ความฉลาดทางสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • ปรียนุช ชัยกองเกียรติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • บูรณ์คณัส จันทรศิริพุทธ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พิมพ์ณัฐชา สุไลมาน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางสุขภาพ, พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางสุขภาพ ระดับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจังหวัดยะลา จำนวน 184 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และเลือกแบบเจาะจงเป็นผู้บริหารทางการพยาบาลในสถานบริการทั้ง 3 ระดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง และแบบสอบถามความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง .67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .97 และ .92 ตามลำดับวิเคราะหข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติไคว์สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า

1. กลุ่มตัวอย่างมีความฉลาดทางสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M=4.12, SD=0.40) โดยด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (M=4.24, SD=0.47) และด้านทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (M=3.98, SD=0.47) โดยผู้บริหารทางการพยาบาลมีความคิดเห็นว่า พยาบาลวิชาชีพควรมีความฉลาดทางสุขภาพในระดับสูง เช่น ทักษะทางสังคมที่ใช้ในการเข้าร่วมกิจกรรม รู้จักเลือกใช้ข้อมูลข่าวสาร แยกแยะลักษณะการสื่อสารที่แตกต่างกัน รวมทั้งประยุกต์ใช้ข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้

2. พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M=3.72, SD=.63) โดยด้านการจัดการความเครียด มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (M=3.94, SD=.77) ส่วนด้านการออกกำลังกาย มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (M=3.05, SD=1.01)

3. อายุ และ ความฉลาดทางสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ประสบการณ์การทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนเพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และระดับสถานบริการสุขภาพที่ปฏิบัติงาน ไม่มีความสัมพันธ์กันกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

ผู้บังคับบัญชา/ผู้บริหารในสถานบริการทางสุขภาพทุกระดับ ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ โดยเฉพาะทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อตนเองในการพัฒนาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และต่อผู้รับบริการ โดยเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติตนภายใต้ความรู้ที่ทันสมัย ช่วยให้ผู้รับบริการ/คนไข้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

References

Best, J. W. (1981). Research in Education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Bunlong, N. (2009). Factors Related to Health Promoting Behaviors of Health Personnel in General Hospitals, Phangnga Province. (Master’s thesis). Burapha University

Ginggeaw, S., & Prasertsri, N. (2016). The Relationship Between Health Literacy and Health Behaviors among Older Adults who have Multi-Morbidity. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 25(3), 43-54.

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.

Health Education Division. Department of Health Service Support. Ministry of Public Health. (2011). Health Literacy. (1th ed.). Bangkok: Newthammada Printing.

Health Education Division. Department of Health Service Support. Ministry of Public Health. (2018). Strengthening and Evaluating Health Literacy and Health Behavior. Nonthaburi: Printing House, Agricultural Cooperative Association of Thailand, Ltd.

Indhraratana, A. (2014). Health Literacy of Health Professionals. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(3), 174-178.

Khampisut, J. (2018). Health Literacy and Health Promotion Behaviors of Students in Naresuan University. Journal of Educational Measurement, Mahasarakham University, 24(1), 67-78.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a Public Health Goal: a Challenge for Contemporary Health Education and Communication Strategies Into the 21st Century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.

Pender, N. J. (1996). Health Promotion in Nursing Practice (3rd ed.). Stamford Connecticut: Appleton and Lange.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice (5th ed.). New Jersey: Pearson Education, Inc.

Saedkong, P., Potchana, R., Wayo W. & Klungklang, R. (2020). Effects of Using Hug Tai Application on Health Literacy among Patients with Diabetes Type 2, Hypertension, and Chronic Kidney Disease Stage 3 at Wat Nong Weang Pra-Aramluarg Parimary Care Unit in Khon Kaen. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 7(3), 195-206.

Surawongsin, K. (2008). Factors Relating to Health Promotion Behaviors of Health Personnel in Permanent Secretary Ministry of Public Health. (Master of Science, Health Education, Kasetsart University)

Thailand Nursing and Midwifery Council. (2008). National Nursing and Midwifery Development Plan (2nd Edition) 2007-2016. Bangkok: Siriyod Publication.

Thungjaroenkul, P., Swaengdee, K., Theerawit, T., & Tungcharoensathien, V. (2015). Health Problems and Health Care Behaviors Among Registered Nurses in Thailand. Journal of Health Systems Research, 9(1), 49-60.

Vimonwattana, N., Sangkapong, T., & Panriansaen R. (2017). Factors Affecting the Health Promotion Behaviors of Professional Nurses in Faculty of Medicine, Vajira Hospital, Navamindradhiraj University. Kuakarun Journal of Nursing, 24(2), 67-81.

Wiersma, W., & Jurs, S. G. (2009). Research Methods in Education. Massachusetts: Pearson.

World Health Organization. (2009). Health Literacy and Health Promotion. Definitions, Concepts and Examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual Empowerment Conference Working Document. 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development. Nairobi, Kenya.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-28