การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาลและสังคมศาสตร์
คำสำคัญ:
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย, ความตรง, ความเชื่อมั่น, ความยากง่าย, อำนาจจำแนกบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ นักวิจัยทราบถึงวิธีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยที่ถูกต้องสอดคล้องกับชนิดของเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาลและสังคมศาสตร์ และสามารถรายงานคุณภาพของเครื่องมือถูกต้องตามหลักการวัด
ผู้เขียนบทความได้สำรวจเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาลและสังคมศาสตร์ คัดเลือกโดยการสุ่มจากวารสารกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 5 ชื่อเรื่องที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย กลุ่มที่ 1 (TCI 1) ระหว่างปี พ.ศ. 2561 – 2563 จากการทบทวนบทความวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 100 เรื่อง มีการใช้เครื่องมือวิจัยชนิดแบบสอบถาม แบบประเมิน หรือแบบวัดความรู้ ในการวิจัย จำนวน 239 ฉบับ (ไม่นับรวมการสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล) พบว่า 1) มีงานวิจัยร้อยละ 71.97 ที่รายงานวิธีการตรวจสอบคุณภาพและคุณภาพของเครื่องมือวิจัย ไม่ครบถ้วนและไม่ถูกต้องตามหลักการวัด 2) ด้านการหาความตรง พบว่า ไม่รายงานการหาความตรง ร้อยละ 28.87 รายงานผลการตรวจสอบความตรงของเครื่องมือที่ใช้ไม่ครบทุกฉบับ ร้อยละ 7 และรายงานค่า IOC เป็นค่าเฉลี่ยรวมทั้งฉบับ ร้อยละ 3 3) ด้านการหาความเชื่อมั่น พบว่า ไม่รายงานการหาค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 16.69 รายงานค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือที่ใช้ไม่ครบทุกฉบับ ร้อยละ 1.67 และใช้วิธีการหาค่าความเชื่อมั่นไม่เหมาะสมกับชนิดของเครื่องมือ ร้อยละ 0.84
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยวิจัยทางการพยาบาลและสังคมศาสตร์ที่ผ่านมา ยังขาดการวิเคราะห์คุณภาพและการรายงานคุณภาพเครื่องมือที่ครบถ้วนถูกต้องตามหลักการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตรวจสอบความตรงของเครื่องมือวิจัยซึ่งที่เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ บทความนี้จึงนำเสนอ วิธีการตรวจสอบคุณภาพและการรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักวิจัยในการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
References
Cranley, M. S. (1981). Development of a Tool for the Measurement of Maternal Attachment During Pregnancy. Nursing Research, 30, 281-284.
DeVellis, R. F. (2017). Scale Development: Theory and Applications. (4th ed.). Thousand Oaks, CA: SAGE.
Gray, J. R., Grove, S. K., & Sutherland, S. (2017). Burns and Grove's the Practice of Nursing Research: Appraisal, Synthesis, and Generation of Evidence. (8th ed.). St. Louis, MO: ELSEVIER.
Kanogsunthornrat, N., Ariyaprayoon, P., Suwanparadorn, P., & Jalapong, K. (2010). Reliability of the Open Wound Assessment Form and Agreement of Wound Assessment among Nurses. Ramathibodi Nursing Journal, 16(3), 421-431. (In Thai)
Koo, T. K. & Li, M. Y. (2016). A Guideline of Selecting and Reporting Intraclass Correlation Coefficients for Reliability Research. Journal of Chairopractic Medicine, 15(2), 155-163. doi: 10.1016/jcm.2016.02.012
Palanan, T., & Ponathong, C. (2018). Confirmatory Factor Analysis Model of Social Responsibility of Students of Urban Community Development College, Navamindradhiraj University, Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 35-49. (In Thai)
Pasunon, P. (2015). Validity of Questionaire for Social Science Research. Journal of Social Sciences, Srinakharinwirot University, 18, 375-396. (In Thai)
Pattanasombutsook, M. (2018). Development and Psychometric Evaluation of the Prenatal Attachment Scale for Thai Pregnant Adolescent (Doctoral Dissertation). Songkhla: Prince of Songkla University, Thailand.
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2014). Essential of Nursing Research: Appraising Evidence for Nursing Practice. (8th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2017). Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice. (10th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing Research: Principles and Methods. (6th ed.). Philadelphia: Lippincott.
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2006). The Content Validity Index: Are You Sure You Know What's Being Reported? Critique and Recommendations. Research in Nursing and Health, 29, 489-497. doi:10.1002/nur.20147
Sriratanaprapat, J. (2012). Development and Psychometric Evaluation of the Thai Nurses’ Job Satisfaction Scale. Doctoral Dissertation. Songkhla: Prince of Songkla University, Thailand.
Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2007). Using Multivariate Statistics. (4th ed.). New York: Pearson.
Tantalanukul, S., Netchang, S., Udomlerd, M., Kaewkong, N., Phromma, A., & Fongkerd, S. (2017). Effect of Integrated Learning Method on Nursing Student’s Learning Achievement about Health Promotion in Patients with Knee Osteoarthritis. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3), 1-13.
Taoklam, B., Jirojanakul, P., & Boonprook, S. (2015). The Effects on Test Scores and the Reliability of the test After Excluding the Items with Negative Discrimination Power: Faculty of Nursing, Suan Dusit University. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 31(2), 26-43.
Tiensawad, S. (2019). Instrument Development for Nursing Research. Chiangmai: Siampimnana.
Waltz, C. F., Strickland, O. L., & Lenz, E. R. (2010). Measurement in Nursing and Health Research. (4th ed.). New York: Springer.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้