ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • รจนารถ ชูใจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี ราชบุรี
  • ชลธิชา บุญศิริ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี ราชบุรี
  • กมลพร แพทย์ชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี ราชบุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19, พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนหลังการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 35 คน ตัวอย่างได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด -19 เป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน คือข้อมูลส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด- 19 ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .80 และ .86 ตามลำดับ และได้ค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ .82 และ.88 ตามลำดับ   วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t- test ผลการวิจัยพบว่า

1. คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโควิด-19 (M=104.69, SD=5.34) สูงกว่าก่อนได้รับ (M=100.89, SD=6.73)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโควิด 19 (M=77.11, SD=8.210) สูงกว่าก่อนได้รับ (M=76.60, SD=7.39) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ทีมสุขภาพควรมีการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และขยายผลในประชากรกลุ่มอื่นโดยประยุกต์ใช้โปรแกรมให้สอดคล้องกับความต้องการในบริบทด้านสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอรวมทั้งผู้สูงอายุ ระดับการศึกษาต่ำและรายได้น้อย โดยสื่อสารข้อมูลทางสุขภาพด้วยภาษาที่เข้าถึงและเข้าใจง่าย พร้อมสร้างแรงจูงใจสู่การตัดสินใจทางสุขภาพที่เหมาะสมจนนำไปสู่ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดี

References

Department of Health, Ministry of Public Health. (2017). Strategic Plan Development of a System to Promote Health and Environmental Health According to the 12nd National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Nonthaburi: Department of Health. Ministry of Public Health.

Dong, E., Du, H., & Gardner, L. (2020). COVID-19 Content Portal. Retrieved February 10, 2020. from https://systems.jhu.edu/research/public-health/ncov/

Health Education Division, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. (2010). Health Literacy Survey among Youths Aged 12-15 Years. Nonthaburi: Health EducationDivision. Department of Health Service Support, Ministry of Public Health.

Health Education Division, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. (2012). Health Behavior Surveillance towards Health Behavior Modification by Police Department of Nonthabur: Health Education Division. Department of Health Service Support, Ministry of Public Health.

Health Education Division, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. (2015). Assessment Results by Province. Retrieved on January 15, 2020. from http://www. hed.go.th/linkHed/54 Institute of Medicine. (2004). Health Literacy: A Prescription to End Confusion. Retrived March 20, 2016, from. https://www.nap.edu.

Kaewdamkeng, K., & Thammakul, D. (2015). Enhancing Health Literacy in the Elderly Population. Research Journal in Health Sciences, 9(2), 1-7.

Lham, N., Kalampakorn, S., & Silabutr, J. (2019). Effect of Capacity Development Program among Village Health Volunteer Towards Health Literacy to Help Quit Smoking in Pathum Thani Province. Journal of Health Sciences Research, 13(1), 84-94.

Ministry of Public Health. (2020). Coronavirus Situation. Retrieved January 15, 2020. From https://www.bbc.com/thai/thailand-51089461

Nutbeam, D. (2008). Health Literacy as a Public Health Goal: A Challenge for Contemporary Health Education and Communication Strategies into Health 21st Century. Health Promotion International, 15(8), printed in Great Britain.

Raethong, A. (2019). Health Literacy and Health Behavior of 3 Aor 2 Sor of Village Health Volunteers: Case Study of Hin Tok Sub-District, Ron Phibun District, Nakhon Sri Thammarat Province. Academic Journal Department of Health Service Support, 15(3), 62-70.

Sookpool, U., Kingmala C, Phaengsuk, P., Yuenyao, T., & Wongwangman, W. (2020). Effects of Health Literacy and Health Behavior Development Program for Working People. Journal of Public Health, 29(3), 419-429.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-04