การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดเอสทียก แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์ยะลา

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ นะนุ้ย หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์ยะลา
  • ณัฎฐิกา แซ่แต้ หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์ยะลา
  • ลลิษ อูแด หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์ยะลา

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวปฏิบัติ, การดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ เพื่อศึกษาสภาพการณ์ พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดเอสทียก ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์ยะลา ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน 1) ศึกษาสภาพการณ์ 2) พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลและนำไปใช้ 3) ประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 30 คน และผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดเอสทียก จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาคือ 1) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ แบบวัดความรู้และแบบตรวจสอบการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพตามแผนการดูแลผู้ป่วย 2) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยคือ แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดเอสทียก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการณ์การพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดเอสทียก พบความเสี่ยงที่สำคัญในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน 3 ด้าน ได้แก่ 1) คัดกรองล่าช้า 2) ระยะเวลาให้ยาละลายลิ่มเลือดนานกว่ามาตรฐาน 3) ได้รับการถ่างขยายหลอดเลือดล่าช้า

2. แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดเอสทียก ประกอบด้วย การประเมิน/คัดกรอง การให้ยาละลายลิ่มเลือด และการเตรียมผู้ป่วยถ่างขยายหลอดเลือด

3. ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดเอสทียก พบว่าผู้ป่วยได้รับการคัดกรอง (M=4.00, SD=1.51) เวลาได้รับการตรวจ EKG จนถึงรายงานแพทย์ (M=6.17, SD=2.45) เวลาได้รับยาละลายลิ่มเลือด (M=27.63, SD=3.90) เวลาได้รับการถ่างขยายหลอดเลือด (M=113.17, SD=42.05) น้อยกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001 และความพึงพอใจของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยพึงพอใจในระบบติดตามการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องมากที่สุด (M= 4.73, SD=0.44)

ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาแนวปฏิบัติ ควรมีการศึกษาต่อเนื่อง และใช้แนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งเครือข่ายเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

Akkanit, P., & Pochana, P. (2018). Development of STEMI Fast Track in Accidental and Emergency Department, Waritchaphum Hospital, SakonNakhon Province. Journal of Sakon Nakhon Hospital, 21(1), 99-112. (in Thai).

Buasri, A. (2013). Development of Clinical Nursing Practice Guideline for Acute Coronary Syndrome Elderly in Emergency Department at Chaturaphakphiman Hospital, Roi-ed Province. Master of Nursing Science (Adult and Gerontological Nursing). Faculty of Nursing Burapha University. (in Thai).

Chuaynarong, O., & Rongmuan, D. (2018). The Development of the Screening and Assessment Form for Patients with Chest or Epigastric Pain in Emergency Department at Ranong Hospital. Journal of Nursing and Health Care, 36(3), 187-196. (in Thai).

Dai, X., Busby-Whitehead, J., & Alexander, KP. (2016). Acute coronary syndrome in the older adults. Journal Geriatric Cardio, 13(2), 86-101.

Health Data Center. (2018). Strategy and Planning Division. Ministry of Public Health. Retrieved August 18, 2018, from http://www.moph.go.th

Krongthong, S., Krajaiklang, S., Surason, N., & Phromtuang, S. (2018). Development of STEMI Fast Track Service Model. Medical journal of Srisaket Surin Buriram Hospitals, 33(1), 45-60. (in Thai).

Panapoy, A., & Pleeianthaisong, B. (2018). The Development Network of ST Elevated Acute Myocardial Infarction Nursing Care in Buriram Hospital. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospitals, 33(2), 145-163. (in Thai).

Pornchensuanpong, C., Kamwatchanang, C., & Boonchoo K. (2015). Effects of Clinical Practice Guidelines for ST Elevate Myocardial Infarction Patients in Emergency Department, Nakhonnayok Hospital. The journal of Faculty of Nursing Burapha University, 23(3), 99-111. (in Thai)

Soyprasert, J., Rattanaprom, A., & Borvornsudhasin, P. (2017). Development of Caring System for ST Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) Patients Undergoing Thrombolytic Agents in Cardiac Network Suratthani Province. Reg 11 Med Journal, 31(3), 495-506. (in Thai).

Tungman, J. (2012) .The Development of a Clinical Nursing Practice Guideline for the Assessment of Chestpain Patients Suspected of Having Acute Coronary Syndromes. Journal of Phrapokklao Nursing College, 23(2), 40-52. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31