ผลของโปรแกรมนันทนาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญ และฟันฝ่าอุปสรรคของนิสิตวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • ชวพงษ์ เมธีธรรมวัฒน์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภาคภูมิ รัตนโรจนากุล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สราวุธ ชัยวิชิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อมลวรรณ วีระธรรมโม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

โปรแกรมนันทนาการ, ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค, นิสิตวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมนันทนาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนิสิตวิชาชีพครู และ 2) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมนันทนาการ ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 พัฒนาโปรแกรมนันทนาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนิสิตวิชาชีพครูโดยศึกษาความต้องการจากนิสิตวิชาชีพครู จำนวน 260 คน และนำผลมาพัฒนาโปรแกรมนันทนาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนิสิตวิชาชีพครู ระยะที่ 2 ศึกษาผลการใช้โปรแกรมนันทนาการ จากกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความต้องการกิจกรรมนันทนาการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .90 และแบบประเมินความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. โปรแกรมนันทนาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนิสิตวิชาชีพครู พบว่า 1) ความต้องการกิจกรรมนันทนาการของนิสิตวิชาชีพครู 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) ดนตรีและร้องเพลง 2) เกมและกีฬา และ 3) ละครและภาพยนตร์ ตามลำดับ โดยโปรแกรมนันทนาการที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การควบคุม การมองหาสาเหตุ ความรับผิดชอบ ความเข้าใจ และความอดทน ลักษณะกิจกรรมในโปรแกรม ประกอบด้วย กิจกรรมเดี่ยว กิจกรรมคู่ และกิจกรรมกลุ่ม เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ชั่วโมง

2. หลังใช้การใช้โปรแกรมนิสิตมีความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=0.77, P<.001) โดยมีความสามารถในด้านความอดทนและความเข้าใจสูงกว่าด้านอื่น (M=3.45, SD=0.20; M=3.39, SD=0.25) ตามลำดับ

โปรแกรมนันทนาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนิสิตวิชาชีพครูที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาวิชาชีพครู

References

Austin, D. R. (2013). Therapeutic Recreation Processes & Techniques: Evidenced-Based Recreational Therapy (7th ed). Illinois: Sagamore Publishing.

Bhatti, A. M., Majit, M., Anwar, S. M., & Khan, B. (2016). Human Emotion Recoqnition and Analysis in Response to Audio Music Using Brain Signal. Computers in Human Behavior, 65, 267-275.

Delaney, H. (2019). Education for the 21st Century. Retrieved June 12, 2019 from https://www.unicef.org/thailand/th/stories/

Edginton, C. R., Hudsun, S. D., & Scholl, K. G. (1995). Leisure and Life Satisfaction. Lowa: Brown and Benchmark.

Edginton, C. R., Hudsun, S. D., & Scholl, K. G. (2002). Leisure and Life Satisfaction: Foundational Perspectives Dubuque. Iowa: McGraw-Hill.

Hurd, A. P., & Anderson, D. M. (2011). The Park and Recreation Professional Handbook. Illinois: Human Kinetic.

Khamplew, J. (2018). Relationships Between Attitude and Behavior Towards Recreation Among Student at Rajamangala University of Technology Krungthep. Presented in Partial Fulfillment of Requirements for the Master of Arts Degree in Sport and Leisure Management at Srinakharinwirot University. (in Thai).

Modthond, K., Tanpichai, P., & Sajjasoporn, R. (2019) Factors Affecting Adversity Quotient of Undergraduate Students in Kasetsart University Kampheang Saen Campus, Nakhonpathom Province. Journal for Social Sciences Research, 10(2), 18-33. (in Thai).

Office of the Education Council. (2009). A Cognitive Study on Desirable Characteristics of Thai People: The Ability to Face and Overcome Obstacles (Adversity Quotient: AQ). Bangkok: (in Thai)

Polsorn, K. (2018). Effects of a Recreation Program for Improvement of Adversity Quotient of Hearing Impaired Students, Liberal Arts Journal Prince of Songkla University, 10(2), 333-359. (in Thai).

Rossman, J. R., & Schlatter, B. E. (2008). Recreation Programming: Designing Leisure Experiences. Illinois: Sagamore.

Shinawatra, T. (2019). IQ EQ is Not Enough, Must have AQ. Retrieved June 12, 2019 from https://www.thaksinofficial.com/good-monday/iq-eq-aq/

Stoltz, P. G. (2000). Adversity Quotient @ Work: Make Everyday Challenges the Key to Your Success. New York: Harper Collins.

Sungthong, M., Tangon, K., & Kluanuan, P. (2013). The Factors Related to Adversity Quotient of Students in Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi, Journal of Association of Research, 18(1), 97-108. (in Thai)

Tangsujjapoj, S. (2021). Organization of Physical Activities for Recreation in Educational

Institutions. Retrieved July 05, 2021 from http://ped.edu.ku.ac.th/home/research

/data/29_08_2015_21_16_24.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-26