การพัฒนาเครื่องแจ้งเตือนการส่งสิ่งส่งตรวจสำหรับพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสงขลานครินทร์: การทดสอบต้นแบบ
คำสำคัญ:
การออกแบบและพัฒนา, เครื่องแจ้งเตือนสิ่งส่งตรวจ, พยาบาลห้องผ่าตัด, การทดสอบต้นแบบบทคัดย่อ
วิจัยการออกแบบและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของเครื่องแจ้งเตือนการส่งสิ่งส่งตรวจสำหรับพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 20 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมี 2 ส่วน คือ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อประสิทธิผลของเครื่องแจ้งเตือนการส่งสิ่งส่งตรวจ และแบบบันทึกเวลาเครื่องแจ้งเตือนการส่งสิ่งส่งตรวจ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือแบบประเมินความพึงพอใจ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.0 ตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของเป็น ครอนบาค เท่ากับ 0.97และวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า
ผู้ให้ข้อมูลให้คะแนนความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.71, SD=0.72) ให้คะแนนความพึงพอใจรายด้านต่อประสิทธิผลด้านการใช้งาน ใช้งานง่าย ไม่มีความซับซ้อน ได้คะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (M=3.85, SD=0.67) ด้านความปลอดภัย (M=3.95, SD=0.76) และด้านความคุ้มค่า คุ้มทุน (M=3.65, SD=0.93) มีคะแนนอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ด้านการออกแบบ มีความเหมาะสมของขนาด รูปทรง และน้ำหนัก ได้คะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (M=3.75, SD=0.85) สำหรับการทดสอบการแจ้งเตือนการส่งสิ่งส่งตรวจ จำนวน 20 ครั้ง พบว่า ร้อยละ 100 มีการแจ้งเตือนและปรากฏสีการแจ้งเตือนถูกต้องสอดคล้องกับเวลาที่ปรากฏอยู่บนจอเครื่อง
ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นเพียงการทดสอบต้นแบบในระยะแรก ซึ่งยังมีข้อจำกัดในการใช้งาน เช่น ระบบการส่งสัญญาณแจ้งเตือน ขนาดของเครื่องแจ้งเตือนที่เล็กเกินไป เป็นต้น จึงควรพัฒนาต่อยอดให้เครื่องแจ้งเตือนการส่งสิ่งส่งตรวจมีประสิทธิภาพและสอดรับกับการใช้งานและให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
References
Altman, M., Huang, T. T. K. & Breland, J. Y. (2018). Design Thinking in Health Care. Preventing Chronic Disease, 15, E117. doi.org/10.5888/pcd15.180128
Bhumisirikul, P. & Chiannilkulchai, N. (2018). Development of a RAMA Gallbladder Retrieval Bag for Improved Patient Safety: A Nursing Innovation. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 22(3), 264-277.
Chanprasert, K. (2017). Development of the Obstacle Warning Instruments. Thai Science and Technology Journal, 25(1), 137147. (In Thai)
Jidjawan, N. (2018). Design Thinking Process: New Perspective in Thai Healthcare System. Thai Journal of Nursing Council, 33(1), 5-14. (In Thai)
Kelly, C. J. & Young, A. J. (2017). Promoting Innovation in Healthcare. Future Healthcare Journal, 4(2), 121–125. https://doi.org/10.7861/futurehosp.4-2-121
Laha, W., Hiruntrakul, A. & Ninprapan, A. (2018). The Satisfaction of User in the Isometric Leg Strength Dynamometer in Setting Position for Field Test. KKU Research Journal (Graduate Studies), 18(2), 32-43. (In Thai)
Lang, A. R., Martin, J. L., Sharples, S. & Crowe, J. A. (2013). The Effect of Design on the Usability and Real World Effectiveness of Medical Devices: A case Study with Adolescent Users. Appl Ergon, 44(5), 799-810. doi:10.1016/j.apergo.2013.02.001
Nopparatana, C. (2020). Manual Transmissions Lab. Pathology Department, Medical Faculty, Prince of Songkla University. (In Thai)
Roddy, L. & Polfuss, M. (2020). Employing Design Thinking Methods in Nursing to Improve Patient Outcomes. Nursing Forum, 55(4), 553–558. https://doi.org/10.1111/nuf.12461
Sangyun, S. (2019). To Create and Performance Pads Waring Changing Diaper High-Tec. Vocational Education Central Region Journal, 3(2), 54-60. (In Thai)
Surma-aho, A., Hölttä-Otto, K., Nelskylä, K. & Lindfors, N. C. (2021). Usability Issues in the Operating Room-Towards Contextual Design Guidelines for Medical Device Design. Applied Ergonomics, 90, 103221.doi: https://doi.org/10.1016/j.apergo.2020.103221
The Thai Perioperative Nurse Association. (2013). The Thai Perioperative Nurse Association: Perioperative Nurse Competencies. (2nd ed.). Bangkok: Bangkok Medical Publisher. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้