การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อเสริมสร้างความไวทางจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี

ผู้แต่ง

  • อรอนงค์ รองสวัสดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พนัสยา วรรณวิไล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปฐมามาศ โชติบัณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จีระภา นะแส วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อริสา จิตต์วิบูลย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อรทัย แก้วมหากาฬ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน, แนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ความไวทางเชิงจริยธรรม, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงเพื่อเสริมสร้างความไวต่อปัญหาเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล ประกอบด้วย 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาสถานการณ์การจัดการเรียนการสอนในการปฏิบัติทางการพยาบาลด้านความไวทางจริยธรรม อาจารย์นิเทศจำนวน 19 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงเพื่อเสริมสร้างความไวทางจริยธรรม ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงเพื่อเสริมสร้างความไวทางจริยธรรมและประเมินความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 54 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่นักวิจัยพัฒนาขึ้นและแบบสอบถามปัญหาสถานการณ์ แบบประเมินความไวทางจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล แบบประเมินความคิดเห็นต่อรูปแบบ โดยแบบประเมินความไวทางจริยธรรม ได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรงทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ .85 ความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .94 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และการจัดกลุ่มคำ หาข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัญหาการจัดการเรียนการสอนในการปฏิบัติทางการพยาบาลด้านความไวทางจริยธรรม ได้แก่ 1) นักศึกษาพยาบาลนำทฤษฎีจริยธรรมสู่การปฏิบัติการพยาบาลได้ไม่ครอบคลุม 2) ขาดรูปแบบการเรียนการสอนในการสอดแทรกประเด็นจริยธรรมทางการพยาบาล และ 3) นักศึกษาพยาบาลมีรับรู้ปัญหาทางจริยธรรมแตกต่างกันและค่อนข้างช้า

2. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ได้แก่ 1) Ethics Conference (ประชุมปรึกษาทางจริยธรรม) 2) Ethics Round (ตรวจเยี่ยมทางด้านจริยธรรม) และ 3) Ethics Report (รายงานวิเคราะห์ประเด็นทางจริยธรรม)

3. ความไวทางจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลเพิ่มขึ้นก่อนการพัฒนารูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t= 4.63, p=.001) ผลการประเมินความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง พบว่ามีประโยชน์มากในด้านการลดความเสี่ยงและป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น การลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน การตระหนักรู้ถึงสิทธิของผู้ป่วยและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการรับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงเพื่อเสริมสร้างความไวของนักศึกษาพยาบาลที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริงและมีประโยชน์ต่อนักศึกษาพยาบาล

References

Akca, N, K., Simsek, N., Arslan, D, E., Senturk, S & Akca, D. (2017). Moral Sensitivity among Senior Nursing Students in Turkey. International Journal of Caring Sciences. 10(2), 1031-1039.

Boonmee, P., & Yana, B. (2007). Ethical Decision Making among Nursing Students at Boromrajonani College of Nursing, Phayao. Nursing Public Health and Education Journal. 35-42.

Boonsin, S., Rachawat, P., & Preungdej, S. (2015). Ethical Attitude of Nursing Students in Nursing Colleges Under the Jurisdiction of the Praboromarajchanok Institute. The Ministry of Public Health. Journal of Boromarajonani College of Nursing, 31(1), 50-60.

Boonyamanee, B. (2014). Development and Psychometric Evaluation of the Moral Sensitivity Scale for Thai Psychiatric Nurses. (Doctor of Philosophy in Nursing, Prince of Songkla University).

Crabtree, B. F., & Miler. W. L. (1992). Doing Qualitative Research. London: SAGE Publications.

Dupuis, J., & Ludwig-Palit, D. (2016). Simulation for Authentic Learning in Informal Education. J Mus Educ, 41(2), 1-12. doi: 10.1080/10598650.2016.1169730

Indhraratana, A. (2014). Ethical Sensitivity: Concept and Application for Teaching in Nursing. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(2), 141-147.

Jormsri, P., & Sripusanapan, A. (2005). Psychometri Evaluation of Moral Competence Scale in Nursing Practice among Nursing Students. Thai Journal of Nursing Council, 20(3), 1-18.

