การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนที่พักอาศัยอยู่ใน โครงการบ้านเอื้ออาทรประชานิเวศน์ โดยทีมหมอครอบครัว ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 3 เทศบาลนครนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • มาสริน ศุกลปักษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี สถาบันพระบรมราชชนก
  • บุลลี ศรีสุวัฒนากุล ศูนย์บริการสาธารสุขที่ 3 ท่าทราย เทศบาลนครนนทบุรี
  • วรานิษฐ์ ลำใย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุจิรา ฟุ้งเฟื่อง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี สถาบันพระบรมราชชนก
  • กนิษฐา ถนัดกิจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี สถาบันพระบรมราชชนก
  • วีรวัฒน์ ทางธรรม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบกิจกรรม, การส่งเสริมสุขภาพประชาชน, โครงการบ้านเอื้ออาทร, ทีมหมอครอบครัว

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในโครงการบ้านเอื้ออาทรประชานิเวศน์ โดยทีมหมอครอบครัว แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการและปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพประชาชนที่พักอาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทร กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่พักอาศัยอยู่โครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 440 คน และผู้เกี่ยวข้องจำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในโครงการฯ จากผลการวิจัยระยะที่ 1 ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงอนุมาน ผลการวิจัย พบว่า

1. ความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง มี 3 ด้าน คือ 1) ความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ 2) ความต้องการการจัดการสิ่งแวดล้อม และ 3) ความต้องการการบริหารจัดการจากส่วนกลาง ส่วนปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพ ด้านปัจจัยนำเกี่ยวกับความรู้การดูแลสุขภาพ เจตคติต่อการดูแลสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ ปัจจัยเอื้อด้านทรัพยากรและการมีกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน และปัจจัยเสริมด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจากสื่อต่าง ๆ และการได้รับคำแนะนำการสนับสนุนให้ปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลสุขภาพจากบุคคลต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 40.68

2. รูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมี 5 แผนการจัดกิจกรรม ดังนี้ 1) เวทีประชาคมกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อสุขภาพ 2) สิ่งแวดล้อมดีชีวิตมีสุข 3) ชุมชนเข้มแข็งร่วมแรงพัฒนา 4) ชมรมสร้างเสริมสุขภาพ และ 5) คลินิกสุขภาพดี โดยมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก (M=4.40, SD=0.55)

ดังนั้น ควรส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนต้องดำเนินการให้ครบทุกแผนการจัดกิจกรรม  เพื่อสอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน

References

Bunpean, A., Chantarapon, P., & Tananusak, A. (2021). A Study of Situation and Health Needs of People in the Area of Ratiyom-District Health PromotingHospital, Sai Noi District, Nonthaburi Province. Academic Journal of Community Public Health, 7(3), 101-111. (in Thai).

Buntian, S. (2018). Development Model for Creating Healthy Public Policy in Participatory Action of Kamphaeng Phet Provincial Health Assembly. Humanities & Social Sciences, 35(2), 64-89. (in Thai).

Green, l. W., & Kreuter, M. W. (2005). Health Program Planning: An Educational and Ecological Approach. 4th ed. New York: Emily Barrosse.

Lao-on, A. (2017). Living in Condominium Community: Case Study in Government Housing Complex, Chiang Mai Province. CMU Journal of Law and Social Sciences, 10(2), 169-196. (in Thai).

Mekwimon, W. (2010). Health Care Behavior of Peoples beside in Students Applied Thai Traditional Medicine Program Practice Area. Faculty of Sciences and Technology, Suan Sunandha Rajabhat University. Retrieved January 5, 2020 from http://ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/312/1/039-53.pdf

National Housing Authority. (2021). Annual Report. Retrieved October 5, 2021 from https:// https://www.nha.co.th/information/Annual report/.

Noosorn, N. (2021). Principle of Health Promotion. Phisanulok. Naresuan University Publishing House. (in Thai).

Office of the Permanent Secretary. (2019). Primary Health System Act B.E. 2019. Bangkok: Sililuck Company Limited. (in Thai).

Pothisita, C. (2019). The Science and Art of Qualitative Research. Edition 8. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited. (in Thai).

Powwattana, A., Kalampakorn, S., Lagampan, S., & Pawiworrakul, T. (2018). Health Promotion and Disease Prevention in Community: An Application of Concepts and Theories to Practice. (Revised Edition). Chacheungsow: MN Compute Offset Company Limited. (in Thai).

Undara, W. (2019). The Study of Health Status and Health Behaviors of People in Baan Aur-Arthorn Community Bangkhen (Klong Thanon). Royal Thai Navy Medical Journal, 1(45), 121-138. (in Thai).

World Health Organization. (2009). Milestones in Health Promotion Statements from Global Conferences Geneva. Retrieved March 5, 2020 from http://www.who .int/healthpromotion/milestones.pdf?ua=1

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-07