ปัจจัยด้านจิตวิทยาเชิงบวก การสนับสนุนทางสังคม ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • อัมรัน สาแหละ นักศึกษาปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • พวงสร้อย วรกุล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • บุญโรม สุวรรณพาหุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • จิระวัฒน์ ตันสกุล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

จิตวิทยาเชิงบวก, การสนับสนุนทางสังคม, แรงจูงใจในการทำงาน, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงทำนายนี้ เพื่อ 1) ศึกษาระดับจิตวิทยาเชิงบวกการสนับสนุนทางสังคมและแรงจูงใจในการทำงาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของจิตวิทยาเชิงบวก การสนับสนุนทางสังคมกับแรงจูงใจในการทำงาน  และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 480 คน การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม 4 ส่วน ประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ปัจจัยด้านจิตวิทยาเชิงบวก 3) การสนับสนุนทางสังคม 4) แรงจูงใจในการทำงาน  ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านได้ค่า IOC ทั้ง 3 ฉบับ เท่ากับ 0.6 – 1.0 และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.88, 0.95 และ 0.95 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Pearson’s Correlation และ สถิติ Multiple Regression ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับปัจจัยด้านจิตวิทยาเชิงบวก การสนับสนุนทางสังคม และแรงจูงใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในระดับสูงทุกด้าน (M=3.83, SD=0.37, M=3.83 SD=0.53 และ M=3.96 SD=0.37) ตามลำดับ

2. ปัจจัยด้านจิตวิทยาเชิงบวก การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับแรงจูงใจในการทำงานในระดับ ปานกลาง (r=0.561, r=0.593) ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

3. ปัจจัยด้านจิตวิทยาเชิงบวก การสนับสนุนทางสังคมสามารถพยากรณ์แรงจูงใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ร้อยละ 51.5 (R2=0.515) โดยปัจจัยด้านจิตวิทยาเชิงบวก สามารถพยากรณ์แรงจูงใจในการทำงานได้ค่าสัมประสิทธิ์ 0.426 (B=0.426) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการสนับสนุนทางสังคมสามารถพยากรณ์แรงจูงใจในการทำงานของกลุ่มตัวอย่างได้ค่าสัมประสิทธิ์ 0.329 (B=0.329) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ข้อเสนอแนะควรศึกษากับบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่อื่นนอกสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และบุคลากรหน่วยงานอื่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานอื่น เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่กว้างขวางขึ้น

References

Best, J. W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliff, New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Boonkerd, P. (2015). The Relationships Between Positive Psychological Capital, Perceived Organizational Support And Turnover Intention, With Consideration Of Job Satisfaction As A Mediator In Professional Nurses In A Selection Center Of Hospital In Eastern Thailand. A Dissertation Submitted in Partial Fulfilment of the Requirement for the Master of Education Degree Of Arts In Industrial And Organizational Psychology Department Of Psychology Faculty Of Liberal Arts. Thammasat University. (in Thai).

Boonya, P. (2016). Happy Workplace And Social Support Affect To Efficiency of Staff in Hospital.A Dissertation Submitted in Partial Fulfilment of the Requirement for the Master of Education Degree in Educational Public Policy And Public Management. Mahidol University. (in Thai).

Chaiyakull, A. & Chanthamoot, J. (2000). Evaluation of Career Motivation among Nurses at Medicine Divisions Sapasithiprasong Hospital Ubon Ratchathani Province. Journal of Public Health Nursing, 26(1), 56-68.

Erdfelder, E., Lang, A. G. & Buchner, A. (2007). G*Power.3: A flexible Statistical Power Analysis Programe for the Social, Behavioral, and Biomedical Science. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. Upper Saddle River, NJ: Pearson.

Herzberg, F. (1959). Federick; Mausner, Bernard; and Synderman, Block the Motivation to Work. New York: John Willey.

Luthans, F., & Youssef, C. M. (2007). “Emerging Positive Organizational Behavior”.Journal of Management, 33(3), 321-349.

Nimnaparoj, T. (2019). Perception of Supervisor Management and Social Support with The Performance of Personnel Service Support Department at Thammasat University. Thammasat University. (in Thai).

Sangsuwan, T. (2008). The Relationship Between Working Motivation of Sub-District Health Officers with Health Centers’ Performance in Chumphon Province. Dissertation Submitted in Partial Fulfilment of the Requirement for the Master of Public Health Administraction. Sukhothaithammatiraj University. (in Thai).

Smarkjit, T., & Jrinto, K. (2012). The Research Aimed to Study to what Extent Personal Factors, Organizational Motivating Factors, and Maintaining Factors Effected Resignation of Operating Employees of a Sahapattanapiboon Food Factory in Sriracha District. Journal of Graduate School of Commerce Burapha Review, 7(2), 40-52.

Songloed, D. (2014). The Relationship of Positive Psychological Capital and Organization Commitment on Work Performance of Nursing Faculties, Southern Boromarajonani College of Nursing. Degree: Master of Nursing Science Nursing Administration, Sukhothaithammatiraj University. (in Thai).

SPD. & OPS. Ministry of Public Health. (2017). (MOPH). Twenty-Year National Strategic Plan for Public Health (2017-2036) First Revision 2018. Nonthaburi: Ministry of Public Health.

Suddee, L. (2007). Ration Ships Between Work Motivation, Social Support, Organizational Commitment, And Work Happiness Of Staff Nurses, General Hospitals, Central Region. A Dissertation Submitted in Partial Fulfilment of the Requirement for the Master of Nursing Science Program in Nursing Administration. Chulalongkorn University. (in Thai).

Sumalai, P. (2021). The Register Nurses’ Burnout in Bamrasnaradura Infectious Disease Institute. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 4(2), 66-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-25