Keadthong, W., & Sueamak, W. (2017). Development of Moral Thinking and Ethical Behavior of Nursing Students to Have Good Moral Character. Journal of Public Health Nursing, 31(2), 257-271.

Kraaijeveld, M. I., Schilderman, J., & Leeuwen, E. V. (2020). Moral Sensitivity Revisited. Nursing Ethics. 1-11. doi: 10.1177/0969733020930407

Lee, E., & Kim, Y. (2020). The Relationship of Moral Sensitivity and Patient Safety Attitudes with Nursing Students’ Perceptions of Disclosure of Patient Safty Incidents: A Cross - Sectional Study. PLoS ONE, 15(1). 1-14.

Lutzen, k., Dahlqvist, V., Eriksson, S., & Norberg, A. (2006). Developing The Concept Of Moral Sensitivity In Health Care Practice. Nursing Ethics, 13(2), 187-196.

Maneesakorm Von Bomann, S., Opasawatchai, S., & Santwanpas, N. (2016). Effects of Authentic Learning Style on Data Analysis Skills and Satisfaction of 3rd Year Nursing Students. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 25(3), 93-107.

Prompahakul, C., & Nilmanat, K. (2017). Moral Competence in Nursing Practice amongst Nursing Students at Prince of Songkla University. Thai Journal of Nursing Concil, 32(4), 67-78.

Pultim, D., Prutipinyo, C., Sirichotiratana, N., & Kerdmongkol, P. (2016). Ethical Behavior of The Nursing Profession: A Tertiary Hospital. Public Health & Laws Journal, 2(1), 1-13.

Punthasee, P., & Bunyakul, J. (2017). Factors Affecting Ethical and Legal Behaviors in the Clinical Nursing, Huachiew Chalermprakiet University. Thai Red Cross Nursing Journal, 10(1), 81-94.

Rahnama, F., Hamooleh, M, M., & Kouhnavard, M. (2017). Correlation Between Moral Sensitivity and Self-Esteem in Nursing Personnel. Journal of Medical Ethics and History of Medicine, 10(6), 1-8

Rongsawat, O., Chaowalit, A., Nasae, T., & Wood, M. (2018). Moral Problems and Moral Courage in Nursing Practice of Nursing Students in Nursing Colleges, Southern Thailand: Critical Incident Technique. Songklanagarind Journal of Nursing, 38(2), 116-126.

Rongsawat, O., Trapsinsaree, D., & Leecharoen, P. (2020). Moral Courage in Nursing. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 7(3), 39-46.

Sirilai, S. (2012). Ethical Paradigm Shift of Nureses Globalized Era. EAU Heritage Journal, 6(2), 1-9.

Spekkink, A., & Jacobs, G. (2020). The Development of Moral Sensitivity of Nursing Students: A Scoping Review. Nursing Ethics, 1-18. doi: 10.1177/0969733020972450

Thepnimit, S., Untaja, P., & Kanglee, K. (2018). Moral Development in Nursing Profession. Journal of The Royal Thai Army Nurese, 19(2), 136-142.

Waisurasing, L., & Noparoojjinda, S. (2011). The Development of Instructional Model Using Authentic Learning Approach to Enhance Achievement and Critical Thinking Ability of Nursing Students, Boromarajajonani College of Nursing, Suphanburi. Journal of Nursing and Education, 4(3), 63-77.

Wannapornsiri, C. (2009). Qualitive Research and Nursing. Jounal of Nursing Science Naresuan University, 3(1), 1-7.

Wicha, S. (2020). Nursing Students’ Perception of Ethical Dilemmas in the Ward. Journal of Health Sciences Scholarship, 7(2), 131-145.

Yeom, H., Ahn, S., & Kim, S. (2016). Effects of Ethics Education on Moral Sensitivity of Nursing Students. Nursing Ethics, 24(6), 644-652. doi: 10.1177/0969733015622060

Yuenyong, N. (2009). Ethical Behavior of Professional Nurses. Pathumthani University Academic Journal, 1(1), 110-123.

Zande, M. V. D., Baart, A., & Vosman, F. (2014). Ethical Sensitivity in Practice: Finding Tacit Moral Knowing. Journal of Advanced Nursing, 70(1), 68-67. doi: 10.1111/jan.12154

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-27