อิทธิพลของแรงสนับสนุนทางสังคมและความรอบรู้ทางสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในสังคมเมือง สังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท และสังคมชนบท อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • จามจุรี แซ่หลู่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • ธมลวรรณ แก้วกระจก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • ดาลิมา สำแดงสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

แรงสนับสนุนทางสังคม, ความรอบรู้ทางสุขภาพ, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุในสังคมเมือง กึ่งเมืองกึ่งชนบท และชนบท

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพยากรณ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงสนับสนุนทางสังคม ความรอบรู้ทางสุขภาพ คุณภาพชีวิต และศึกษาอิทธิพลของแรงสนับสนุนทางสังคมและความรอบรู้ทางสุขภาพที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสังคมเมือง กึ่งเมืองกึ่งชนบท และชนบท อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในแต่ละสังคมจำนวน 130 คน รวมเป็น 390 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิต ตรวจสอบความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ .97, .94 ตามลำดับ ส่วนแบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพ ด้านความรู้ ตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้คูเดอร์และริชาร์ดสัน ได้เท่ากับ .68 สำหรับด้านอื่นๆ คือ การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ การสื่อสารข้อมูลสุขภาพ การตัดสินใจ การจัดการตนเอง และการรู้เท่าทันสื่อ นำมาคำนวณหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง .83, .86, .56, .85 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติถดถอย ผลการวิจัยพบว่า

1. แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุทั้งที่อาศัยอยู่ในสังคมเมือง กึ่งเมืองกึ่งชนบท และชนบท โดยภาพรวมพบว่ามีแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก (M=3.81, SD=0.71; M=4.12, SD=0.78; M=3.69, SD=0.56)

2. ความรอบรู้ทางสุขภาพพบว่ามีความรอบรู้สุขภาพอยู่ในระดับต่ำ (M=33.67, SD=10.16; M=39.88, SD=8.13; M=29.39, SD=7.00)

3. คุณภาพชีวิตโดยภาพรวมพบว่าในสังคมเมืองโดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี (ร้อยละ 72.31) ส่วนผู้สูงอายุในสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบทและชนบทพบว่าโดยส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.77, 63.85) และ 4) ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิต ในสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท แรงสนับสนุนทางสังคมสามารถทำนายคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 45.50 ส่วนในสังคมชนบทแรงสนับสนุนทางสังคมสามารถทำนายได้ร้อยละ 9.60

ดังนั้นควรมีการวางแผนส่งเสริมให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุมีศักยภาพในการช่วยเหลือด้านขอมูลข่าวสาร วัสดุสิ่งของและการสนับสนุนด้านจิตใจแก่ผู้สูงอายุเพื่อยกระดับศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

References

Anantakul, A. (2016). Aging Society Challenges Thailand. Proposed Documents at the Meeting of the Royal Academy Thammasat Political Office, Royal Society of Thailand. (in Thai)

Ayott, B. J., Allaire, J. C., & Bosworth, H. (2009). The Association of Patient Demographic Characteristics and Health Information Recall: The Mediating Role of Health Literacy. Neurophychal Dev Cogn B Aging Neuropsychal Cogn, 16(4), 419-32.

Cohen, J. (1977). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. New York: Academic Press.

Department of Mental Health. (2016). Annual Report 2016. Bangkok: Bangkok Block. (in Thai)

Department of Older Persons. (2019). Statistics of the Number of Elderly by Province and Age in 2018. Retrieved March 18 2019, from www.dop.go.th/th/know/1/159. (in Thai)

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2018). Situation of the Thai Elderly. Retrieved November 1, 2020, from https://thaitgri.org/?p=38670. (in Thai)

Howard, D. H., Sentell, T., & Gazmararian, J. A. (2006). Impact of Health Literacy on Socioeconomic and Racial Differences in Health in a Elderly Population. J Gen Intern Med, 21(8), 857-61.

Intarakamhang, U. (2017). Health Literacy: Measurement and Development. Bangkok: Sukhumvit Printing Co., Ltd. (in Thai)

Jintana, P., Suktan, S., & Takaew, C. (2018). Correlation and Predictive Power Between Social Support and Quality of Life among Older Adult. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(2), 119-131. (in Thai)

Kandee, P., Sukwong, P., & Weiangkham, D. (2016). Perceived Social Support of Community-Dwelling Rural Elderly in Northern Thailand. Journal Mental Health Thai, 24(1), 40-51. (in Thai)

Lanmeshow, S. L., Hosmer, D. W., Klar, J., & Lwanga, S. K. (1990). Adequacy of Sample Size in Health Studies. New York: John Wiley & Sons.

Laohabutr, P. (2014). Quality of Life of the Elderly in Village, Moo 7, Plutaluang Sub-District, Sattahip District, Chonburi Province. [Research Report]. [Chonburi]. Burapha University. (in Thai)

Mahatanirunkul, S., Tuntinirunkul, W., Pumpisanchai, W., Wongsuwan, K., & Ponmanajirungkul, R. (1997). The Comparison of the World Health Organization Quality of Life Questionnaire, 100 Indicators and 26 Indicators. Chiang Mai: Suan Prung Hospital. (in Thai)

Nilnet, W. (2014). Health Literacy of the Thai Elderly in the Elderly Club in Bangkok. [Thesis]. Chulalongkorn University. Retrieved October 18, 2020 from http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456. (in Thai)

Noknoi, J., & Boripan, W. (2017). Quality of Life of the Elderly in Songkhla Province. Princess of Narathivas University Journal, 9(3), 94-105. (in Thai)

Nutbeam, D. (2008). The Evolving Concept of Health Literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078.

Phichit, P. (2015). Quality of Life of the Elderly in Surat Thani Province. Journal of Management Sciences, 2(2), 157-178. (in Thai)

Prutkankit, T. (2013). Community Context under the Semi-Urban, Semi-Rural Society. The Far Eastern University, 9(1), 7-15. (in Thai)

Rattana, W. (2009). Health Care Behavior and Social Support with Quality of Life Elderly, Elderly Club, Surat Thani Hospital. [Thesis]. [Bangkok]. Srinakharinwirot University. (in Thai)

Rojanathammakul, N. (2020). Nursing Care for Elderly: Physiology and Mental Health Aspect. Bangkok; SKS Interprint Co., Ltd. (in Thai)

Sanitluang, N., Sartpet, W., & Napaarak, Y. (2019). Sample Size Calculation Using G* POWER Program. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology, 5(1), 496-507. (in Thai)

Srisaard, B. (2012). Research for Teacher. Bangkok; Suveriyasan. (in Thai)

Srithanee, K. (2017). Relationship Between Health Literacy and Quality of Life of Elderly in the Central Northeastern Region. Public Health System Research Journal, 11(1), 26-35. Retrieved from http://kb.hsri.or.th. (in Thai)

Suramitthree, B. (2013). Health Literacy Study and Operational Situation to Enhance Health Literacy of Thai People to Support Access to the Asean Community. (Online) Retrieved May 18, 2020, from http://www.mfa”go.th/dvifa/contents /files/nbt/nbt5/IS/IS5073.pdf. (in Thai)

Thongthammachat, N. (2014). Life in the Contemporary Condition of Urban Society. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 1669-1687. (in Thai)

United Nation. (2015). World Populations Ageing. Retrieved November 1, 2020, from https://www.un.org/en/development/desa/population/publication/pdf/ageing/WPA2015_Report.pdf.

Wichitaksorn, N. (2018). Health Focus. Retrieved November 1, 2020, from https://www.hfocus.org/content/2018/01/15303. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-19