ประสบการณ์ของผู้ปกครองในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไตเนโฟรติก

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ ช่วยแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
  • อัศรีย์ พิชัยรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
  • สร้อยสุวรรณ พลสังข์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง

คำสำคัญ:

ประสบการณ์การดูแล, ผู้ปกครองเด็ก, โรคไตเนโฟรติก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของผู้ปกครองในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไตเนโฟรติก ตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของฮัสเซิล (Husserl) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ บิดา มารดาหรือปู่ย่า ตายายของผู้ป่วยเด็กโรคไตเนโฟรติก ที่มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไตเนโฟรติกระหว่างการรับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 15 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์เป็นแนวคำถามกึ่งโครงสร้าง เป็นคำถามปลายเปิดมีความยืดหยุ่น ลักษณะของข้อคำถามมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านในการตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม จากนั้นปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้วิจัยจัดพิมพ์แบบสัมภาษณ์ และนำใปใช้จริงเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการบันทึกเทป ประมาณ 50 นาทีต่อคน นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ โคไลซี่ (Colaizzi) ผลการวิจัยพบว่า

ประสบการณ์ของผู้ปกครองในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไตเนโฟรติกสามารถสรุปได้ทั้งหมด 6 ประเด็น ได้แก่ 1) พฤติกรรมการดูแลของผู้ปกครอง 2) ให้ความสำคัญกับการรับรู้ของผู้ปกครองต่อการเจ็บป่วย 3) ช่วยเหลือและให้ข้อมูลย้อนกลับในพฤติกรรมการดูแลเพื่อแก้ปัญหา 4) เพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ปกครองว่าจะสู้กับโรคนี้ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ 5) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ปกครองและผู้ป่วย 6 ) ปัญหาและอุปสรรคที่พบของผู้ปกครอง

ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจการรับรู้ประสบการณ์ของผู้ปกครองในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไตเนโฟรติก ซึ่งบุคลากรทีมสุขภาพสามารถนำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดูแลเด็กโรคไตเนโฟรติกแบบองค์รวมเพื่อตอบสนองความต้องการของครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

Colaizzi, P. F. (1978). Psychological Research as the Phenomenologist Views it. (pp. 48-71). Oxford: London.

Dangskul, S., Lamchang, S., & Kantawang, S. (2015). Factors Influencing Eating Behaviors among Adolescents with Nephrotic Syndrome. Journal of Nursing, 42(2), 62-71. (In Thai)

Husserl, E. (1965). Phenomenology and the Crisis of Philosophy. New York: Harper & Row.

Kasiphol, T., Chunhathititham, P., Prasertsong, C., Jaroenjitkul, C., Nansunanon, S., & Jarutatsanangkoon, A. (2020). Primary Caregivers’ Experiences of Families with Schizophrenia Patients. Thai Red Cross Nursing Journal, 13(1), 102–128. (In Thai)

Knafl, K., Deatrick, J., Gallo, A., Dixon, J., Grey, M., Knafl, G. et al. (2011). Assessment of the psychometric properties of the Family Management Measure. Journal of Pediatric Psychology, 36(5), 495-505.

Lincoln, Y. S., & Guba E. G. (1985). Naturalistic Inquiry. Newbury Park: SAGE.

Montagnino, B. A. & Ring, P. A. (2009). The Child with Genitourinary Dysfunction. In M. J. Hockenberry, & D. Wilson (Eds), Wong’s Essentials of Pediatric Nursing (8th ed.) (pp. 949-973). St. Louis: Mosby.

Musiksukhon, S. (2012). Children's Nursing Textbook. (2 nd ed.). Bangkok: Pre One. (In Thai)

Sangmanee, R., & Phibal, A. (2017). Experience of Using Local Wisdom for Self-Care among Patient with Hypertension in the Three Southern Border Provinces. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3), 76-86. (In Thai)

Sawasdee, P., Wicha, S., Rattayawara, P., Yuwasirikunchai, P., & Kulsavet, S. (2020). The Self – Management Experiences of Older Persons with Depression. Journal of Nursing, Public Health, and Education, 21(3), 43-53. (In Thai)

Singdong, P., & Jitpanya, C. (2012). Relatives’ Experiences in Intensive Care Units: A Qualitative Study. Ramathibodi Nursing Journal, 18(3), 404-417. (In Thai)

Siriboonphiphatana, P. (2012). Pediatric Nursing. (2nd ed.). Nonthaburi: Royal Institute of Thailand Ministry of Public Health. (In Thai)

Thai Nephrology Nurse Society. (2020). Nursing Management for Renal Care Base on Knowledge & Education. Retrieved October 30, 2020 from https://www.tnnsnurse.org. (In Thai)

Uamtani, A. (2016). Qualitative Research in Nursing (3rd ed). Bangkok: Printing House Chulalongkorn University Printing. (In Thai)

Watthanachai, P., & Tirapaiwong, Y. (2019). Family Management: Concept and Implementation Guidelines to Help Families of Children with Chronic Illness. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 7(2), 12-23. (In Thai)

Yakasem, P., & Chaiyasung, P. (2014). Experiences in Becoming a Teenage Mother. Journal of Health Science Research, 8(1), 28-34. (In Thai)

Yamsoay, A. (2020). Nursing Care for Children with Health Problems. Chiangmai: Smart Coating and Service Company Limited Printing. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-09