องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความพร้อมต่อการเรียนแบบสหวิชาชีพของนักศึกษาอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย ยืนยาว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • จุฬารัตน์ ห้าวหาญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

ความพร้อมต่อการเรียนแบบสหวิชาชีพ, องค์ประกอบและตัวบ่งชี้, นักศึกษาอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความพร้อมต่อการเรียนแบบสหวิชาชีพของนักศึกษาอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ 1) นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2) นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ 3) นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และ 4) นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ ชั้นปี 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 380 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็น Readiness for Interprofessional Learning Scale (RIPLS) แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และแปลจากไทยเป็นอังกฤษ โดยมีค่าความเชื่อมั่นจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีแอลฟ่าของครอนบาค ทั้งฉบับเท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก ใช้วิธีหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลวิจัยพบว่า

ความพร้อมต่อการเรียนแบบสหวิชาชีพของนักศึกษาอุดมศึกษา มี 2 องค์ประกอบ จำนวน 19 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) องค์ประกอบประโยชน์ของการเรียนแบบสหวิชาชีพ มี 15 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบความยากลำบากต่อการเรียนแบบสหวิชาชีพ มี 4 ตัวบ่งชี้

ควรนำแบบประเมินความพร้อมต่อการเรียนแบบสหวิชาชีพไปประเมินความพร้อมของนักศึกษาก่อนเริ่มจัดการเรียนรู้เพื่อให้การออกแบบการจัดการเรียนรู้สามารถเสริมจุดแข็งของการเรียนแบบสหวิชาชีพและออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อลดอุปสรรคต่อการเรียนแบบสหวิชาชีพ

References

Barr, H. (2009). An Anatomy of Continuing Interprofessional Education. J ContinEduc Health Prof, 29, 147–150.

ChuenKongkaew, W. (2016). Interprofessional Education. Bangkok: P. A. Living. (in Thai)

ChuenKongkaew, W. (2018). Interprofessional Education. (2nd Edition). Bangkok: P. A. Living. (in Thai)

Daly, G. (2004). Understanding the Barriers to Multiprofessional Collaboration. Nursing Times, 100(9), 78–79.

Hair, Black, Babin, & Anderson. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th Edition). New Jersey: Pearson Education.

Hammick, M., Freeth, D., Koppel, I., & Reeves, S. (2007). A Best Evidence Systematic Review of Interprofessional Education: BEME Guide no.9. Med Teach, 29, 735-751.

Illingworth, P., & Chelvanayagam, S. (2007). Benefits of Interprofessional Education in Iieaith Care. British Journal of Nursing, 16(2), 121-124.

Illingworth, P., & Chelvanayagam, S. (2017). The Benefits of Interprofessional Education 10 Years on. British Journal of Nursing, 26(14), 814-817.

McFadyen, A. K. (2005). The Readiness for Interprofessional Learning Scale: a Possible Morestable Sub-Scale Model for the Original Version of RIPLS. J Interprof Care, 19(6), 595-603.

Patricia, A. (2019). The Benefits of Interprofessional Learning and Teamwork in Primary Care Aambulatory Training Settings. Journal of Interprofessional Education & Practice, 15, 119–126.

Rakrung, K. (2017). Readiness for Interprofessional Learning of Sophomore and Junior Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing, Suratthani. The 6th Active Learning Conference: How Active Learning answer Thailand 4.0 (pp.220-233). Suratthani, Walailak University. 2018. (in Thai)

Sethasathien, S. (2015). A Model of Interprofessional Education (IPE) in Department of Physical Medicine and Rehabilitation, Udonthani Hospital. J Thai Rehabil Med, 25(2), 65-70. (in Thai)

Tanglakmankhong, K., Khammathit, A., Thammawongsa, N., & Ardpara, A. (2019). The Effectiveness of the Nursing Innovation Course, Using Transprofessional Education Approach on Readiness for Transprofessional Skill and the 21st Century Skill. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 6(2), 126-139. (in Thai)

Wannakrairote, P. (2016). The Suggestions on the Development of Specific Health Professional Education for Reform of Educational and Teaching Institutions. Nonthaburi: The National Health Professions Education Foundation. (in Thai)

World Health Organization. (1987). Learning Together to Work Together for Health. Report of a WHO study Group on Multiprofessional Education of Health Personnel: The Team Approach, Technical Report Series 769; 1987 October 12-16; Geneva. Geneva: World Health Organization.

Zhewei, Li., Yihan, Sun., & Yang Zhang. (2018). Adaptation and Reliability of the Readiness for Interprofessional Learning Scale (RIPLS) in the Chinese Health Care Students Setting. BMC Medical Education, 18,309. doi.org/10.1186/s12909-018-1423-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-06