การพัฒนานวัตกรรมหุ่นฝึกการให้สารน้ำบริเวณแขน

ผู้แต่ง

  • ธารินี นนทพุทธ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • ปฐมามาศ โชติบัณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, หุ่นฝึกการให้สารน้ำบริเวณแขน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาหุ่นฝึกการให้สารน้ำบริเวณแขน และศึกษาประสิทธิผลของหุ่นฝึกการให้สารน้ำบริเวณแขน ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการหุ่นเพื่อใช้ในการฝึกให้สารน้ำบริเวณแขน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและพัฒนาหุ่นฝึก ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ ศึกษาแนวคิด ทบทวนวรรณกรรม สร้างชุดหุ่นฝึก ทดลองใช้ และปรับปรุงหุ่นฝึก ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของหุ่นฝึก  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 78 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามประสิทธิผลของหุ่นฝึกการให้สารน้ำบริเวณแขน ได้ค่า IOC ระหว่าง .67-1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .935 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon Sign Ranks test ผลวิจัยพบว่า

1. หุ่นฝึกการให้สารน้ำบริเวณแขน ประกอบด้วย หุ่นแขน 1 ชุด และระบบจ่ายเลือดเทียม ผลิตจากยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ มีลักษณะคล้ายซองแขน ตั้งแต่ปลายนิ้วถึงข้อศอก ซองแขนมี 2 ชั้น คือ แกนด้านในที่มีหลอดเลือดดำเทียมติดตั้งอยู่ และซองหุ้มด้านนอก โดยหุ่นสามารถใช้สวมกับแขนคนจริงได้ เพื่อทำการฝึกหัตถการ สำหรับหลอดเลือดเทียมของหุ่นสามารถเชื่อมต่อระบบเลือดเทียมได้ ทั้งนี้หลอดเลือดเทียมที่ชำรุดจากการใช้งาน สามารถถอดเปลี่ยนใหม่ได้

2. คุณภาพหุ่น ความพึงพอใจ และความมั่นใจของนักศึกษาพยาบาลที่ใช้หุ่นฝึกการให้สารน้ำบริเวณแขน มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าหุ่นเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p<.001)

ดังนั้นวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลาจึงควรนำหุ่นฝึกการให้สารน้ำบริเวณแขน ไปให้นักศึกษาพยาบาล ฝึกปฏิบัติทั้งในห้องปฏิบัติการพยาบาลและนำกลับไปฝึกที่หอพักด้วยตนเอง ก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานจริงบนหอผู้ป่วย เพื่อสร้างความมั่นใจและความถูกต้องในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำบริเวณแขน

References

Bannaasan, B. (2017). Portable Adult Arm Model for Nursing Students’ Venipuncture and Peripheral Intravenous Cannulation Practice. Thai Journal of Nursing Council, 32(3), 38-49. (In Thai)

Choeychom, S., & Rujiwatthanakorn, D. (2015). The Use of Manikin Innovation in the Training of Aqueous Solution in the Veins of Nursing Students. Ramathibodi nursing journal, 21(3), 395-407. (In Thai)

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E., (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). NJ: Prentice Hall.

Kunavikikul, W. (2015). Teaching and Learning in the Discipline of Nursing in the 21st Century. Nursing Journal, 42(2), 152-156. (In Thai)

Lertlum, L., Tanasansutee, Ch., Panawatthanapisuit, S., & Bumrungsri, Ch. (2019). Development of a Simulation-Based Learning Model. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 6(Special), 43-58. (In Thai)

Wadyim, N., Wangchom, S., & Mano, A. (2017). Teaching And Learning Management In Nursing Using Electronic Learning. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 33(3), 146-157. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31