การพัฒนารูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยประยุกต์ใช้หลักการฮาลาล และการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมทางเพศของนักศึกษามุสลิม วิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • ฮูดา แวหะยี คณะวิทยาศาสตรเทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมทางเพศ, การป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร, วัฒนธรรมมุสลิม, หลักการฮาลาล

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการณ์การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและแนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักศึกษา 3) ประสิทธิผลของรูปแบบป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยประยุกต์ใช้หลักการฮาลาล การสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมทางเพศของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดยะลา ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและแนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักศึกษา จากผู้ให้ข้อมูล 50 คนด้วยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษารูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักศึกษา โดยผู้วิจัยนำผลการวิจัยจากขั้นตอนที่ 1 การทบทวนวรรณกรรม และการสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูล 50 คน ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ขั้นตอนที่ 3 ประสิทธิผลของรูปแบบป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยประยุกต์ใช้หลักการฮาลาล การสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมทางเพศของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดยะลา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นรูปแบบป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยประยุกต์ใช้หลักการฮาลาล การสร้างแรงจูงใจ แบบวัดของพฤติกรรมทางเพศของนักศึกษา ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test ผลวิจัยพบว่า

1. การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นในพื้นที่มีสาเหตุหลักเกิดจากวัยรุ่น ยังขาดความเข้าใจว่า การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันสมควรนั้นสามารถป้องกันได้ สื่อหรือพฤติกรรมที่กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ได้แก่ การเที่ยวกลางคืน การเสพยาเสพติด การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสถานที่หล่อแหลมต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และผู้ปกครองขาดความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาที่ถูกต้อง ขาดการรับฟังความคิดเห็น และไม่มีการสื่อสารภายในครอบครัวเรื่องเพศภายในครอบครัว และยังไม่ยอมรับเรื่องเพศศึกษา

2. รูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยประยุกต์ใช้หลักการฮาลาล และการสร้างแรงจูงใจประกอบด้วย การให้ความรู้ ทักษะชีวิต การวางตัวทางเพศตามหลักการฮาลาล และการให้คำปรึกษาสร้างแรงจูงใจ

3. พบว่าหลังใช้รูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยประยุกต์ใช้หลักการฮาลาล และการสร้างแรงจูงใจ คะแนนพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมลดลงต่ำกว่าก่อนใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

เสนอแนะ สามารถนำรูปแบบไปใช้ในครอบครัว ชุมชน และ สถานศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น

References

Arundee, S., Natrujirote, W., Kayee, P., & Phungphak, W. (2016). The Needs of Teenage Mothers for Healing and Preventing Unintended Teenage Pregnancy. Journal of Srinakharinwirot University, 19(1), 46-61 (in Thai)

Assaf-Mufti, A., bayat, S., 1995. Islam and Sex. Translate by Charan Malulim. Bangkok. Islamic Academy, 1-17 (in Thai)

Israfil, A. (2019). Thai Quran Idiom Translation. Retrieved July 14, 2020, from https://sites.google.com/site/abuisrafil/contact-us.

Detkong, T. (2013). Motivation Interviewing for NCDs; MI NCDs (Research Synthesis). Bangkok. BEYOND PUBLISHING CO, p.11 (in Thai)

Detkong, T. (2016). Motivation Interviewing for NCDs; MI NCDs. Bangkok. BEYOND PUBLISHING CO, p.4 (in Thai)

Meeboon, N., & Hanpichai, S. (2017). The Causes of Teenage Pregnancy in Chaibadan District. Academic Journal of Faculty of Humanities and Social Sciences, 7(1) 71-81 (in Thai)

Nakornthap, A. (2005). Thai Children in the Cultural Dimension. 2-3. (in Thai)

National Safe and Creative Media Development Board Ministry of Culture. (2020). Development Plan for the Development of Safe and Creative Media Phase 1 (2020 - 2022), p.4 (in Thai)

Panichkriangkrai, W. (2014). Teenage Motherhood in Thailand. (Doctor Dissertation). London School of Hygiene and Tropical Medicine, London, p.107-108 (in Thai)

Pilasant, S. (2015). The Impact of Pregnancy in Thai Teenages. Technology and Health Policy Assessment Program, p.1-3 (in Thai)

Pupunhong, W., Wuttisin K. & Traitip T. (2016). Factors Related to Sexual Behavior of Teenagers in Amphoe Meuang Kalasin Province. Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University, 3(2), 54-72 (in Thai)

Reproductive Health Office. (2020). Annual Report 2020. Bangkok: Reproductive Health Office, Department of Health, Ministry of Public Health. (in Thai)

Sommana, W., Chaimay, B., & Woradet, S. (2018). Factors Associated with Risk Behavior of Teenage Pregnancy among Secondary School Students in Paphayom District, Phatthalung Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(3), 21-22 (in Thai)

Srisathitnarakun, B. (2010). The Methodolody in Nursing Research. (pp.304-305).5. Bangkok: Chulalongkorn University, 304-305 (in Thai)

Wae, A. (2010). Family and Environment Factors Affecting Sexual Behaviors of Vocational Students in Yala Municipality. (Master Thesis). Prince of Songkla University, Songkhla, p.56 (in Thai)

Wisetrat, W. (2020). Islam and Posing Towards the Opposite Sex. Retrieved June 24, 2020, from: https://www.youtube.com/watch?v=GltYobNtncs.

Wisuttipranee, I. (2020). Islam and Posing Towards the Opposite Sex. Retrieved June 24, 2020, from https://www.youtube.com/watch?v=GltYobNtncs.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-08