ความชุกและปัจจัยที่ส่งผลต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ของชาวนา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ความชุก, ปัจจัย, ความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ, ชาวนาบทคัดย่อ
การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่ส่งผลต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อของเกษตรกรชาวนาอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 176 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ประยุกต์จากแบบสอบถามมาตรฐานเกี่ยวกับความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ Standardized Nordic Questionnaire แบบประเมินความเสี่ยงความผิดปกติของระบบกระดูกกระดูกและกล้ามเนื้อ ของกรมควบคุมโรค และแบบสอบถามความเครียดที่เกิดขึ้นจากการทำงาน Karasek’s Job Content Questionnaire ฉบับภาษาไทย โดยแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงทางเนื้อหาและหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสถิติ Binary Logistic Regression Analysis ผลการวิจัยพบว่า
1. ความชุกในช่วง 7 วันที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างมีความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 12 ส่วน) มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หลังส่วนล่าง หัวเข่า และหัวไหล่ คิดเป็นร้อยละ 69.30, 53.40 และ 42 ตามลำดับ นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ ความชุกในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 12 ส่วน) มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หลังส่วนล่าง หัวเข่า และคอ คิดเป็นร้อยละ 68.20, 45.50 และ 38.60 ตามลำดับ
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้แก่ ปัจจัยด้านการทำงาน สภาพสิ่งแวดล้อมทั่วไปหรือลักษณะท่าทางการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง คือ การบิดลำตัวหรือเอี้ยวตัวเสมอๆ และลักษณะการทำนาที่มีการก้มต่อเนื่องขณะทำงานเสมอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ORadj = 0.02, 95%CI: 0.01-0.64)
ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรวางแผนเพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรม ด้านสุขภาพในการทำงานของเกษตรกร เพื่อลดภาวะการณ์เจ็บป่วยจากการทำงาน รวมถึงการจัดทำโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจากการทำงานในเกษตรกรชาวนา เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อต่อไป
References
Ahmadi, O., Gholamnia, R., Alizadeh, S., S., Rasoulzadeh, Y., & Sheikh, D. P. (2015). Prevalence of Musculoskeletal Disorders among Farmers in Eastern Azerbaijan, Iran. Indian Journal of Science and Technology, 8(28), 1-6.
Bone and Joint Initiative USA. (2011). Prevalence and Economic Cost. The Burden of Musculoskeletal Diseases in the United States. Retrieved September 5, 2013, from http://www.boneandjointburden.org
Buranatrevedh, S., & Sweatsrikul, P. (2005). Model Development for Health Promotion and Control of Agricultural Occupational Health Hazards and Accidents in Pathumthani, Thailand. Industrial Health, 43, 669-676.
Bureau of Occupational and Environmental Diseases. (2013). Report of Situation of Occupational and Environmental Diseases. (in Thai)
Bureau of Occupational and Environmental Diseases. (2014). Report of Situation of Occupational and Environmental Diseases. Retrieved August 28, 2016 from http://envocc.ddc.moph.go.th/
Chaiklieng, S., Juntratep, P., Suggaravetsiri, P., & Puntumetakul, R. (2012). Prevalence and Ergonomic Risk Factors of Low Back Pain among Solid Waste Collectors of Local Administrative Organizations in Nong Bua LamPhu
province. Journal of Medical Technology and Physical Therapy, 24(1), 97-109. (in Thai)
Chaimay, B. (2013). Sample Size Determination in Descriptive Study in Public Health. Thaksin Journal, 16(2), 9-17.
Chuppawa, W. (2015). Prevalence and Factors Affecting Musculoskeletal Disorders among University Cleaning Workers Locating in the North of Thailand. Thesis M.P.H in Master of Public Health, Naresuan University, Phitsanulok. (in Thai)
Colemont, A., & Broucke, S. V. D. (2007). Measuring Determinant of Occupational Health Related Behavior in Flemish Farmers: An Application of the Theory of Planned Behavior. Journal of Safety Research, 39, 55-64.
European Agency for Safety and Health at Work. (2004). Agriculture. Retrieved January 30, 2014, from http://osha.europa.eu/en/sector/agricu.
Hmankit, Y., & Saramaneein, K. (2018). Study of Musculoskeletal Pain in Fruit Wholesalers at Charoen Sri Market Warin Chamrab, Ubon Ratchathani. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University, 20(3), 180-188.
Karasek, R., Theorell, T., & Schwartz, J. E., (1998) Job Characteristic in Relation to the Prevalence of Myocardial Infarction in the US Health Examination Survey (HES) and the Health and Nutrition Examination Survey (HANES). Am J Public Health, 8, 18-910
Keawduangdee, P., Puntumetakul R., Siritaratiwat W., Boonprakob Y., Wanpen S., Rithmark P., et al., (2011). The Prevalence and Associated Factors of Working Posture of Low Back Pain in the Textile Occupation (Fishing Net) in Khon Kaen Province. A Thesis in Physical Therapy Program, Graduate School, Khon Kaen University (in Thai)
Kuorinka, I., Jonsson, B., Kilbom, A., Vinterberg, H., Bierring-Sorensen, F., Andersson, G., et al., (1987). Standardized Nordic Questionnaire for the Analysis of Musculoskeletal Symptoms. Applied Ergonomics, 18(3), 233-237.
Ngamkamol, K. (2009). Health Status and Occupational Safety Behaviors Among Rice Farmers. Master of Nursing Science (Occupational Health Nursing), Chiang Mai University. (in Thai)
Occupational Safety and Health Administration. (2013) Agricultural Operations. Retrieved April 22, 2015 from URL : http://www.osha.gov.
Osborne, A., Blake, C., McNamara, J., Meredith, D., Phelan, J. & Cunningham, C., (2012). "Risk Factors for Musculoskeletal Disorders among farm Owners and farm Workers: a Systematic Review." Am J Ind Med, 55(4), 376-389.
Palis, F. G., Flor, R. J., Warburton, H., & Hossain, M. (2006). Our Farmers at Risk: Behavior and Belief System in Pesticide Safety. Journal of Public Health 2006, 25, 43-8.
Sitthisak, S. (2013). Prevalence and Related Factors of Musculoskeletal Disorders among Waste Collectors of Phitsanulok Municipality. Faculty of Medicine. Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai)
Situation of Agricultural Products. (2015). Report of Situation of Occupational and Environmental Diseases. Retrieved September 9, 2016 from http://popcensus.nso. go.th/web/kaset/present.html
Yaruang, N. (2016). Low Back Pain in Rice Farmers with the Role of Community Health Nurses. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 17(1), 1-9. (in Thai)
Yoopresert, A. (2009). Factors Affecting Decision of Patients with Myopathy to Choose Thai Traditional Massage Services at Public Health Care Unit Lamphun Municipality. Master of Public Health, Chiang Mai University. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้