ทัศนคติและพฤติกรรมต่อความหลากหลายทางเพศ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
คำสำคัญ:
ความหลายหลายทางเพศ, ทัศนคติ, นักศึกษามหาวิทยาลัย, ความเท่าเทียมทางเพศ, ลำปางบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อความหลากหลายทางเพศและความเท่าเทียมทางเพศ พฤติกรรมต่อความหลากหลายทางเพศ และหาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศกับพฤติกรรมต่อความหลากหลายทางเพศ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 392 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ทัศนคติที่มีต่อความหลากหลายทางเพศ 3) พฤติกรรมที่มีต่อความหลากหลายทางเพศ และส่วนที่ 4) ทัศนคติต่อความเท่าเทียมทางเพศ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .74, .88 และ .76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อความหลากหลายทางเพศในระดับมาก (M=35.69, SD=5.57) มีทัศนคติเห็นด้วยต่อความเท่าเทียมทางเพศในระดับมาก (M=34.56, SD=4.89) และพฤติกรรมต่อความหลากหลายทางเพศในระดับปานกลาง (M=32.84, SD=5.50)
2. อายุ ชั้นปี รายได้ ลักษณะการพักอาศัย อัตลักษณ์ทางเพศ การมีเพศสัมพันธ์ใน 1 เดือนที่ผ่านมามีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติกับความหลากหลายทางเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ ทัศนคติต่อความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมต่อความหลากหลายทางเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ .5 (rs=0.17, 0.18)
มหาวิทยาลัยควรมีนโยบายในการส่งเสริมการยอมรับกลุ่มนักศึกษาที่มีความหลากหลายทางเพศ ด้านสิทธิและความเท่าเทียมเพิ่มมากขึ้น ยอมรับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ควรมีสื่อเกี่ยวกับการรณรงค์ให้ความรู้ในเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับรสนิยมทางเพศของนักศึกษาอย่างปลอดภัย เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปกติสุข
References
Champhol, A. & Navachinda, A. (1991). “Proceedings of the 29th Kasetsart University Annual Conference: Environment, Science, Agro-Industry, Home Economics, Engineering, Economics, Social Sciences, Humanitics and Education” Social Environment and Early Adolescences’ Quality of Life. (pp.533-543). Bangkok: Kasetsart University/Ministry of Agriculture and Cooperatives/ Ministry of Science and Technology. (in Thai)
Drescher, J. (2015). Out of DSM: Depathologizing Homosexuality. Behavioral Sciences, 5(4), 565-575. doi: 10.3390/bs5040565
Duangwises, N. (2020). The Concept of Gender and Sexual Diversity in Sciences and Social Sciences Paradigms. Academic Journal of Humanities and Social Sciences Burapha University, 28(3), 312-333. (in Thai)
Holland, L., Matthews, T. & Schott, M. (2013). That's So Gay!” Exploring College Students Attitudes Toward the LGBT Population. Journal of Homosexuality, 60(4), 575-595.
Kanhachan, W., Chapanya, Y. & Nuansing, T. (2010). Initial Research. The Relationship Between Instructional Leadership of Teachers and Student Quality in Schools under Roi-Et Primary Educational Service Area Office 2. Journal of Roi Et Rajabhat University, 12(1), 194-201. (in Thai)
Krisri, T. & Patmanee, P. (2019). Organizational Climate and Job Satisfaction of Office Workers with Various Gender Identities in Bangkok Metropolitan Region. Journal of Business Administration and Social Sciences Ramkhamhaeng University, 2(3), 74-80. (in Thai)
LGBT Capital. (2019). Deploying the Power of LGBT Household Wealth. Retrieved May 8, 2021 from http://www.lgbt-capital.com/
Office of the National Human Rights Commission of Thailand. (2014). Universal Declaration of Human Rights. Bangkok: Amnesty international Thailand. (in Thai)
Phumsawan, R. (2001). Value in Sexual Behavior of Undergraduate Students at King Mongkuuts Institute of Technology Ladkrabang [Master Thesis]. Bangkok: Srinakharinwirot University. (in Thai)
Rungreangkulkij, S., Kotnara, I., Kaewjanta, N. & Kabkumba, C. (2017). University Students’ Attitude Towards Gender in Thai Society. J. of Soc Sci & Hum, 43(2), 84-114. (in Thai)
Saengmaneejeeranandacha, T. & Politics, A. (2019). Equality of the LGBT to Marriage and Child Legalization in Thailand: in the Viewpoint of Scholars and Social Activist. Journal of Humanities and Social Sciences, 5(2), 4-6. (in Thai)
Saranonmeteekul, S., Wanngam, N., & Prarawong, S. (2012). The Comparison of Sexual Value and Factors Related between Students School of Health Science and Faculty of Management Science in Chiang Rai Rajabhat University. KKU Journal for Public Health Research, 5(1), 91-101. (in Thai)
Srisot, M. & Isarabhakdi, P. (2016). Acceptance of Premarital Sex of Thai People. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Humanities and Social Sciences), 11(2), 137-144. (in Thai)
Subhanetto, K., Varinto, W. & Panyarattanakorn. (2020). Homosexuality: An Analysis Based on Buddhist Ethics Guidelines. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 3(1), 92-103. (in Thai)
Thaweesit, S. (2007). Women, Men and Sexuality: Gender Studies in Anthropology. Journal of Social Sciences and Humanities, 19(1), 312-349. (in Thai)
United Nations Development Programme. (2014). Being LGBT in Asia: Thailand Country Report. Bangkok. (in Thai)
Visesprapa, P., Wongbangpo, P., Niyomsin, S. & Krisri, T. (2020). Exploratory Factor Analysis of Organizational Climate of Office Workers with Various Gender Identities in Bangkok and Metropolis Region. Journal of Management Science Udon Thani Rajabhat University, 2(3), 1-6. (in Thai)
Wijitwatchararak, K., Panyaruno, A. & Santirungroj, S. (2019). Social Movement of a Group of Sexual Diversity in Thailand. Journal of MCU Nakhondhat, 6(8), 3759-3771. (in Thai)
Woodford, M., Silverschanz P., Scherrer K., Swank, E. & Raiz L. (2012). Predictors of Heterosexual College Students’ Attitudes Toward LGBT People. Journal of LGBT Youth, 9(4), 297-320. (in Thai)
Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้