หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล: ค้นหา วิเคราะห์ และนำไปใช้อย่างไร
คำสำคัญ:
หลักฐานเชิงประจักษ์, หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล, การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ, กระบวนการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ, การประยุกต์ทางการพยาบาลบทคัดย่อ
หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Based Practice) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการพยาบาล เนื่องจากการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลเป็นการใช้นำองค์ความรู้ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในขณะนั้นมาใช้อ้างอิงร่วมกับข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางคลินิกโดยคำนึงถึงค่านิยมของผู้ป่วยเพื่อพิจารณาตัดสินแก้ปัญหาการให้บริการทางสุขภาพ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ อธิบายวิธีการค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ การวิเคราะห์ และการนำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปใช้ประโยชน์ รายละเอียดประกอบด้วยกระบวนการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปเป็นแนวทางของการทบทวนวรรณกรรมตามขั้นตอนอย่างละเอียด โดยภายหลังจากได้องค์ความรู้จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จะผ่านขั้นตอนการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้ของการนำองค์ความรู้ไปใช้โดยการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ ภายหลังผ่านการยกร่างจากผู้เทรงคุณวุฒิจึงจะเข้าสู่กระบวนการนำองค์ความรู้มาทดลองใช้นำร่องในการให้การพยาบาล โดยมีการเก็บข้อมูลและประเมินผลการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล
บทความนี้แสดงวิธีการอย่างง่ายเพื่อช่วยให้ผู้อ่านเกิดทักษะสำหรับการค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ ตลอดจนสร้างทัศนคติที่ดีต่อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลต่อไป
References
Arksey, H., & O'Malley, L. (2005). Scoping Studies: Towards a Methodological Framework. International Journal of Social Research Methodology, 8(1), 19-32. doi:10.1080/1364557032000119616
Ganann, R., Ciliska, D., & Thomas, H. (2010). Expediting Systematic Reviews: Methods and Implications of Rapid Reviews. Implementation Science, 5(1), 56-56. doi: 10.1186/1748-5908-5-56
Julawong, O., Munsil, J., & Taweewanich, S. (2018). Application of Evidence-Based Practice in Nursing Professions. Journal of Royal Thai Army Nurses, 19(2), Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/143885
Kanhadilok, S., Punsumreung, T., & Malai, C. (2017), Evidence Based Teaching Strategies in Nursing, Journal of Nursing and Health Care, 35(4), 34-41
Khammathit, A., & Makrat, M. (2017). Using the Systematic Review to Provide a Complete Summary on a Research Question in Evidence Based Practice : A 3 Step Method. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(3), 249-259.
Moher, D., Liberati, A., Tetzlaff, J., & Altman, D. G. (2009). Preferred Reporting Items for Systematic Reviews and Meta Analyses: The PRISMA Statement. PLoS Med 6(7), e1000097. doi:10.1371/journal.pmed1000097
Picheansathian, W. (2018). Searching the Evidence: Essential Skill for Nurse in Thailand 4.0. The Journal of Nursing and Midwifery Practice, 5(1), 136-148.
Puttaruksa, L., Subgranon, R., & Othaganont, P. (2016). Factors Leading to Success in the Implementation of Evidence Based Nursing Practice of Professional Nurses. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 24(3), 94-103.
Thanakwang, K. (2010). Meta-Analysis: Concepts and Application to Nursing Research. Thai Journal of Nursing Council, 25(4), 10-22.
The Joanna Briggs Institute. (2021). The Critical Appraisal Tool. Retrieved on 5 January 2021. from https://jbi.global/critical-appraisal-tools
Tonsuwon, K., Suwonnaroop, N., & Watthayu, N. (2019), Perceived Barriers to Implementing Evidence, Attitudes, and Research Experiences Toward Evidence-Based Nursing Practice among Professional Nurses in Health Promoting Hospital, The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima, 25(2), 25-40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้