ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนจังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • ระวิ แก้วสุกใส คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • พรทิวา คงคุณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • บุญยิ่ง ทองคุปต์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • ลุตฟี สะมะแอ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • สกุณา บุญนรากร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ความรู้ การรับรู้, พฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่, จังหวัดนราธิวาส

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ การรับรู้และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคโควิด-19 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ของประชาชน จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่15 ปีขึ้นไป จำนวน 5,444 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 3) การรับรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 และ 4) พฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ เพื่อการป้องกันโรคโควิด-19 ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่า IOC ระหว่าง .67–1.00 วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นด้านความรู้โดยใช้ KR-20 ได้ค่าเท่ากับ .80 ค่าอัลฟ่าครอนบาชด้านการรับรู้ เท่ากับ.92 และด้านพฤติกรรมการปฏิบัติเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

ประชาชนจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.50 มีความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 อยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.29 คะแนน (M=17.29, SD=3.94) มีการรับรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 อยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน (M=3.97 , SD=0.40) มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับปานกลาง (M=1.28, SD=0.27) นอกจากนี้ความรู้และการรับรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคโควิด-19 (r=.211, p<.01และ r=.101, p<.01  ตามลำดับ)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสื่อสารทำความเข้าใจและรณรงค์การปฏิบัติพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคโควิด-19 โดยเฉพาะการใช้แอปพลิเคชันไทยชนะเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานในพื้นที่สาธารณะของประชาชน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคและเกิดพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคโควิด-19 ที่ต่อเนื่อง ยั่งยืนต่อไป

References

Bangkok Poll. (2020). Don’t Let Your Guard Down. Retrieved February 2, 2021 from http://bangkokpoll.bu.ac.th/

Best, W. J. (1978). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Boonmee, P., Mahamit, S., & Kawila, T. (2018) Knowledge, Perception, and Awareness of RiskManagement and Patient Safety towards Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing, Phayao. Journal of Nursing and Education, 11(3), 112-124.

Department of Disease Control Ministry of Public Health. (2021). COVID-19 Report. Retrieved April 20, 2021 from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no437-150364.pdf

Glomjai, T., Kaewjiboon, J., & Chachvarat, T. (2020). Knowledge and Behavior of People Regarding Self-Care Prevention from Novel Coronavirus 2019 (COVID-19). Journal of Nursing, Public Health, and Education, 21(2), 29-39.

Health Data Center (HDC) Narathiwat. (2020). Narathiwat Population. Retrieved May 14, 2020 fromhttp://hdc.ntwo.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0

Malathum, K., & Malathum, P. (2020). The COVID-19 Pandemic: What We Have Learned from Thai Experiences. Pacific Rim Int J Nurs Res, 24(4), 431-435.

Narathiwat Province. (2021). COVID-19 Report. Retrieved April 20, 2021 from http://www2. narathiwat.go.th/nara2016/covid

National Broadcasting and Telecommunication Commission. (2020). Press Conference on the COVID-19 Outbreak. Retrieved February 2, 2021 from https://www.bangkokbiznews. com/news/detail/914136

National Statistical Office of Thailand. (2021). TV Viewing Devices in Thai Households. Retrieved February 2, 2021 from http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N25-01-61-2.aspx

Nawsuwan, K., Singweratham, N., & Thepaksorn, P. (2020). Compositions and Indicators for Successful Implementation of Novel Coronavirus (COVID-19) in the Community of Village Health Volunteers (VHVs) in Thailand. The Southern College Network Journal and Public Health, 7(2), ก-จ.

Nawsuwan, K., Singweratham, N., Waichompu, N., & Chayakul, K. (2020). The Successful Implementation of Novel Coronavirus (COVID-19) in the Community of Village Health Volunteers (VHVs) in Thailand. Princess of Naradhiwas University Journal, 12(3), 195-212.

Pannarunothai, S. (2020). Surviving COVID-19 Pandemic with Knowledge and Action. Journal of Health Systems Research, 14(1), 1-6.

Powwattana, A., Kalampakorn, S., Lagampan S., & Rawiworrakul. (2018). Health Promotion and Disease Prevention in Community: An Application of Concepts and Theories to Practice (Revised Edition). Chachoengsao: M N COMPUTE OFFSET CO., LTD. (in Thai)

Singweratham, N., Thaopan, W. W., Nawsuwan, K., Pohboon, C., & Surirak, S. (2020). Perception and Preventive Behaviors on the Coronavirus Disease-2019 (COVID-19) among Dental Nurses under the Ministry of Public Health. J Bamrasnaradura Infect Dis Inst, 14(2), 104-115.

Thai Health Promotion Foundation. (2020). New Way of Life Guide Life Begins with Us. Retrieved July 15, 2020 from https://www.thaihealth.or.th/Books/643/คู่มือ%20ชีวิตวิถีใหม่.html

Thato, R. (2018). Nursing Research: Concepts to Application.(3 rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-06