การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับการรักษาหรือส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในตำบลรางจรเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ปฏิภาณี ขันธโภค สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • นพวรรณ ธีระพันธ์เจริญ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • อัมมันดา ไชยกาญจน์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ปวีณา รัตนเสนา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ชลวิภา สุลักขณานุรักษ์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • อูน ตะสิงห์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • เนตรนภา สาสังข์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาเพื่อการรักษา, ภูมิปัญญาเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการรักษาหรือส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลรางจรเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการรักษาหรือส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุได้จากการเลือกแบบเจาะจง ได้ผู้ให้ข้อมูลหลักที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัยตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง  ผลการวิจัยพบว่า

ผู้ให้ข้อมูลหลักมีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในรูปแบบสมุนไพรเดี่ยว สมุนไพรตำรับ ตำรับยาแผนโบราณ และสิ่งประดิษฐ์ โดยพบการใช้สมุนไพรเดี่ยว จำนวน 13 ชนิด เช่น กระชาย กระเทียม ขมิ้นชัน ไพล ฯลฯ พบการใช้สมุนไพรตำรับ จำนวน 4 ตำรับ เช่น ตำรับสำหรับวัยทองและลดไขมันในเส้นเลือด ตำรับบอระเพ็ด ฯลฯ  สำหรับตำรับยาแผนโบราณพบทั้งสิ้น 4 ตำรับ เช่น ยาแก้อัมพฤกษ์ อัมพาต ยาเบญจกูล ฯลฯ และพบการใช้สิ่งประดิษฐ์ จำนวน 3 ชนิด เช่น กะลาเดิน ลูกประคบสมุนไพร ฯลฯ

จากการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ทราบข้อมูลการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับรักษาหรือส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมไปถึงการพัฒนานวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เช่นกัน

References

Adthasit, R. & Suvandech, K. (2015). The Handbook of Folk Medicine Usage in Healthcare for the Elderly. Nonthaburi: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Ltd. (in Thai)

Aekwarangkoon, S., Noonil, N., Nontapet, O., & Nuampet, U. (2018). Application the Local Wisdom for Developing Health Promotion among Older Adults in Community. Thai Journal of Nursing, 67(2), 18-26. (in Thai)

Damrikarniert, L. (2016). Time Bomb-Aging Society should be Assigned as the National Agenda. Thansettakij Newspaper. Retrieved September 5, 2017 from http://www.thansettakij.com/content/24454. (in Thai)

Department of Older Persons. (2016). Statistical Data of Older Persons. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security. Retrieved September 5, 2017 from http://www.dop.go.th/main/knowledge_lists.php?id=34. (in Thai)

Department of Older Persons. (2019). Statistical Data of Older Persons in 2016 (January 2016–December 2016). Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security. Retrieved December 23, 2020 from http://www.dop.go.th/download/knowledge/ th1580099938-275_1.pdf. (in Thai)

Department of Older Persons. (2021). Health Problems in Thai Elders. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security. Retrieved June 15, 2022 from https://www.dop.go.th/th/know/15/466. (in Thai)

Jaidee, S. & Sasat, S. (2017). A Study of Frailty in Older People Resided in Community, Bangkok. Royal Thai Navy Medical Journal, 44(3), 117-135. (in Thai)

Juntaveemueng, V. & Sungkachat, B. (2014). Integrated Self-Care of Diabetes Patients: a Case Study in the Southern Thai Socio-Cultural Context (Songkhla Province). The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 1(3), 15-35. (in Thai)

Kattiya, K. (2020). Problems and Needs in Physical Activities of the Elderly in Maejo Municipality Area at San Sai District Chiang Mai Province. Journal of Liberal Arts, Maejo University, 8(1), 72-89. (in Thai)

Prajankett, O. (2014). Elastic Coconut Shell: Health Innovation for Home Bound and Bed Bound Elder. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(2), 33-38.

Raksamat, W. & Thongon, P. (2020). Effectiveness of a Herbal Compression Bag Stepping Technique and a Feet Soaking in Herbal Water Technique on Feet Numbness Symptoms in Diabetes Patients at Phu Luang Hospital, Phu Luang District, Loei. Thai Journal of Public Health and Health Sciences, 3(1), 13-27. (in Thai)

Subcharoen, P. (2001). Thai traditional Medicine: Holistic Medicine. (3rd ed.). Nonthaburi: The Express Transportation Organization of Thailand Publishing. (in Thai)

Thai Health Project. (2018). Thai Wisdom: The Way of Thai Health. Thai Health 2018, 64-67. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University. Retrieved December 2, 2018 from https://www.thaihealthreport.com/file_book/472-ThaiHealth2018-TH.pdf. (in Thai)

Wongboonnak, P., Wongtrakul, P., Mahamongkol, H., & Neimkhum, W. (2016). The Survey of Medicine, Food Supplement and Herbal Products Used Problems Among Elderly: a Case Study at the Community of Tumbon Srisa Chorakhe Noi, Samut Prakan Province. HCU Journal of Health Science, 20(39), 97-108. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-22