พัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
คำสำคัญ:
พัฒนารูปแบบ, การดูแลต่อเนื่อง, ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และประเมินผลลัพธ์ ดำเนินวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบและ 3) ผลลัพธ์พัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ภาคีเครือข่าย ผู้ดูแล จำนวน 50 คน และ ผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ดูแล จำนวน 60 คู่ ได้รูปแบบการพัฒนา โคกโพธิ์โมเดล เป็นรูปแบบการดูแลต่อเนื่องของทีมพยาบาลแบบ PDCA ซึ่งประกอบด้วยการดูแลผู้ป่วยร่วมกับเครือข่ายโคกโพธิ์ มีการปฎิบัติดูแลอย่างต่อเนื่องการวางแผนจำหน่าย การติดตามนัด และการส่งต่อ เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง 2) แบบประเมินความพึงพอใจของทีมพัฒนา 3) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และ 4) แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่บ้าน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ระหว่าง .80 -.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. สถานการณ์การดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พบว่า ผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มจำนวนมากขึ้นในแต่ละปี เนื่องจากขาดระบบการดูแลที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันทั้งในและนอกสถานบริการและ ญาติยังไม่มีความมั่นใจหรือพร่องความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
2. รูปแบบการพัฒนา 4 ประเด็นตาม KP-PHO Model ดังนี้ 1) แนวปฏิบัติการดูแลต่อเนื่องแบบบูรณาการ 2) แบบฟอร์มวางแผนจำหน่าย 3) แบบฟอร์มนัดและการส่งต่อและ 4) คู่มือการดูแลสุขภาพที่บ้าน
3. หลังการใช้รูปแบบ พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของทีมอยู่ในระดับพึงพอใจ (M=3.56, SD=0.76) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูสุขภาพที่บ้านอยู่ในระดับดี (M=2.56, SD=0.52) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันก่อนและหลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-5.12, p<.05)
ผลการศึกษานี้จึงสรุปได้ว่า การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงส่งผล ผู้ป่วยและญาติสามารถดูแลที่บ้านได้ เจ้าหน้าที่ใช้แบบฟอร์มได้ง่ายและมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฟอร์มในการพัฒนา และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยดีขึ้น
References
Arttaros, T., & Apai, J. (2011). Continuing Model Communicable disease in Child. Journal Thailand Nursing and Midwifery Council, 26(Special), 112-125. (In Thai).
Boonleart, P., Promarak, T., &Taewpea, S. (2016). Continuous Care Model Development for Disability Elders in Bandongmone Health Promotion Hospital Tumbon Singkok Aumphur Kasetwisai Roi-Et Province. Journal of the office of DPC 7 Khonkaen, 23(2), 79-87. (In Thai).
Ciccone, A., Celani, M. G., Chiaramonte, R., Rossi, C., & Righetti, E. (2013). Continuous Versus. Intermittent Physiological Monitoring for Acute Stroke 2013: Intervention Review.
Department of Medical Service Ministry of Public Health. (2014). Screening Guide/Assess the Elderly. Edition 1. Bangkok: Tahan Pansuak Printing House. (In Thai)
Goncalve-Bradley, D. C., Iliff, S., Doll, H. D., Broad, J., Gladman, J., Langhorne, P., Richards, S. H., & Shepperd, S. (2017). Early Discharge Hospital at Home: Cochrane Systematic Reviview.
Khokpho District. (2017). Population Elder Year 2017. Khokpho District, Pattani Province.
Khokpho Hospital (2017). Key Performance Indicator. Khokpho Hospital.
Nakgul, N. (2018). The Development of a Care Model for Home-Bound and Bed-Bound Chronically ill Patients in Suratthani Municipality. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 1(7), 36-50. (In Thai).
National Health Security Office (NHSO). (2016). Guide Support National Health Longterm Care Edition 1. (In Thai).
National Statistical Office. (2017). Survey Economicand Social. Bangkok: National Statistical Office. (In Thai).
Nursing Division. (2014). Criteria Home Health Care. Edition 1. Bangkok: Choomnoomshakornkankaset Print House. (In Thai).
Office of the National Economic and Social Development Council (2016). Estimate Thai Population Year 2543-2573. (In Thai)
Pischalad K., & Mulpanun K. (2016). Improvement of a Continuing Care Model in Child. Nursing Journal, 40(3), 96-108. (In Thai).
Srisaad, B. (2013). Basic Research New Update. Edition 9. Bangkok: Suviriya Print. (In Thai).
Tapasi, W., Danpradit, P., & Ratnawijit, S. (2017). Health Care Service Model for Elderly by Community Participation, Wangtagoo Subdistrict, Nakhon Pathom Province. Kuakarun Journal of Nursing, 24(1), 42-54. (In Thai).
Wicha, S. (2017). Development a Health Service Network for Elderly People in Home-Bound and Home-Bed in Hongha. Health Promotion Hospital. (In Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้