ผลของโปรแกรมการใช้หนังสือสามมิติประกอบการเล่านิทาน ต่อความกลัวของเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพ่นยาแบบฝอยละออง

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา เพ็ชรเล็ก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
  • โสภิต สุวรรณเวลา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
  • พีรวิชญ์ สุวรรณเวลา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง

คำสำคัญ:

หนังสือสามมิติ, การเล่านิทาน, ความกลัวการได้รับยาพ่นแบบฝอยละออง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลภายหลังการทดลองครั้งเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการใช้หนังสือสามมิติประกอบการเล่านิทานต่อความกลัวของเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพ่นยาแบบฝอยละออง กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กวัยก่อนเรียนอายุ 3-6 ปีที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและเข้ารับการรักษาครั้งแรกในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 ราย จัดเข้ากลุ่มควบคุมและทดลอง กลุ่มละ 15 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการใช้หนังสือสามมิติประกอบการเล่านิทาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสังเกตพฤติกรรมความกลัวของเด็กป่วยวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพ่นยาแบบฝอยละออง มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา Independent t-test  ผลการวิจัยพบว่า

คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความกลัวของเด็กป่วยวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพ่นยาแบบฝอยละอองภายหลังสิ้นสุดการทดลองในกลุ่มทดลอง (M=16.93, SD=1.22) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (M=30.39, SD=2.49) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(28)=19.53, p< .001)

การใช้หนังสือสามมิติประกอบการเล่านิทานสามารถช่วยลดความกลัวของเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพ่นยาแบบฝอยละอองได้ และบุคลากรทางสุขภาพสามารถนำหนังสือสามมิติประกอบการเล่านิทานไปใช้กับผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพ่นยาแบบฝอยละออง เพื่อช่วยลดความกลัวและสามารถพ่นยาแบบฝอยละอองในผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

Boonnarakorn, S. (2011). Enhancing Holistic Health Throughout The Ages. (3rd ed.). Songkhla: Tem Printing. (in Thai)

Bowden, V. R., & Greenberg, C. S. (2003). Pediatric Nursing Procedure. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Craft, M. J., & Denehy, J. A. (1990). Nursing Intervention for Infants and Children. Philadelphia: W.B. Saunders.

Eldridge, T. M. (1997). Preparing for Painful Procedure, Hospitalization, and Surgery. In Fox, J. A. (Ed.), Primary Health Care of Children (pp. 982-991). St. Louis: Mosby.

Glasper, E. A., & Richardson, J. (2006). A Textbook of Children,s and Young People,s Nursing. St. Louis, Missouri: Churchill Livingstone Elsevier.

Kasemsook, C. (2009). The Effect of Concrete Objective Information Program in Fear of Aero Soltherapy of Pre-Schoolers with Acute Respiratory Infections. Master Thesis of Nursing Science, Faculty of Nursing, Chulalongkorn University. (in Thai)

Monroe, R. A. (2015). Health Promotion of the Preschool and Family. In Hockenberry, M. J. & Wilson, D. (Eds.), Wong,s Nursing Care of Infants and Children (10th ed.) (pp. 537-538). St. Louis, Missouri: Elsevier Mosby.

Padungsin, P. (2015). Comparison of Distraction by Animation and Digital Game on Preschool Children, s Fear of Aerosol Therapy in Emergency Room. Master Thesis of Nursing Science, Faculty of Nursing, Chulalongkorn University. (in Thai)

Piaget, J. (1973). The Child and Reality. New York: Crossman Pulishers. Quick.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2006). Nusing Research: Principles and Methods, (6th ed.). Philadelphia: Lippincott.

Punaglom, N., & Ruangworaboon, S. (2014). The Effect of Fun Nebulizer Innovation with Parents Participation on Fear among Preschool Patients Receiving Aerosol Therapy. Journal of Nursing Science and Health, 37(2), 25-34. (in Thai)

Sangnimitchaikul, W., & Chaiyawa, W. (2007). The Effect of Preparation for Hospitalization on Fear of Preschool Children. Thai Journal of Nursing Council, 34, 38-49. (in Thai)

Thainirunprasert, T. (2017). The Effect of a Cartoon Book on Fear among Preschool Children Receiving Small Volume Nebulizer. Journal of Nursing Science, 35(3), 14-24. (in Thai)

Whaley, L. F., Wong, D. L. (2010). Nursing Care of Infant and Children (6th ed.). Philadelphia: Mosby.

Wilson, D., & Hockenberry-Eaton, M. (2013). Wong,s Nursing Care of Infants and Children. St.Louis: Mosby.

Wong, D. L., Hockenberry, J. M., Winkelstein, M. L., Wilson, D., & Ahmann, E. (2013). Whaley and Wong,s Nursing Care of Infant and Children (8th ed). Missouri: Mosby-Year Book.

Wong, D. L., & Hess, C. S. (2000). Wong and Whaley,s Clinical Manual Pediatric Nursing (5th ed.). St. Louis, Missouri: Elsevier Mosby.

World Health Organization [WHO]. (2015). Pneumonia. Retrieved from http://www. who.int/mediacentre/factsheets/fs331/en.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-18