ความขาดแคลน ความต้องการ และแนวโน้มกำลังคนด้านรังสีการแพทย์ในระดับสถานพยาบาล ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • นภชา สิงห์วีรธรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • ณัฐธยาน์กร เดชา กองทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • นวรัตน์ ไวชมภู มหาวิทยาลัยราชภัฏ ยะลา
  • สุนันท์ สมนาค วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • อภิชาต เตมีพัฒนาพงษา วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • ศิโรรัตน์ ทองรอด วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • ชฎาวัลย์ รุณเลิศ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

คำสำคัญ:

ความขาดแคลน, ความต้องการ, นักรังสีการแพทย์

บทคัดย่อ

การขาดแคลนบุคลาการด้านรังสีการแพทย์กำลังในสถานบริการในประเทศไทยกำลังเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความขาดแคลน ความต้องการ และแนวโน้มกำลังคนด้านรังสีการแพทย์ในระดับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข โดยดึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ 2562 โดยใช้วิธีการคาดการณ์กำลังคนตามกรอบอัตรากำลังคนของกระทรวงสาธารณสุขและกำลังการผลิตของสถาบันการศึกษาด้านรังสีเทคนิค วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการกำลังคนและอัตราการสูญเสีย โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า

1. นักรังสีการแพทย์และเจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ปฏิบัติงานจริงในระดับโรงพยาบาลมีจำนวน 1,759 คน อัตราการสูญเสียคิดเป็นร้อยละ 2.8 ต่อปี ความขาดแคลนจากกรอบขั้นสูงจำนวน 1,349 คน คิดเป็นร้อยละ 43.40 สถานพยาบาลที่ไม่มีบุคลากรปฏิบัติงานอยู่ 179 แห่ง มีโรงพยาบาลที่มีนักรังสีการแพทย์ปฏิบัติงาน 1 คน จำนวน 267 แห่ง และ มีเจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ปฏิบัติงาน 1 คน จำนวน 160 แห่ง

2. การคาดการณ์กรณีการรับนักรังสีการแพทย์เพื่อเข้ามาปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่ขาดแคลนต้องรับจำนวนปีละ 50 คนเพื่อทดแทนการสูญเสีย และกรณีรับเข้ามาเพื่อให้เต็มกรอบความต้องการและทดแทนการสูญเสียต้องรับจำนวนปีละ 100 คนในระยะเวลา 10 ปี

กระทรวงสาธารณสุขควรมีแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนบุคลากรอย่างเป็นรูปธรรมและร่วมมือกับหน่วยการผลิตเพื่อเพิ่มคุณภาพการปฏิบัติงานด้านรังสีให้ได้มาตราฐานต่อไป

References

Bureau of Radiation and Medical Devices. (2015). Criteria and Guidelines on the Development of Radiological Diagnosis for the Hospital Under Ministry of Public Health. Bangkok: The Agricultural Co-Operative Federation of Thailand., LTD.

Bureau of Radiation and Medical Devices. (2019). Safety Manual of Radiation Laboratory and Medical Epuipment. Bangkok: Beyond publishing.

Chen L., Evans T., Anand S., Boufford L J., Brown H., Chowdhury M., et al. (2004). Human Resources for Health: Overcoming The Crisis. Public Health, 364, 1084-1090.

Davenport, T., & Kalakota, R. (2019). The Potential for Artificial Intelligence in Healthcare. Future Healthcare Journal, 6(2), 94-98.

Department of Medical Sciences. (2019). Quality Standards of Medical Diagnostic X-Ray Machines. Bangkok: Beyond Publishing.

Division of Human Resources MOPH. (2019a). Human Resource Reform and Health care Service Mission in Ministry of Public Health. Nonthaburi: Seatawan.

Division of Human Resources MOPH. (2019b). Manual on Human Resource Structur and Plan for Agencies in Provincial Government Service. Nonthaburi: Human Resource Management Devision.

Hongoro, C., & McPake, B. (2004). How to Bridge the Gap in Human Resources for Health. Lancert, 364, 1451-1456.

Jaiboon P., Chiangnangarm P., & Kuhirunyaratn P. (2011). The Proportion and Causes of Resignation of Nurses from Srinagarind Hospital, Khon Kaen University. Srinagarind Med J, 26(3).

Jaichuen, W. (2018). Dentist and Dental Nurse Projections for Thailand in the Year 2026. Journal of Healht System Research, 12(2), 221-231.

Kabene, M. S., Orchard, C., Howard, M. J., Soriano, A. M., & Leduc, R. (2006). The Importance of Human Resources Management in Health Care : a Global Context. Human Resources for Health, 4(20), 1-17.

Office of Atoms for Peace. (2019). Nuclear Energy for Peace Act (No. 2). Bangkok: Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation.

Pimthong, S. (2014). Antecedents of Employee Retention of the University Academic Staffs in Thailand. Journal of Business Administration, 37(142), 16-32.

Sawaengdee, K. (2008). The Current Nursing Workforce Situation in Thaialnd. Journal of Healht System Research, 2(1), 40-46.

Sawaengdee, K. (2017). Nursing Workforce Planing for Healthcare Facilities Under Office of the Permanent Secretary, MOPH (2017-2036) (Vol. 1). Nonthaburi: Sanswy.

Singweratham, N., & Kantabanlang, Y. (2017). Current Health Workforce and State of the Health Workforce Development Need in the Thai Health System: A Report by the Phraboromarajchanok Institure (PBRI) the Ministry of Public Healht. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3), 218-225.

Thanawut, P., & Upakdee, N. (2015). Projection of Pharmacist Workforce in Thailand. Journal of Healht System Research, 9(3), 294-304.

Tursunbayeva, A. (2019). Human Resouce Technology Disruptions and Their Implications for Human Resources Management in Healtcare Organisations. BMC Health Service Research, 19(268), 1-8.

Upakdee, N., & Thanawut P. (2017). Projection of Hospital Pharmacist Workforce in Thailand for 20 Years (2015-2035). Journal of Healht System Research, 11(1), 77-90.

Virasombat, N. (2011). Physician Retaintion in Community Hospital of Thailand: A Theoretical Model. Thai Journal of Public Administation, 9(1), 131-170.

WHO. (2007). Everybody's Business-Strengthening Health Systems to Improve Health Outcomes: WHO's Framework for Action. In. Retrieved from http://www.who.int/healthsystems/strategy/everybodys_business.pdf?ua=1

WHO. (2010). Monitoring the Building Blocks of Healht Systems: A Handbook of Indicators and Their Measurement Strategies. Geneva: The WHO Document Production Services

WHO. (2016). Health Workforce Requirements for Universal Health Coverage and The Sustainable Development Goals. Switzerland: WHO.

Yamvong, C., Soivongse, P., Santati, S., Mahasidthivathm, S., & Prasert, A. (1995). Clinical Nurse Specialist and Nursing Shortage. Rama Nurse Journal, 1(2), 66-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-22