ประสบการณ์นักศึกษาพยาบาลในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ แบบบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการสู่สังคม

ผู้แต่ง

  • พยอม ถิ่นอ่วน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก, กระทรวงสาธารณสุข
  • กัญญ์ณพัชญ์ ศรีทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก, กระทรวงสาธารณสุข
  • ถาวร ล่อกา สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • ดุจเดือน เขียวเหลือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก, กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ประสบการณ์, นักศึกษาพยาบาล, การเรียนรู้ด้วยการบริการวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุแบบบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการสู่สังคม ทำการศึกษาในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 40 คน ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็น นักศึกษาหญิงและชายที่ฝึกปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุครบตามระยะเวลาการฝึก 3 สัปดาห์ ทำการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก สังเกต การจดบันทึกและใช้ข้อมูลการสะท้อนคิดหลังเสร็จสิ้นการฝึก 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบแก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า

ประสบการณ์นักศึกษาพยาบาลในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุโดยบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการมีดังนี้ 1) การเอาชนะความท้าทาย ได้แก่ อุปสรรคการเรียนรู้ และท้อแต่ไม่ถอย 2) ทดลองหาวิธีอื่น ๆ 3) เห็นการเปลี่ยนแปลง ประสบการณ์การเรียนรู้แบบการบูรณาการการเรียนการสอนกับบริการวิชาการทำให้เกิดบทเรียนที่นำไปสู่การสร้างคุณค่าในตนเองของนักศึกษาเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ

ข้อเสนอแนะประสบการณ์การเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในภาคปฏิบัติที่เน้นการบูรณาการการเรียนรู้ การใช้กิจการมการเรียนรู้ที่หลากหลาย การเรียนรู้ด้วยตนเองจะทำให้เกิดการเรียนรู้และการสร้างคุณค่าในตนเอง

References

Belarmino, J. A. & Bahle-Lampe A. (2019). A Preliminary Historical Report on Embracing Online Education in Occupational Therapy. Open Journal of Occupational Therapy (OJOT), 7(3), 1.

Bubnys, R. (2019). A Journey of Self-Reflection in Students’ Perception of Practice and Roles in the Profession. Sustainability, 11(194), 1-17.

Burgh, G. & Nichols, K. (2012). The Parallels Between Philosophical and Scientific Inquiry: Implication for Science Education. Educational Philosophy and Theory, 44(10), 1045-1059.

Center for Community-Engaged Learning, University of Minnesota. (2011). Benefit of Service Learning. Retrieved November 10, 2020 from http://ccel-app.umn.edu/info/benefits.html

Creswell, W. J. (2012). Educational Research Planning, Conducting, and Evaluating Quantitative and Qualitative Research. Fourth ed, Boston: Peason.

Jeong, S. & McMillan, M. (2015). Work Integrated Learning (WIL): Integrating Frameworks for Education and Practice. Journal of Problem-Based Learning, 2(1), 1-10

Kanyaprasit, K. (2015). The Main Characteristics of the Search for Knowledge. (5 Essential feature of inquiry). Retrieved June 10, 2021 from http://sciedcenter.swu.ac.th/Portals/25/Documents/News/5Essentialfeaturesofinquiry_Kamonwan.pdf?timestamp=1434440007462. (in Thai).

Maneewan, K., Thin-uan, P., Lorga, T. & Intharacha, W. (2017). Contract Inquiry and Activity-Based Learning (CIA Learning) In Activity-Based Learning Course. ANPOR Annual Conference, 127-136.

Nijanet. C. (2015) Learning Through Social Service: an Alternative to Serving Society. of the University. Surat Thani Rajabhat Journal, 5(1), 1-32. (in Thai).

Parmelee, D., Michaelsen, K. L., Cook, S. & Hudes. D. P. (2012). Team-Based Learning: A Practical Guide: AMEE Guide No. 65. Medical Teacher, 34: e275–e287.

Pittard, B. (2010). Teaching Style Using Inquiry-Based Learning on Legal Matters Related to the Practice of Nursing Profession. Journal of Nursing, Ministry of Public Health, 25(2), 116-129. (in Thai).

Riessman, C. K. (2005). Narrative Analysis. In: Narrative, Memory & Everyday Life. University of Huddersfield, Huddersfield, 1-7.

Robinder, E. K. (2012). Service Learning as Civic Pedagogy: A Narrative Inquiry Exploring the Community College Student Experience. A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for the Doctor of Philosophy, Colorado State University Fort Collins, Colorado

Sastrapruek, S. (2017). Teaching and Learning Management in the 21st Century with a Reverse Classroom Model for Improve Learning and Innovation Skills service. journal Prince of Songkla University 28(1), 100-108. (in Thai).

Sirisupalak, P. (2013). Teaching Nursing Students to Develop Critical Thinking Skills. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Ratchasima, 19(2), 5-19. (in Thai).

Wiriyawit, N. (2018). Service Learning: An alternative for University Engagement. Surat Thani Rajabhat Journal, 5(1), 1-32. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-08