ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และการรับรู้กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ (New Normal) เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
คำสำคัญ:
ความรู้, การรับรับรู้, พฤติกรรมป้องกันโรคโควิด-19, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ การรับรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 พฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ (New Normal) เพื่อการป้องกันโรคโควิด-19 และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และการรับรู้ต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการโรคโควิด-19 ในนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 197 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 3) การรับรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 และ 4) พฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ เพื่อการป้องกันโรคโควิด-19 ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่า IOC ระหว่าง .67–1.00 โดยวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้านความรู้ โดยใช้สูตร KR-20 ได้ค่าเท่ากับ .80 และวิเคราะห์ค่าอัลฟ่าครอนบาช ของด้านการรับรู้เท่ากับ .92 และด้านพฤติกรรมการปฏิบัติเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
1. ความรู้ และการรับรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=0.94, SD=0.12) ระดับมากที่สุด (M=4.37, SD=0.47) ตามลำดับ
2. พฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ (New Normal) เพื่อการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=1.64, SD=0.33)
3. ความรู้ การรับรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ (New Normal) เพื่อการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มนักศึกษาพยาบาล นักศึกษาอื่นๆ และผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระตุ้นให้นักศึกษาใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ รวมทั้งการศึกษาถึงปัจจัยอื่นกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ต่อไป
References
Best, W. J. (1978). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Boonmee, P., Mahamit, S., & Kawila, T. (2018) Knowledge, Perception, and Awareness of RiskManagement and Patient Safety Towards Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing, Phayao. Journal of Nursing and Education, 11(3), 112-124.
Bunthan, W., Whaikit, P., Soysang, V., Soynahk, C., Akaratanapol, P., & Kompayak, J. (2020). Factor Influencing to Health Promotion Behavior For Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Prevention Of Older Adults. Journal of The Police Nurses, 12(2), 323-337.
Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2020). COVID-19 Report. November 29, from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/news.php (in Thai)
Department of Health. (2020). A Practical Guide for Schools to Prevent the Spread of COVID-19. Author. (In Thai)
Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.
Kaewsuksai, R., Kongkun, P., Tongkoop, B., Waedueramae, R., Samael, L., Chaiprasit, et al. (2020). Knowledge and Perceived for New Normal Related Behaviors for the Prevention of Coronavirus Infection (COVID-19) of People in Narathiwat Province. (Research report, Faculty of Nursing, Princess of Naradhiwas), p. 49-60.
Kittinaraporn, J (2020). Media Uses and the Adaption to the New Normal Healthcare Practices during the Corona Virus (Covid-19) Pandemic: A case of Pathum Thani Province’s Citizens. Rangsit Journal of Arts and Sciences, 25(1), 15-34.
National Broadcasting and Telecommunication Commission. (2020). Request for Cooperation with Radio and Television Broadcasting Licensee Broadcasting of the Press Conference of the Coronavirus Disease Situation Management Center 2019. Retrieved January 21, 2021, From https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/914136/
Nawsuwan, K., Singweratham, N., & Damsangsawas, N. (2020). Correlation of Perception Disease Severity to Implementation Role for Control of COVID-19 in Communities among Village Health Volunteers in Thailand. J Bamrasnaradura Infect Dis Inst, 14(2), 92-103.
Powwattana, A., Kalampakorn, S., Lagampan S. & Rawiworrakul. (2018). Health Promotion and Disease Prevention in Community: An Application of Concepts and Theories to Practice (Revised edition). Chachoengsao: M N COMPUTE OFFSET CO., LTD. (in Thai)
Singweratham, N., Thaopan, W. W., Nawsuwan, K., Pohboon, C., & Surirak, S. (2020). Perception and Preventive Behaviors on the Coronavirus Disease-2019 (COVID-19) among Dental Nurses under the Ministry of Public Health. J Bamrasnaradura Infect Dis Inst, 14(2), 104-115.
Thai Health Promotion Foundation. (2020). New Way of Life Guide Life Begins with Us. Retrieved August 20, 2020 from https://www.thaihealth.or.th/Books/643/คู่มือ%20ชีวิตวิถีใหม่.html
Tongkeo, T. (2020). New Normal Based Design in Education: Impact of COVID-19. JOURNAL OF TEACHER PROFESSIONAL DEVELOPMENT, 1(2), 1-10.
UNESCO. (2020). 4 Ways COVID-19 Could Change How We Educate Future Generations. Retrieved August 30, 2020, From https://www.weforum.org/agenda/2020/03/4-ways-covid-19-educationfuture-generations/
Waehayi, H. (2020). Severity Perception and Preventive Behavior on the Coronavirus Disease -2019 among Youth at Sateng-Nok Subdistrict, Muang District,Yala Province. Academic Journal of Community Public Health, 6(4), 158-168.
Wiersma, W., & Jurs, S. G. (2009). Research Methods in Education. Massachusetts: Pearson.
WHO Thailand. (2020). Covid 19 What We Know. Retrieved July 18, 2020, From file://update-28-covid-19-what-we-know---june2020---thai.pdf
Wongrata, C. (2010). Techniques for Using Statistics for Research. 12th ed. Nontaburi: Thainiramitkij Infographic; 2010. (in Thai)
World Health Organization. (2020). Coronavirus. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้