประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ, โรคลีเจียนแนร์ , เชื้อลีจิโอเนลลา , ระบบน้ำของเครื่องมือทันตกรรม, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงสำรวจความเสี่ยงสุขภาพต่อการเกิดโรคลีเจียร์แนร์จากระบบน้ำเครื่องมือทันตกรรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 16 แห่งในจังหวัดภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์ 1) การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลาและเชื้ออะมีบาอะแคนทามีบา ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเชื้อ รายงานผลตรวจพบเชื้อและไม่พบเชื้อ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและรายงาน สปีชีย์ของเชื้อ 2) ประเมินความเสี่ยงสุขภาพผู้ปฏิบัติงานในห้องทันตกรรมต่อการเกิดโรคลีเจียนแนร์ จำนวน 18 คน โดยแบบสอบถามความเสี่ยงสุขภาพผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ซึ่งค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .92 และได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และรายงานผลระดับความเสี่ยงสุขภาพ ผลวิจัยพบว่า
1. ผลการตรวจหาเชื้อ Legionella spp. พบว่า มีการตรวจพบเชื้อใน 2 ตัวอย่าง swab PK-7 จากจุด oral rinsing cup พบปริมาณโคโลนีของเชื้อ 180 CFU/swab ร้อยละ 6.25 และ swab triple syringe พบปริมาณโคโลนีของเชื้อ 36 CFU/swab ร้อยละ 6.25 การตรวจในระดับสปีชีย์ เป็นเชื้อ L. pneumophilla serogroup 1 ซึ่งเป็นเชื้อสปีชีย์ที่ก่อโรค และตรวจไม่พบเชื้ออะมีบา อะแคนทามีบาซึ่งอาจเป็นแหล่งอาศัยของเชื้อ L. Pneumophilla
2. ผลการประเมินความเสี่ยงสุขภาพผู้ปฏิบัติงานต่อการเกิดโรคลีเจียนแนร์ พบว่าระดับ ความเสี่ยงสูงหรือยอมรับไม่ได้ต้องมีการจัดการความเสี่ยง ได้แก่ น้ำขังนิ่งค้างท่อโค้งงอลงถ้วยอัตโนมัติและอ่างบ้วนปากมักมีน้ำขังนิ่ง หากไม่มีการไล่น้ำออกจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคลีเจียนแนร์และระดับความเสี่ยงปานกลางหรือยอมรับได้ต้องมีการควบคุม ได้แก่ สภาพอากาศเย็น/ความชื้นและการระบายอากาศในห้องทันตกรรมทำให้มีผลต่อการอยู่รอดของเชื้อ L. pneumophilla และมีโอกาสเสี่ยง ที่จะเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ
ผลการวิจัยครั้งนี้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนและการควบคุมอนามัยสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
References
American Dental Association.(2020). Dental Unit Waterlines. Retrieved September 9, 2020 from https://www.ada.org/en/member-center/oral-health-topics/dental-unit-waterlines.
Ampornaramveth, R. (2017). Air quality in dental clinic. Journal of the Dental Association of Thailand, 67(1), 1-14.
Bureau of Occupational and Environmental Diseases. (2014). Workplace Risk Assessment form for Personnel in Sub-district Health Promotion Hospital. Retrieved September 9, 2020 from http://rajpracha.ddc.moph.go.th/occupational/download/form_RAH01.pdf. (in Thai)
Dobrowsky, P. H., Khan, S., Cloete, T. E., & Khan, W. (2016). Molecular detection of Acanthamoeba spp., Naegleria fowleri and Vermamoeba (Hartmannella) vermiformis as vectors for Legionella spp. in untreated and solar pasteurized harvested rainwater. Parasites & vectors, 9(1), 539. doi.org/10.1186/s13071-016-1829-2
European Centre for Disease Prevention and Control. (2021). Surveilance Repost Legionnaires’ disease Annual Epidemiological Report for 2019. Retrieved December 19, 2020 from https://www.ecdc.europa.eu/sites/default/files/documents/AER-legionnaires-2019.pdf
Gorman, G. W., Feeley, J. C., & Steigerwalt, A. (1985). Legionella anisa: a new species of Legionella isolated from potable waters and a cooling tower. Appl EnvironMicrobiol. 49(2), 305-309.
Graham, F. F., Hales, S., White, P. S., & Baker, M. G. (2020). Review Global seroprevalence of Legionellosis - a systematic review and meta-analysis. Scientific Reports, 10. doi.org/10.1038/s41598-020-63740-y
Information Center for Infectious Diseases and Vectors. (2020). Legionella. Retrieved September 9, 2020 from http://webdb.dmsc.moph.go.th. (in Thai)
Muder, R. R., Yu, V. L., & Fang, G. D. (1989). Community-acquired Legionnaires' disease. Seminars in Respiratory Infections, 4(1), 32–39.
Pederson, E. D., Stone, M. E., Regain, C. Jr. & Simecek, J. W. (2000). Waterline biofilm and dental treatment facility. A Review General Dentistry, 50, 190-195.
Pediatric Infectious Diseases Association. (2011). Legionellosis. Retrieved November 20, 2021 from https://www.pidst.or.th/userfiles/f4.pdf
Rajavithi Hospital. (2021). Legionnaires in air conditioner. Retrieved November 9, 2021 from https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=4108 (in Thai)
Saowana, T. (2009). Legionella And other Bacterial Evaluation of Dental Water System. Retrieved November 9, 2021 from http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/3964/1/ Fulltext%20SUT1-104-51-24-28.pdf (in Thai)
Sakunkoo, P. & Tangmuang, K. (2021). Quantities and type of bacteria in airborne from the main service activities in the dental clinic;Case study of community hospital. Journal of the Office of DPC 7 Khon Kaen, 25(1), 12-22. (in Thai)
Szymanska, J. (2002). Risk of exposure to Ligionella in dental practice. Annual Agricultural Environmental Environmental Medicine. 11, 9-12.
The Dental Association of Thailand under the Royal Patronage. (2020). Guidelines for the Control and Prevention of Dental Infection in the Situation of COVID-19. Retrieved November 20, 2021 from https://www.thaidental.or.th/main/download/upload/upload-204211344051371.pdf (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้