การพัฒนารูปแบบการคัดกรองตาม MOPH ED Triage แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในเครือข่าย โรงพยาบาลยะลา

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐิกา แซ่แต้ โรงพยาบาลยะลา
  • พัชรินทร์ นะนุ้ย โรงพยาบาลยะลา

คำสำคัญ:

แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน, รูปแบบการคัดกรอง, โรงพยาบาล เครือข่าย

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์รูปแบบการคัดกรองตาม MOPH ED Triage แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในเครือข่ายโรงพยาบาลยะลา ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน โดยศึกษาสถานการณ์การพัฒนารูปแบบการคัดกรอง พัฒนารูปแบบการคัดกรอง และประเมินผลลัพธ์รูปแบบการคัดกรองตาม MOPH ED Triage ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในที่เข้ารับรักษาแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลยะลา จำนวน 134 ราย และ บุคลากรทางพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วย จำนวน 35 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลของผู้ป่วย และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจ ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) .67 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

1. สถานการณ์การคัดกรองตาม MOPH ED Triage แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในเครือข่ายโรงพยาบาลยะลา พบประเด็นที่สำคัญจำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ 1) แนวทางในการคัดกรองผู้ป่วยไม่เป็นแบบเดียวกัน 2) การบันทึกข้อมูลไม่ครบถ้วนในผู้ป่วยระดับ 1 และ 2, 3) ปัญหาการสื่อสารกับผู้มารับบริการ และ 4) สมรรถนะของพยาบาลคัดกรอง

2. รูปแบบการคัดกรองตาม MOPH ED Triage แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในเครือข่ายโรงพยาบาลยะลาที่พัฒนาขึ้นเป็น MOPH model ประกอบด้วย 1) แนวทางในการคัดกรองผู้ป่วย (Method: M) ใช้ระบบคัดกรองตาม MOPH ED Triage 2) การใช้แบบบันทึกการคัดกรองผู้ป่วยโรงพยาบาลยะลาที่ปรับปรุงใหม่ (Originality: O) 3) การสื่อสารกับผู้มารับบริการ (Patient: P) โดยการใช้สัญลักษณ์ที่เป็นแผ่นป้ายสื่อสาร 4) มีการลงบันทึกในโปรแกรม HosXp (HosXp: H)

3. ประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบฯ พบว่า 1) คัดกรองถูกต้อง ร้อยละ 90.3 การบันทึกข้อมูลในแบบบันทึกกลุ่ม Fast track ร้อยละ 93.6 การลงข้อมูลในโปรกรม HosXp ร้อยละ 84.7 มีการคัดกรองต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 8.8จากคัดกรองระดับ 1 เป็น ระดับ 4, ร้อยละ 2.2 ส่วนความคิดเห็น/ความพึงพอใจของบุคลากรทางการพยาบาลต่อรูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก (M=3.77, SD=0.99)

ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการMOPH ED Triage แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินส่งเสริมให้มีการดำเนินการในรูปแบบของเครือขายที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในระดับจังหวัด

References

Christ, M., Goransson, F., Winter, D., Bingisser, R., & Platz, E. (2010). Modern Triage in the Emergency Department. Medicine, 107(50), 892-898.

Considine, J., Charlesworth, D., & Currey, J. (2014). Characteristics and Outcomes of Patients Requiring Rapid Response System Activation Within 24 Hours of Emergency Admission. Critical Care and Resuscitation, 3(16), 184-189.

Dehli, T., Fredriksen, K., Osbakk, S. A., & Bartnes, K. (2011). Evaluation of a University Hospital Trauma Team Activation Protocol. Scandinavian Journal of Trauma Resuscitation and Emergency Medicine, 19(18), 1-7.

Jakpaisan, S., Sithiprachrrat, J., Prampraamon, C., & Mara, N. (2016). Development of Learning Program for Knowledge and Ability Construction in Emergency Severity Triage by Adult Learning Theory for Registered Nurses in Emergency Department of Saraburi Hospital. Journal of nursing Division, 44(2), 117-140. (in Thai).

Ming, T., Lai, A., & Lau, P. (2016). Can Team Triage Improve Patient Flow in the Emergency Department A Systematic Review and Meta-Analysis. Advanced Emergency Nursing Journal, 38, 233-50.

National Institute of Emergency Medicine. (2018). Guidelines to Follow the Rules, Criteria and Procedures to Sort and Prioritize Emergency Care at the Emergency Room, According to the Emergency Medical Board. (3rd ed). Nonthaburi. (in Thai).

Pimsung, S. (2017). The Effect of A Clinical Practice Guideline On Abdominal Pain Triage In Outpatients. Community Nurse Practitioner Faculty of Nursing Thammasat University. (in Thai).

Srisa-Ard, B. (2014). Preliminary Research (9th ed). Bangkok: Suvereyasar. (in Thai).

Wachiradilok, P., Sirisamutr, T., Chaiyasit, S., & Sethasathien A. (2016). Triage at Emergency department in Thailand. The Thai journal Nusing, 31(2), 96-108. (in Thai).

Yodrak, A., Saetae, N., Siriyapan, S., & Taveetong, S. (2020). Development of an Advanced Cardiovascular Life Support (ACLS) Team Management in In-Patient Departments, Yala Hospital. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 7(1), 169-183.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-25