ประสบการณ์ภาวะผู้นำด้านนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำด้านนวัตกรรม, ประสบการณ์, หัวหน้าหอผู้ป่วย, โรงพยาบาลชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยามีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายความหมายและอภิปรายองค์ประกอบภาวะผู้นำด้านนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงโดยใช้วิธีลูกโซ่ (Snowball Sampling) ผู้ให้ข้อมูลคือ หัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชนที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารการพยาบาลและด้านนวัตกรรม จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) และวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลของโคไลซี (Colaizzi) ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลใช้วิธีการแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า
ภาวะผู้นำด้านนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย สรุปความหมายได้ 6 ประเด็น คือ 1) ความรู้ความคิดใหม่ ๆ 2) การบริหารการใช้เทคโนโลยีใหม่ 3) การออกแบบการบริหารแนวคิดใหม่ 4) มีความกล้าในการจัดการการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ 5) มีความเต็มใจในการยอมรับความเสี่ยง และ 6) มีความคิดเชิงบวก ส่วนองค์ประกอบภาวะผู้นำด้านนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย สรุปได้ 8 ด้าน ได้แก่ 1) ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการจัดการด้านนวัตกรรม 2) การมีภาวะผู้นำในการสร้างแรงบันดาลใจ 3) การจัดการข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการสุขภาพ 4) การมีทักษะในการทบทวนและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 5) การเป็นนักออกแบบการใช้นวัตกรรม 6) การจัดการทีมสร้างสรรค์นวัตกรรม 7) การกระตุ้นสมาชิกให้มีความคิดสร้างสรรค์ด้วยการให้รางวัลผลตอบแทน และ 8) ความสามารถตัดสินใจเลือกทำนวัตกรรมที่คุ้มค่า
การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ภาวะผู้นำด้านนวัตกรรมทางการพยาบาลเป็นเรื่องใหม่จึงจำเป็นต้องมีการขยายความรู้ต่อทั้งในวิธีคุณภาพและปริมาณเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนสำหรับศาสตร์การบริหารทางการพยาบาล
References
Adair, J. (2007). Leadership for Innovation: How to Organize Team Creativity and Harvest Ideas. London: Kogan Page.
Adair, J. (2009). Leadership for Innovation: How to Organize Team Creativity and Harvest Ideas. London: Kogan Page.
Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1993). Transformation Leadership and Organizational Culture. Public Administration Quarterly, 17(1), 114-122.
Buachu, T., & Wivatvanit, S. (2017). Innovation Leadership of Head Nurse, Government University Hospital. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 29(1), 141-153. (in Thai)
Davidson, S., Weberg, D., Poster-O, Grady, T., & Mallooch, K. (2017). Leadership for Evidence-Based Innovation in Nursing and Health Professional. Jones & Bartlett. United State of America: LLC, an Ascend Learning.
Denzin, N. K., & Lincoln, Y. S. (2011). The SAGE handbook of Qualitative Research. California: Sage.
Gliddon, D. G., & Rothwell, W. J. (2018). Innovation Leadership. New York: Routledge Publishers.
Harris, R., Bennett, J., & Ross, F. (2013). Leadership and Innovation in Nursing Seen Through a Historical Lens. Journal of Advanced Nursing, 1-10.
Joseph, L. M. (2015). Organizational Culture and Climate for Promoting Innovativeness. The Journal of Nursing Administration, 45(3), 172-178.
Kaya, N., Turan, N., & Aydin, G. O. (2016). Innovation in Nursing: A Concept Analysis. Journal of Community & Public Health Nursing, 2(1), DOI:10.4172/2471-9846.1000108.
Sen, A., & Eren, E. (2012). Innovation Leadership for the Twenty-First Century. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 41, 1-14.
Singchungchai, P. (2009). Principle and Using Qualitative Research in Nursing and Health. (3th ed). Bangkok: Chanmuang Press Foursquare. (in Thai)
Singchungchai, P. (2019). Innovative Leadership in Nursing Management. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 6(1), 260-266. (in Thai)
Won, H. (2015). Clinical Leadership of Staff Nurse: A Phenomenology Study. Indian Journal of Science and Technology, 8(26), 1-5.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้