การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ โรงพยาบาลสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คำสำคัญ:
รูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้ม, ผู้ป่วยสูงอายุ, โรงพยาบาลสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้เพื่อศึกษาหลักฐานเชิงประจักษ์ สร้างรูปแบบ และผลการนำรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่พัฒนาไปใช้ ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 สืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์จากฐานข้อมูล 3 แหล่ง ได้แก่ Joanna Briggs Institute, Cochran Library, และงานวิจัยในประเทศฐาน TCI กลุ่ม 1 และ 2 วิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้พิจารณาตามเกณฑ์ระดับความน่าเชื่อถือของสถาบันโจนนาบริกส์ ระยะที่ 2 สร้างเครื่องมือวิจัยโดยใช้ขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล 4 ขั้นตอน เพื่อสร้างรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ และเลือกแนวทางปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ระยะที่ 3 ทดลองใช้ ปรับปรุงและประเมินผลการนำรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการสืบค้นอย่างเป็นระบบ จำนวน 27 บทความ จากฐานข้อมูลต่างประเทศ 19 บทความ มีค่าคุณภาพงานวิจัยระดับมาก และจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย 8 บทความ
2. รูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมโดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การประเมินภาวะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม 2) การวางแผนการพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม 3) การปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม และ 4) การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม
3. ผลการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม 4 ด้าน ได้แก่ 1) การใช้เวลาน้อยที่สุด 2) เข้าใจได้ง่ายที่สุด 3) มีความสะดวกมากที่สุด และ 4) มีความชัดเจนและครอบคลุมขั้นตอนการนำไปใช้มากที่สุด
ควรให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติเรื่องการป้องกันการพลัดตกหกล้ม และให้ตระหนักถึงการเฝ้าระวังการพลัดตกหกล้มมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยและไม่เกิดอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้ม
References
Alamgir, H., Muazzam, S., & Nasrullah, M., (2012). Unintentional Falls Mortality among Elderly in the United States: Time for Action. Injury, 43(12), 2065-71.
Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2015). Control of NCDs. Retrieved 21 May 2010, from http://203.157.15.4/Annual/ANNUAL2550/Part1/6650_Chronic.doc (in Thai)
Bureau of NCDs, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2020). Annual Report 2017. Retrieved June 4, 2019. from http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=12986&tid=30&gid=1-015-008 (in Thai)
Chung, H. & Coralic, A. (2016). A Multidisciplinary Assessment Instrument to Predict Fall Risk in Hospitalized Patients: A Prospective Matched Pair Care Study. Journal of Nursing Education and Practice, 6(6).
Hendrich, A. L. Bender, P. S. & Nyhuis, A. (2003). Validation of the Hendrich II Fall Risk Model: A Large Concurrent Case/Control Study of Hospitalized Patients. Applied Nursing Research, 16(1), 921.
Hignett, S., Sands, G., Youde, J., & Griffiths, P. (2010). Targeting Environmental Factors to Reduce Elderly in-Patient Falls. Loughborough University. Retrieved March 10, 2016, from http://dspace.Iboro.ac.uk/dspace.
Perell, K. L., Nelson, A., Goldman, R. L., Luther, S. L., Prieto-Lewis, N., & Rubenstein, L. Z. (2001). Fall Risk Assessment Measures: An analytic Review. Gerontol A Biol Sci Med Sci, 56(12), 716-6.
Severo, I. M. Almeida, M. A., Kuchenbecker, R., Vieira, D. F. V. B., Weschenfelder. M. E., Pinto, L. R. C., et al., (2014). Risk Factors for Falls in Hospitalized adult Patients: an Integrative Review. Retrived March 12.2016 from http://www.scielo.br/scielo.php.
Srichang, N., & Kawee, L. (2017). Fall Forecast Report for the Elderly (Age 60 Years and Older) In Thailand, 2017-2021, Bureau of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Bangkok: Printing Affairs Office, The War Veterans Organization of Thailand. (in Thai).
Tanaka, B., Sakuma M., Ohtani M., Toshiro J., Matsumaru T., & Morimoto T. (2012). Incidence and Risk Factors of Hospital Falls on Long-Term Care Wards in Japan. J Eval Clin Pract, 18(3), 572-7.
The Joanna Briggs Institute. (2013). New JBI Levels of Evidence. Retrived July 10.2018 from http://joannabriggs.org/assets/docs/approach/JBI-Levels-of-evidence_2014.pdf
Waltz, C., Strickland, O. & Lenz, E. (1991). Measurement in Nursing Research. 2nd Edition, F.A. Davis Company, Philadelphia. Retrived July 09.2018 from https://books.google.co.th/books?id=807SCgAAQBAJ&pg=PA198&dq=Waltz,+C.,+Strickland,+O+and+Lenz,+E.+(1991).+Measurement+in+Nursing+Research.++2nd+Edition
World Health Organization. (2016). Violence and Injury Prevention: Falls. Retrieved June 4, 2019 From http://www.who.int/violence_injury_prevention/other_injury/falls/en/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้