องค์ประกอบสมรรถนะการจัดการภัยพิบัติของผู้บริหารการพยาบาล ในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, การจัดการภัยพิบัติ, ผู้บริหารการพยาบาลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ โดยมุ่งเพื่อศึกษาตัวบ่งชี้สมรรถนะการจัดการภัยพิบัติของผู้บริหารการพยาบาล ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบสมรรถนะการจัดการภัยพิบัติของผู้บริหารการพยาบาล ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารการพยาบาลในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพ 11 จำนวน 280 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ผู้วิจัยพัฒนาองค์ประกอบสมรรถนะการจัดการภัยพิบัติของผู้บริหารการพยาบาล จากกรอบแนวคิดของ สภาการพยาบาลนานาชาติเพื่อสร้างแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .98 วิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่หนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบสมรรถนะการจัดการภัยพิบัติของผู้บริหารการพยาบาล ในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ คือ การป้องกันและลดความรุนแรง/ผลกระทบ ด้านการเตรียมความพร้อม การตอบสนองและการรับมือ และการฟื้นฟูภายหลังการเกิดภัยพิบัติ
2. สมรรถนะการจัดการภัยพิบัติของผู้บริหารการพยาบาล ในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทุกตัวบ่งชี้มีค่าน้ำหนักในระดับที่ยอมรับได้ ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์มีค่าเท่ากับ 0.169 องศาความเป็นอิสระเท่ากับ 1 ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.681 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI)เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) เท่ากับ 0.001 ค่าดัชนีรากที่สองของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.000 ค่าวัดความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) ที่มีค่า 1.00 และค่าดัชนีความกลมกลืนปกติ (NFI) มีค่า 1.00
ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยควรนำแบบสอบถามสมรรถนะการจัดการด้านภัยพิบัติที่มีความตรงเชิงโครงสร้าง เพื่อไปประเมินสมรรถนะการจัดการภัยพิบัติของผู้บริหารการพยาบาลตามบริบาทของกระทรวงสาธารณสุข
References
Beach, M. (2010). Disaster Preparedness & Management. Philadelphia: F.A. Davis.
Best, John W. (1981). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice. Hall Inc.
Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates. Retrived October 15, 2009, from http:// www. ingentaconnect.com/content/apl/lcbi
DeVellis, R. F. (2012). Scale Development: Theory and Applications. London: SAGE Publication Ltd.
Fablgren, T., & Drenkard, K. N. (2002). Healthcare System Disaster Preparedness, Part 2: Nursing Executive Role in Leadership. The Journal of Nursing, 32(10), 531-537.
Gebbie, K. M., & Qureshi, K. (2002). Emergency and Disaster Preparedness: Core Competenciesfor Nurses: What Every Nurse Should But May Not Know. American Journal of Nursing, 102(1), 46-51.
Goodwin Veenema, T., Deruggiero, K., Losinski, S., & Barnett, D. (2017). Hospital Administration and Nursing Leadership in Disasters. Nursing Administration Quarterly, 41(2), 151-163. doi:10.1097/NAQ.0000000000000224
Hammad, K. S., Arbon, P., & Gebbie, K. M. (2011). Emergency Nurses and Disaster Response: An Exploration of South Australian Emergency Nurses’ Knowledge and Perceptions of Their Roles in Disaster Response. Australasian Emergency Nursing Journal, 14(May), 81-94.
Ishii, M. (2012). Disaster Nursing 2. Paper Presented at the Disaster Nursing Training Course, May 7 and 8: Chulalongkorn University-Global Development Learning Network (CU-GDLN). Faculty of Nursing, Chulalongkorn University and Word Bank Tokyo Development Learning center (WBTDLC).
Jennings-Sanders, A., Frisch, N., & Wing, S. (2005). Nursing Students’ Perceptions about Disaster. Disaster Management & Response, 3(3), 80-85.
Lin, C. J., & Chen, C. M. (2008). Important Issues and Challenges: Disaster Nursing. In C.-M.Chen, Y. M. Chao, & Y. H. Lai (Eds.), Nursing Care in Taiwan. Taipai: Department of Health.
Livomese, K., & Vedder, J. (2017). The Emotional Well-Being of Nurses and Nurse Leaders in Crisis. Nursing Administration Quarterly, 41(2), 144-150. doi:10.1097/NAQ.0000000000000221
National Disaster Preparedness Committee. (2015). Prevention and Mitigation National Fire and Rescue Department. Bangkok: Department of Disaster Prevention and Mitigation. Ministry of the Interior
Newton, E. E. (2017). Preparing for the Big One: Emergency Preparedness for Nursing Leaders. Nursing Administration Quarterly. Apr/Jun, 41(2), 101-111. doi: 10.1097/NAQ.0000000000000215.
Office of The National Economic and Social Development Council. (2011). Disaster Management and Rehabilitation After Disaster Report. Phenchrung Publishing, Bangkok.
Shih, F., Turale, S., Lin, Y., Gau, M., Kao, C., Yang, C., & Liao, Y. (2009). Surviving a Life-Threatening Crisis: Taiwan's Nurse Leaders' Reflections and Difficulties Fighting the SARS Epidemic. Journal of Clinical Nursing, 18(24), 3391-3400. doi:10.1111/j.1365-2702.2008.02521.x
Siripukdeekan, A. & Wiserith, (2014). W. A Study of Disaster Nursing Management. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(2), 348-359.
Siripul, P., Sakdisthanont, S (2012). Disaster Nursing: Essential Competencies for Thai Nurses) Thai Journal of Nursing Council. 27. Special Issue, 1-30.
Slepski, L. (2007). Emergency Preparedness and Professional Competency among Health Care Providers during Hurricanes Katrina and Rita: Pilot Study Results. Disaster Management & Response, 54(4), 99-110.
Thanaroj, S., Sadhittwithayanan, S., & Chantra, R. (2014). Nurse Competencies in Disaster Management. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 30(3), 35-44.
Tipwareeom, W. (2012). Public Health Nursing Role a Natural Disaster Management. Journal of Public Health Nursing, 26(3), 119-131.
Ummunt, U., Kongkom, S., Nontapate, O., & Srekate, P. (2011). Natural Disaster Management: Nurse Experience in Southern Province. Journal of Nursing Devision, 38(1), 67-74.
Willis, J., & Philp, L. (2017). Orlando Health Nurse Leaders Reflect on the Pulse Tragedy. Nurse Leader, 15(5), 319-322. doi:10.1016/j.mnl.2017.07.007
Witoonsasiwimol, P., & Kanjanarat, P. (2017). Medication Preparedness for Emergency Flooding Situations of Public Hospitals in Central Thailand: A Case Study of Flooding Crisis in 2011 IJPS, 13(3), 25-37
Wynd, C. A. (2006). A Proposed Model for Military Disaster Nursing. Online Journal of Issues in Nursing, 11(3), 17.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้