การพัฒนาบทเรียนรายวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชโดยใช้อีเลิร์นนิง สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
คำสำคัญ:
การพัฒนา, บทเรียนอีเลิร์นนิง, รายวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ พัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง และประสิทธิผลของบทเรียนอีเลิร์นนิง ในรายวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลจิตเวช 5 คน และนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตรุ่นที่ 52 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ได้ค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 1.00 ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง ผู้วิจัยได้นำผลการวิจัยจากขั้นตอนที่ 1 และการทบทวนวรรณกรรมมายกร่างรูปแบบ ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน เพื่อพิจารณาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของบทเรียนอีเลิร์นนิง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตรุ่นที่ 52 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลา จำนวน 156 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบ ได้ค่าความเชื่อมั่นโดยสูตร KR-20 เท่ากับ .73 และแบบสอบถามความพึงพอใจหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t–test ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการณ์ของบทเรียนอีเลิร์นนิง พบว่า ประโยชน์ของการเรียน คือ สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา เลือกบทเรียนที่จะทบทวนได้ และมีช่องทางในการสื่อสารเมื่อไม่เข้าใจ ปัญหา คือ ความไม่เสถียรของสัญญาณอินเตอร์เน็ต การขาดวินัยในการเข้าเรียน และขาดสมาธิในการเรียน ส่วนข้อเสนอแนะ คือ บทเรียนควรมีวัตถุประสงค์ การลำดับเนื้อหา ลักษณะเนื้อหาควรสรุปให้เข้าใจง่าย มีการประเมินผล และการออกแบบภาพกราฟิก ตัวอักษรให้น่าสนใจ
2. บทเรียนอีเลิร์นนิงรายวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช ได้สร้างบทเรียน อีเลิร์นนิง โดยใช้กรอบแนวคิดของการออกแบบการเรียนการสอนแบบจําลอง ADDIE บทเรียนประกอบด้วยเนื้อหา 6 บท มีแบบทดสอบท้ายบท สื่อเป็นคลิปวีดีโอ และเอกสารประกอบการสอน
3. ประสิทธิผลของบทเรียนอีเลิร์นนิง พบว่า คะแนนหลังเรียน (M=32.32, SD=2.72) สูงกว่าก่อนเรียน (M=21.51, SD=3.71) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p<.001) ร้อยละ 82.69 ของกลุ่มตัวอย่างสอบผ่านการวัดความรู้รวบยอดทางการพยาบาล วิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์ของสถาบันพระบรมราชชนก รอบที่ 1 ปีการศึกษา 2563 และมีความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการทบทวนด้วยบทเรียน e-Learning อยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.82, SD=0.21)
การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า บทเรียนอีเลิรนนิงสามารถใช้ในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการสอบประมวลความรอบรู้ของสถาบันพระบรมราชชนก และการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภในปีการศึกษาต่อไป
References
Barame, J. (2008). Statistics for Health Research and Data Analysis with SPSS. Chonburi: Sri Silpa Printing.
Binhosen, V., & Namjuntra, R. (2015). A Development of E-Learning Course Ware Media of BNS 405: Elderly Nursing on Student’s Readiness for Nursing Licensing Examination School of Nursing Rangsit University. Journal of Nursing and Education, 8(4), 114-125. (in Thai)
Chamnian, M., & Chamnian, K. (2018). Benefit, Problems and Solutions of Using Online Media in Studies with Efficiency in Schools, Nakhon Si Thammarat Province. Ratchaphruek Journal, 16(3), 113-121. (in Thai)
Chen, W., & Jia, J. (2016). Comparison of Online and Onsite Students’ Learning Outcomes and Experiences in a Massively Open Online Course in China. Journal of Educational Technology Development and Exchange, 9(1), 67-88.
E-learning Association of Thailand. (2014). E-learning for Education. Retrieved Dec 19, 2021, from http://www.e-lat.or.th/joomla/index.php/Th/ home-th/80-e-learning-reports
Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.
Intarapoo, A., & Srifa, P. (2015). Evelopment of Web-B Ased Knowledge Construction System for Undergraduate Students Bachelor Degree in SuanSunandha Rajabhat University. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 7(3), 161-174. (in Thai)
Kunaviktikul, W. (2015). Teaching and Learning in the Discipline of Nursing in the 21st Century. Nursing Journal, 42(2), 152-156. (in Thai)
Mc Griff, Steven J. (2000). Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model. Instructional Design Models, 226(14), 1-2.
Office of the Education Council Ministry of Education. (2002). National Education Act B.E.1999 and Amendments (Second National Education Act B.E.2002). Retrieved Dec 19, 2021, from https://www.sl.ac.th/addons/qa/9.pdf
Patarasajjatham, P. (2016). Instructional System Design (ISD) by ADDIE Model: The Development of Metacognition of Nursing Students. Journal of Education Silpakorn University, 13(2), 6-17. (in Thai)
Puengchompoo, W., & Panuthai, S. (2014). Developing of the Learning and Teaching with E-Learning Model for Undergraduate Nursing Students in a Gerontological Nursing Course. Nursing Journal, 41(Supplement), 11-25. (in Thai)
Rouhollah, S., Maryam, B., Sayed, A. H., Elaheh, A., & Nasrin, E. (2018). Improving Nursing Students' Learning Outcomes in Fundamentals of Nursing Course Through Combination of Traditional and e-Learning Methods. Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research, 23(3), 217-222.
Salem, A. (2017). Apply of E-learning in the Teaching Process Minburi Bangkok Business Administration Technological College. A Minor Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Master of Science Degree in Information Technology, Mahanakorn University of Technology. (in Thai)
Subtanadol, T. (2011). Factors Affecting the Teaching and Learning Management of Online Lessons at Nakhon Ratchasima Rajabhat University. Veridian E-Journal SU, 4(1), 652-666. (in Thai)
Thammetar, T. (2014). e-Learning: from Theory to Practice. Bangkok: Sahamitr printing & Publishing Company. (in Thai)
Thanormchayathawat, B., Vanitsuppavong, P., & Niemted, W. (2016). 21st Century Skills: A Challenge for Student Development. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(2), 208-222. (in Thai)
Valentina, A., & Nelly, A. (2014). The Role of e-Learning, the Advantages and Disadvantages of its Adoption in Higher Education. International Journal of Education and Research, 2(12), 397-410.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้