การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน การรายงานผลทางห้องปฏิบัติการผู้ป่วยโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พิชญ์วรา จันทร์แย้ม วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อุทัย ทับทอง วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วัฒนา อ่อนเจริญ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วัชรินทร์ สว่างศรี โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

เว็บแอพพลิเคชั่น, การรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์และสภาพปัญหาการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยเบาหวาน 2) พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันการรายงานผล 3) ประสิทธิผลของเว็บแอปพลิเคชันการรายงานผลการตรวจเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วยขั้นที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และผู้รับบริการ 6 คน ขั้นที่ 2 พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยผู้วิจัยนำผลจากขั้นตอนที่ 1 และทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมาเพื่อออกแบบและสร้างนวตกรรม ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ขั้นที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของเว็บแอปพลิเคชัน โดยประเมินจากผู้รับบริการ ก่อนและหลังใช้เว็บแอปพลิเคชัน จำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกระยะเวลาการใช้บริการในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และแบบบันทึกใบอุบัติการณ์ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมตำบล ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณาและสถิติ Paired t-test  ผลวิจัยพบว่า

1. ปัญหาการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยเบาหวาน คือ ผู้ป่วยที่ต้องไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาลและรอผลการตรวจ ก่อนนำผลมาให้กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อที่จะนำไปประกอบการรักษาทำให้ต้องรอคอยผลการตรวจและบางครั้งผลตรวจเลือดสูญหาย หรือลืมนำมาจากที่บ้าน

2. แอปพลิเคชันการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยเบาหวาน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) การรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 2) การค้นหาประวัติผู้ป่วยที่ไปรับบริการ 3) ระบบรายงาน

3. หลังการใช้แอปพลิเคชันการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยเบาหวาน ระยะเวลาการใช้บริการที่โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช (M=99.81, SD=38.17) น้อยกว่าก่อนใช้เว็บแอปพลิเคชัน (M=156.74, SD=22.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p<.001) และใบอุบัติการณ์เนื่องจากผู้รับบริการไม่นำผลการเจาะทางห้องปฏิบัติการมาเนื่องจากหาย ชำรุด ลืม ก่อนใช้เว็บแอปพลิเคชันคิดเป็นร้อยละ 10.14 หลังใช้เว็บแอปพลิเคชันไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเลย

โรงพยาบาลสามารถควรนำแอปพลิเคชันการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติ ไปใช้ในการรายงานผลการตรวจเลือดในผู้ป่วยโรคเรื้อรังจากโรงพยาบาลไปถึง รพ.สต.ได้โดยตรงเพื่อใช้ในการวางแผนในการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตที่รับผิดชอบและใช้ในการค้นหาประวัติการตรวจเลือด

References

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. (2nd). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A Flexible Statistical Power Analysis Program for the Social, Behavioral, and Biomedical Sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Health Systems Research Institute. (2010). Knowledge Management and Synthesis of Practice Guidelines for Tambon Health Promoting Hospitals. Management of Chronic Disease Care System In Case of Diabetes and Hypertension. (in Thai)

Khakom, A. (2003). The Study Factors Which Related to Credit Service of Government Hosing Bank. Kasetsart University. Bangkok. (in Thai)

Phromwong, C. (2013). Developmental Testing of Media and Instructional Package. Silpakorn Journal of Research Sciences, 5(1), 5-20. (in Thai)

Sinsawad, P., Chuawong, P. & Muangpool, T. (2019). Application to Calculate the High Alert Drugs. Journal of Project in Computer Science and Information Technology, 5(1), (in Thai)

Thipprapai, N. (2016). The Satisfaction and Behavior among Company Workers to use Application Affecting Rebooking Hotel by Application on Smartphone. M.B.A., Graduate School, Bangkok University. (in Thai)

Wasutada, K. (2017). The Relationship Between Perception Toward Non-Communicable Diseases and Health Promotion Behaviors for Non-Communicable Diseases Prevention among People in Muang District, Chanthaburi Province. The journal of Pharapokklao nursing College, 29(2), (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-28